คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 266

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และความผิดฐานสนับสนุนความผิดนั้น ศาลใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การกระทำของจำเลยผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
ข้อที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญารับรองการยืมจะเป็นเอกสารสิทธิหรือไม่ ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มิได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นปัญหาที่ยุติแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 ออกใช้บังคับซึ่งแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและเป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จึงต้องลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 เพียง 50 ปี ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกจำคุก 72 ปี 6 เดือนนั้น แม้จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาก็ตาม แต่การใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยเป็นเหตุในลักษณะคดี จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย และลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำผิดใช้เช็คปลอมและฉ้อโกง จำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ พิจารณาจากพยานหลักฐาน
ผู้อื่นนำเช็คปลอมไปเบิกและรับเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 จากธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 นำเงินเข้าฝากในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เป็นสิ่งปกติธรรมดาเพราะเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ฝาก ถอนเงินในบัญชีของตนเองที่อีกธนาคารหนึ่ง แม้บางครั้งบางเวลาจำนวนเงินจะใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่มีผู้นำเช็คปลอมไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งอาจเป็นเหตุบังเอิญได้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดในการใช้เอกสารปลอมและฉ้อโกงธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเช็คของตนเองไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร ทำให้ข้อหาใช้เอกสารปลอมของผู้นำไปเบิกเงินไม่มีความผิด
เช็คทั้งสามฉบับเป็นเช็คของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะขีดฆ่าตัดทอนจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็คเดิมทั้งตัวเลขและตัวอักษรแล้วพิมพ์เติมจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ปลอมเช็คของคนอื่นหรือตั้งใจให้เป็นเช็คของคนอื่น เป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมเช็คของจำเลยที่ 2 เองและการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อกำกับในเช็คดังกล่าว จึงมิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใด เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงเป็นผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ฟ้องว่าร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 นั้นไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารด้วย
เมื่อเช็คทั้งสามฉบับไม่ใช่เอกสารปลอม การที่จำเลยที่ 1 นำไปเบิกเงินจากธนาคารจึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3894/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้พินัยกรรมปลอมต่อศาล แม้ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ชัดเจน ก็เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ และมีพยานลงชื่อรับรองสองคนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 เอกสารดังกล่าวก็มีสภาพเป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำปลอมขึ้นเมื่อจำเลยกับพวกนำพินัยกรรมปลอมดังกล่าวส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จแล้ว จำเลยต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่งมิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
การที่จำเลยกับพวกส่งอ้างพินัยกรรมปลอมเป็นพยานต่อศาลแม้จำเลยจะได้กระทำในฐานะทนายความในคดีแพ่ง จำเลยก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำปลอมตั๋วภาพยนตร์ที่มีตราพิมพ์ในตัว ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมดวงตราหรือรอยตรา
ตั๋วภาพยนตร์ที่แท้จริงของกรมสรรพากรมีตราพระอุเทนดีดพิณพิมพ์ไว้ในเนื้อของตั๋วนั้นเอง ไม่ใช่ใช้ตราประทับ ดวงตรารูปนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของรูปลักษณะของตั๋วหาใช่เป็นการทำดวงตราปลอมหรือรอยตราปลอมตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงตั๋วภาพยนตร์ที่มีตราพิมพ์ในตัว ไม่ถือเป็นการปลอมตราตามประมวลกฎหมายอาญา
ตั๋วภาพยนตร์ที่แท้จริงของกรมสรรพากรมีตราพระอุเทนดีดพิณพิมพ์ไว้ในเนื้อของตั๋วนั้นเอง ไม่ใช่ใช้ตราประทับ ดวงตรารูปนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของรูปลักษณะของตั๋วหาใช่เป็นการทำดวงตราปลอมหรือรอยตราปลอมตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 251 ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1315/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้างประจำไม่ใช่เจ้าพนักงาน แม้มีหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าราชพัสดุ ยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อทรัพย์
จำเลยเป็นลูกจ้างประจำสังกัดกรมธนารักษ์เบิกเงินค่าจ้างในงบงานจัดทรัพย์สินของรัฐกรมธนารักษ์ โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน มีตำแหน่งเป็นพนักงานเก็บเงินที่มีผู้ชำระต่อราชพัสดุจังหวัดเท่านั้น จึงมิใช่เป็นข้าราชการที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามกฎหมาย คำสั่งจ้างจำเลยระบุเพียงว่าให้จ้างจำเลยเข้าเป็นลูกจ้างประจำสังกัดกรมธนารักษ์ มิได้อ้างว่าแต่งตั้งจำเลยโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายใดฉะนั้น แม้จำเลยจะมีหน้าที่เก็บเงินค่าเช่าอาคารราชพัสดุก็มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้าง หาใช่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายไม่
เงินที่จำเลยยักยอกไปเป็นเงินที่จำเลยเก็บจากผู้เช่าอาคารราชพัสดุแล้ว ยังมิได้ส่งต่อทางราชการ จำเลยมีหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาเงินนั้น และต้องส่งมอบให้แก่ทางราชการเงินที่จำเลยรับไว้จึงเป็นของราชการกรมธนารักษ์ไม่ใช่เป็นของประชาชนผู้ชำระค่าเช่าแต่ละราย เพราะกรมธนารักษ์ต้องรับผลในการกระทำของจำเลยในอันที่จะไปเรียกเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าให้ชำระอีกไม่ได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้รับมอบอำนาจให้เป็นผู้ครอบครองและควบคุมดูแลที่ราชพัสดุแทนกรมธนารักษ์จึงเป็นผู้เสียหาย
สารสำคัญตามฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไป เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยยักยอกเอาเงินไปจริงก็เป็นอันตรงกับคำฟ้องแล้ว ส่วนที่ตามฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะไม่ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ก็ยังถือไม่ได้ว่าคดีได้ความตามทางพิจารณาต่างกับฟ้อง และไม่ใช่เป็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมหรือฟ้องไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารราชการและการฉ้อโกง โดยจำเลยไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจ
จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพนักงานที่ดินอำเภอ มีหน้าที่เก็บรักษาแบบพิมพ์ต่าง ๆ จ่ายแบบพิมพ์ น.ส.3 หรือใบแทน ฯลฯ ไม่มีหน้าที่ทำเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร การที่จำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์และสัญญาขายฝากขึ้น จึงไม่ใช่กระทำโดยอาศัยที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161
จำเลยทำหนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำสัญญาขายฝากปลอมขึ้น แล้วนำไปใช้ฉ้อโกงผู้เสียหายให้มอบเงินแก่จำเลยตามเอกสารปลอมดังกล่าว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 266,268,341 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วย 266

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.ปลอมเอกสารราชการเพื่อฉ้อโกง ผู้กระทำผิดไม่ต้องมีความผิดตามมาตรา 161 แต่ผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม
จำเลยที่ 1 เป็นเสมียนพนักงานที่ดินอำเภอ มีหน้าที่เก็บรักษาแบบพิมพ์ต่าง ๆ จ่ายแบบพิมพ์ น.ส. 3 หรือใบแทน ฯลฯ ไม่มีหน้าที่ทำเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร การที่จำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือรับรองการทำประโยชน์อละสัญญาขายฝากขึ้น จึงไม่ใช่กระทำโดยอาศัยที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161
จำเลยทำหนังสือรับรองการทำประโยชน์และทำสัญญาขายฝากปลอมขึ้น แล้วนำไปฉ้อโกงผู้เสียหายให้มอบเงินแก่จำเลยตามเอกสารปลอมดังกล่าว อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266, 268, 341 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วย 255

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานลักลอบเอกสารราชการไปให้ทนายความ และปลอมแปลงเอกสาร เป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลปกครองรักษาไว้โดยปลอดภัยซึ่งเอกสารราชการ และเอกสารสิทธิทั้งปวงอันเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินของประชาชน จำเลยได้ลักลอบเอาเอกสารซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาออกจากตู้เก็บเอกสารไปบางฉบับ แล้วนำไปให้ ส. ทนายความตรวจดูนอกสถานที่ราชการ และจำเลยได้ปลอมเอกสารนั้นเช่นนี้เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดรวมทั้งแก่ทางราชการด้วยแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย (นอกจากจะผิดตามมาตรา158 และมาตรา 266 แล้ว)
of 13