พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม การพิจารณาความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการยกฟ้องคดีปลอมแปลงเอกสาร
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อและมีความเห็นแตกต่างกันนั้น มิได้มีกฎหมายบังคับว่าศาลจำต้องเลือกฟังจากผู้ตรวจพิสูจน์ที่มีอายุงานมากกว่าแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานการกระทำชำเราเด็ก และความน่าเชื่อถือคำให้การผู้เสียหาย
จำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องซึ่งโจทก์ได้แนบสำเนารายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ไปท้ายฟ้องแล้ว และในวันนัดพร้อมจำเลยก็แถลงรับในรายงานกระบวนพิจารณาว่าแพทย์ได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายและทำรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ไว้จริง เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจนำสืบแพทย์ จำเลยก็มิได้แถลงเป็นอย่างอื่น ถือว่าคู่ความไม่ติดใจซักถามแพทย์ รายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้ โดยแพทย์ไม่จำต้องมาเบิกความประกอบพยานเอกสารดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5206/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติและที่ดินป่าโดยไม่ชอบ ยึดครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิ
ร. เป็นผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญอันเป็นพยานหลักฐานประเภทหนึ่งที่ ป.วิ.อ. บัญญัติรับรองไว้และยังเบิกความเป็นพยานต่อศาลโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 243 รายงานผลการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ ที่ ร. จัดทำขึ้นผ่านขั้นตอนการจัดทำทั้งการถ่ายรูป สำรวจ และทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีวิชาชีพในแต่ละสาขานั้นโดยตรง และเป็นไปตามหลักวิชาการ มีมาตรฐาน แม้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้แต่ก็ผ่านกระบวนการตรวจสอบผลโดยคณะกรรมการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ อ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ อันเป็นกระบวนการตรวจสอบโดยคณะผู้เชี่ยวชาญอื่นอย่างเป็นระบบ ประกอบกับมีการซักถามและอธิบายโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ฉายภาพประกอบ อันถือว่าผ่านกระบวนการตรวจสอบพิสูจน์ในศาลจนเป็นที่ยอมรับและสิ้นสงสัย พยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ตรวจสอบและพิสูจน์ถึงความถูกต้องเป็นจริงได้ จึงมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
ในปี 2510 ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึง ส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึง ที่ดินส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนั้นเป็นที่ชายทะเลอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) แม้ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนี้ในภายหลังน้ำทะเลร่นหรือเขินไปทางทิศตะวันตกทำให้กลายเป็นที่ดินที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงก็ตาม ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1309 ตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ถอนสภาพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ประกอบ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่เช่นเดิม ส่วนที่ดินเกิดเหตุส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกที่เป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงและไม่ปรากฏมีผู้ครอบครองทำประโยชน์นั้น เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) แม้จะมีบทบัญญัติว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1334 ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 4 ก็บัญญัติรับรองให้เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีการครอบครองและทำประโยชน์ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับเท่านั้น แต่การเข้ายึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุของจำเลยเป็นเวลาภายหลังปี 2519 และเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
ในปี 2510 ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นพื้นที่หาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึง ส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกเป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึง ที่ดินส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนั้นเป็นที่ชายทะเลอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) แม้ที่ดินเกิดเหตุส่วนใหญ่ที่เป็นหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นถึงนี้ในภายหลังน้ำทะเลร่นหรือเขินไปทางทิศตะวันตกทำให้กลายเป็นที่ดินที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงก็ตาม ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1309 ตราบใดที่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.ถอนสภาพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1305 ประกอบ ป.ที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่เช่นเดิม ส่วนที่ดินเกิดเหตุส่วนน้อยที่อยู่ทางทิศตะวันออกที่เป็นป่าชายหาดและหาดทรายที่น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงและไม่ปรากฏมีผู้ครอบครองทำประโยชน์นั้น เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) แม้จะมีบทบัญญัติว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1334 ซึ่ง ป.ที่ดิน มาตรา 4 ก็บัญญัติรับรองให้เฉพาะที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีการครอบครองและทำประโยชน์ก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับเท่านั้น แต่การเข้ายึดถือครอบครองที่ดินเกิดเหตุของจำเลยเป็นเวลาภายหลังปี 2519 และเป็นการเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วย ป.ที่ดิน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปล้นทรัพย์ด้วยการใช้สารทำให้มึนเมาทำให้เหยื่อไม่สามารถขัดขืนได้
จำเลยกับพวกนำธูปซึ่งมีส่วนผสมของสิ่งของบางอย่างที่ทำให้มึนเมาออกมาให้โจทก์ร่วมและ บ. ดม ทำให้โจทก์ร่วมเกิดอาการมึนศีรษะ เป็นเหตุให้อยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้แล้วจำเลยกับพวกอีก 2 คน ได้ลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไป ถือได้ว่าเป็นการลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไปเมื่อร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
อาการมึนศีรษะที่โจทก์ร่วมและ บ. ได้รับหลังจากดมธูปที่จำเลยกับพวกนำมาให้ดมจนจำเลยกับพวกบอกให้ทำอะไรก็ทำให้ทุกอย่าง ทั้งหลังเกิดเหตุโจทก์ร่วมและ บ. ก็ยังอาเจียนออกมาเป็นเลือดจนแพทย์ต้องฉีดยาให้นั้น ย่อมเป็นการบ่งชี้ชัดแจ้งแล้วว่าธูปนั้นมีสารพิษซึ่งเป็นโทษแก่ร่างกายและจิตใจ หากสูดดมแล้วจะทำให้เกิดอาการมึนเมาถึงขนาดตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่จำเป็นต้องนำพยานผู้ชำนาญการพิเศษมาสืบอีก
อาการมึนศีรษะที่โจทก์ร่วมและ บ. ได้รับหลังจากดมธูปที่จำเลยกับพวกนำมาให้ดมจนจำเลยกับพวกบอกให้ทำอะไรก็ทำให้ทุกอย่าง ทั้งหลังเกิดเหตุโจทก์ร่วมและ บ. ก็ยังอาเจียนออกมาเป็นเลือดจนแพทย์ต้องฉีดยาให้นั้น ย่อมเป็นการบ่งชี้ชัดแจ้งแล้วว่าธูปนั้นมีสารพิษซึ่งเป็นโทษแก่ร่างกายและจิตใจ หากสูดดมแล้วจะทำให้เกิดอาการมึนเมาถึงขนาดตกอยู่ในภาวะไม่สามารถขัดขืนได้ ดังนั้น โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่จำเป็นต้องนำพยานผู้ชำนาญการพิเศษมาสืบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวบรวมหลักฐานลายมือชื่อในคดีอาญา: พนักงานสอบสวนมีอำนาจกว้างขวางในการแสวงหาหลักฐาน แม้ไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อเดิม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 132 พนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่รวบรวมหลักฐานในคดีความ เมื่อผู้เสียหายอ้างว่า ลายมือชื่อในใบถอนเงินตามเอกสารพิพาทไม่ใช่ลายมือชื่อของตน แต่จำเลยอ้างว่าเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายซึ่งลงลายมือชื่อต่อหน้าจำเลย จึงมีปัญหาว่าลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อของผู้เสียหายหรือไม่ การที่พนักงานสอบสวนจัดให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อต่อหน้าตนในกระดาษหลายแผ่นและขวนขวายจัดหาลายมือชื่อและลายมือเขียนของ ผู้เสียหายที่เคยลงลายมือชื่อหรือเขียนไว้ในที่อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรแล้วรวมส่งไปให้เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐานตรวจเปรียบเทียบที่กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้จะไม่ได้ตัวอย่างลายมือชื่อที่ผู้เสียหายให้ไว้แก่ธนาคารขณะเปิดบัญชีรวมไปด้วย ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบแล้วในเมื่อพนักงานสอบสวนเห็นว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้วสำหรับพิสูจน์ความผิดของจำเลย ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นดุลพินิจของศาล
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ใช่ผู้ที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงต้องเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหาข้อนี้ยุติไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนตามฟ้องโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์ จำเลยจึงฎีกาต่อมาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้มาด้วย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้าม มิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การลงมือกระทำความผิดแต่ไม่สำเร็จ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ น่าเชื่อถือและเชื่อได้ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำ ผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายออกเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราโดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหายและหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และการไม่ระงับคดีอาญาด้วยการประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย และรถทั้งสองคันเสียหาย จำเลยที่ 2 ศีรษะแตกยาว 3 เซนติเมตร รวม 4 แผล กับกระดูกเข่าซ้ายแตกใช้เวลารักษาหายภายใน 1 เดือนเป็นอย่างน้อย จำเลยที่ 2 มีโอกาสหายเป็นปกติได้แต่ใช้เวลาหลายปี จำเลยที่ 2 มาเบิกความ จำเลยที่ 2 ยังไม่หายดี เดินกระเผลก แสดงว่าจำเลยที่ 2 ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วัน กับส่วนการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ระบุว่ารักษาประมาณ 1 เดือนหาย เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้นของแพทย์ผู้ตรวจรักษาจำเลยที่ 2 เท่านั้น จะฟังเป็นยุติหาได้ไม่ ต้องฟังพยานหลักฐานอื่นในสำนวนด้วย
แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 ข้อหาขับรถประมาทไปแล้ว ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หาได้ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ไม่ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธินำคดีนี้ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวมาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยที่ 2 ข้อหาขับรถประมาทไปแล้ว ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หาได้ทำให้คดีของจำเลยที่ 1 เลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 ไม่ และการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธินำคดีนี้ซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวมาฟ้องระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและเจตนาจนน่าเกิดอันตราย เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1(ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตรฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้าให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัยและไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือ แล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์และการกระทำของจำเลยทั้งห้าเป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และองค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกันและมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น เป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้น แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสองจึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและมีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี้ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นเรือสองชั้นเพื่อรับจ้างขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือและได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น ไปใช้รับจ้างขนส่งคนโดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งคนโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 233 กรณีไม่ใช่กระทำโดยประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายอันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายอีกบทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7547/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการใช้เรือโดยประมาทและโดยเจตนา จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 (ข) โดยสรุปว่า จำเลยทั้งห้าร่วมกันดัดแปลงต่อเติมเรือเอี้ยมจุ๊นซึ่งมิใช่เรือที่ทำขึ้นสำหรับขนส่งคนโดยสารโดยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ได้มาตราฐานโดยต่อเติมชั้นสองของเรือเป็นดาดฟ้า ให้บรรทุกขนส่งคนโดยสารได้ ส่วนของโครงหลังคาชั้นสองมีเสาเหล็กรองรับ 17 ต้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว พื้นดาดฟ้าชั้นสองเป็นเหล็กแผ่นเรียบ หนาประมาณ 1 หุน ยึดติดกับเสาเหล็กไม่แข็งแรง คานรับดาดฟ้าเล็ก และ ดาดฟ้าสูงจากพื้นชั้นล่าง 2.10 เมตร ซึ่งสูงเกินไปไม่สามารถบรรทุกคนโดยสารได้อย่างปลอดภัย และไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ที่เจ้าพนักงานกรมเจ้าท่าจะออกใบอนุญาตใช้เรือให้เป็นเรือรับจ้างขนส่งคนโดยสารได้ และตามวันเวลาในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งห้าใช้เรือลำเกิดเหตุบรรทุกคนโดยสารมากถึง 70 คน ซึ่งลักษณะและการบรรทุกน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือแล้วแล่นไปในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และการกระทำของจำเลยทั้งห้า เป็นความประมาทปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งจำเลยทั้งห้าจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่จำเลยทั้งห้าหาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เมื่อดาดฟ้าชั้นสองไม่สามารถรับน้ำหนักคนโดยสารเป็นจำนวนมากหักลง เรือเสียการทรงตัวและพลิกคว่ำเป็นเหตุให้คนโดยสารจมน้ำตาย 39 คน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งห้าได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและ รายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยทั้งห้าเข้าใจข้อหาได้ดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) และครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 233 และ องค์ประกอบของการกระทำโดยประมาทตามมาตรา 59 วรรคสี่ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกัน และมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่นเป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้ กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้นแม้ศาลฎีกา จะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
เรือโท ส. และเรือเอก ช. พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการ ที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสอง จึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือ ความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและ มีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี่ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นสองชั้นเพื่อรับจ้าง ขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือ และได้ว่าจ้าง จำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นไปใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83 เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 กรณีไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย อันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดจนไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษในบทมาตราดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
แม้การตกลงว่าจ้างเรือทั้งสองลำกระทำในคราวเดียวกัน และมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน แต่เรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีนี้กับเรือที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ใช้กระทำความผิดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่นเป็นเรือคนละลำกัน สามารถแยกการกระทำออกจากกันได้ กรณีจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ฉะนั้นแม้ศาลฎีกา จะมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาของศาลแขวงขอนแก่น โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 4 ในคดีนี้ หาเป็นฟ้องซ้ำไม่
เรือโท ส. และเรือเอก ช. พยานโจทก์ทั้งสองจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรือ หลักสูตร 5 ปี เรือโท ส. รับราชการ ที่กรมเจ้าท่าในตำแหน่ง เจ้าพนักงานตรวจเรือเป็นเวลาประมาณ 3 ปี มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจเรือมาโดยตลอด ส่วนเรือเอก ช. รับราชการเป็นเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 มีตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจเรือตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2530 พยานทั้งสอง จึงเป็นผู้ชำนาญการพิเศษในการตรวจเรือ ความเห็นของพยานทั้งสองจึงเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยชี้ขาดและ มีน้ำหนักให้รับฟังได้
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมทุนกันซื้อเรือลำเกิดเหตุซึ่งเป็นเรือเอี่ยมจุ๊นมาต่อเติมดัดแปลงเป็นสองชั้นเพื่อรับจ้าง ขนส่งคนโดยสารไปชมทิวทัศน์ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ยื่นขอใบอนุญาตใช้เรือต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ดูแลเขื่อนอุบลรัตน์ จำเลยที่ 3 มีหน้าที่จัดหาผู้โดยสารเรือ จำเลยที่ 4 มีหน้าที่ออกแบบต่อเติมเรือ และได้ว่าจ้าง จำเลยที่ 1 ควบคุมเรือลำเกิดเหตุซึ่งมีลักษณะน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้นไปใช้รับจ้างขนส่งผู้โดยสารด้วยการบรรทุกจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 ประกอบด้วยมาตรา 83 เมื่อการกระทำนั้นเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างขนส่งโดยสารโดยเจตนาจนน่าจะเกิดอันตรายแก่บุคคลในเรือนั้น อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 233 กรณีไม่ใช่การกระทำโดยประมาทตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคสี่ ซึ่งจะต้องเป็นการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แม้ผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย อันนอกเหนือจากเจตนาที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลก็ตาม แต่ ป.อ. มาตรา 238 วรรคหนึ่ง ก็บัญญัติให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับโทษหนักขึ้นในผลแห่งการกระทำความผิดตามมาตรา 233 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดจนไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษในบทมาตราดังกล่าวด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีร่วมกันจ้างวานและลงมือสังหารเหยื่อ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ต้องหาหลายคนถึงการวางแผนและลงมือกระทำผิด
คำให้การและคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ว่าจำเลยใช้ให้ บ. กับ ส. ฆ่าผู้ตายนั้น ในส่วนสาระสำคัญสอดคล้องกันทุกประการ จะมีแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียง พลความเท่านั้นไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ขาดน้ำหนักในการรับฟัง และในที่สุด บ. กับ ส. มิได้เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คนร้ายที่ฆ่าผู้ตายเป็นกลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งต่อมาถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว กลุ่มคนร้ายที่ฆ่าผู้ตาย ไม่มีความเกี่ยวพันกับ บ. และ ส.หากเรื่องไม่เป็นความจริงก็ไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลยในความผิด ข้อหาอุกฉกรรจ์พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้โดยปราศจากสงสัย ว่าจำเลยใช้ให้ บ.และ ส. ฆ่าผู้ตาย แต่ บ.และ ส. มิได้กระทำการตามที่จำเลยใช้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย ประกอบมาตรา 289(4) คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียวหากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ ศาลมีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้ ว. จำคนร้ายไม่ได้และไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใครขณะเกิดเหตุ ว. กำลังขับรถคนร้ายยิงผู้ตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทันที ว. ทราบเหตุต่อเมื่อผู้ตายถูกยิงแล้ว และล้มตัวเข้ามาหาพร้อมกับบอกว่าถูกยิง เชื่อว่าขณะนั้นคนร้ายหลบหนีไปแล้ว คำเบิกความของ ว. จึงไม่มีผลทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานอื่นของโจทก์หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. และ น. ได้ บุคคลทั้งสองพาไปหาหมวกกันน็อกที่ทิ้งไว้ในป่าหญ้าข้างทาง ปรากฏว่าหมวกใบหนึ่งมีเส้นผมติดอยู่ จากการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่าเป็นเส้นผมของ น. การตรวจพิสูจน์นี้เป็นการทำตามหลักวิชาและมีความแน่นอนสามารถเชื่อถือได้ ประกอบกับ อาวุธปืนที่ น. ใช้ยิงผู้ตายได้มีการดัดแปลงแก้ไขให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักมั่นคงโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยคือการติดต่อว่าจ้าง อ.กับ ก.ให้ฆ่าผู้ตาย ที่ ก.ขอให้ ส.เข้ามาช่วยเหลือแล้วส. ไปว่าจ้าง กต.และสจ. ให้มาร่วมก็เพียงเพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จตามที่ ก. รับจ้างมาจากจำเลยเมื่อ กต.กับสจ.ล้มเลิกส. และ ก. จึงไปติดต่อ น.กับ ช.ให้เข้ามาร่วมทำงานต่อไปจนสำเร็จการที่ส.ก.กต.และสจ. ได้ร่วมกันไปดักยิงผู้ตายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จแล้วในที่สุด ส.ก.น.และช. สามารถฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289(4)