คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 744

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเพื่อประกันหนี้ในอนาคต & สิทธิเรียกร้องของผู้รับจำนองที่โอนสิทธิ - ประนีประนอมยอมความไม่ระงับสิทธิ
ข้อสัญญาในหนังสือสัญญาจำนองที่ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าเป็นข้อสัญญาที่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 707 ประกอบมาตรา 681 วรรคสอง และใช้บังคับกันได้
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลชั้นต้นในคดีอื่นว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ต่อผู้ร้องจริงและขอผ่อนชำระหนี้เป็นงวด หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำนองไว้และทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชำระให้แก่ผู้ร้องจนกว่าจะครบถ้วนและศาลพิพากษาตามยอมแล้วเป็นการที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องจริงตามคำฟ้องในคดีนั้น หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นสัญญาประธานจึงยังไม่ระงับไปตามข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำเลยก็ตกลงให้ผู้ร้องยึดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินไว้อันเป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญาจำนองดังกล่าวซึ่งผู้ร้องได้รับโอนจากบริษัทเงินทุน บ. ผู้รับจำนองจึงยังคงมีอยู่และผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้นั้นยังไม่ระงับสิ้นไปและมิได้มีการปลดจำนองให้แก่จำเลยผู้จำนองหรือมีการไถ่ถอนจำนอง จึงยังไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 ผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิในฐานะผู้รับจำนองขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดที่ดินที่จำเลยจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาใช้เงินได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการรับชำระหนี้จากการบังคับคดีทรัพย์สินจำนอง แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความ
ผู้ร้องกับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาลโดยจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องตามคำฟ้องและขอผ่อนชำระหนี้ หากผิดนัดยอมให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองและทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องจนครบถ้วน และศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นแล้ว การที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อผู้ร้องหนี้ประธานจึงยังไม่ระงับไปและจำเลยยังตกลงว่าหากจำเลยผิดนัด ให้ผู้ร้องยึดทรัพย์จำนองอันเป็นประกันหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง เป็นการที่จำเลยยอมรับผิดตามสัญญาจำนองอันเป็นหนี้อุปกรณ์ด้วย ดังนี้ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันจำนองเป็นประกันยังไม่ระงับสิ้นไป หนี้ตามสัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนองย่อมเป็นสิทธิทรัพย์สินแยกต่างหากจากสิทธิส่วนบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน แม้พิพากษายกฟ้องค้ำประกัน
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีทั้งเจ็ดสัญญาพร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่สำหรับหนี้ตามสัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิต ศาลชั้นต้นเพียงแต่พิพากษายกฟ้องโดยเหตุที่โจทก์มิได้นำสืบจำนวนหนี้ที่แท้จริงในกรณีโจทก์คิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทำให้ศาลชั้นต้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ได้และในทำนองเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ก็โดยเหตุจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 เพียง 4 สัญญาในจำนวน 7 สัญญา แต่โจทก์นำสืบยอดหนี้รวมกันมาทั้งเจ็ดสัญญา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจทราบจำนวนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี 4 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นเหตุให้ไม่อาจพิพากษากำหนดจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดได้เช่นกัน แต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชี้ชัดแล้วว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญาใช้บัตรวีซ่ากรุงไทยและสินเชื่อธนวัฎบัตรเครดิตเช่นนี้แม้ศาลชั้นต้นในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีต่อโจทก์อันเป็นบุคคลสิทธิที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 2 ตามสัญญาค้ำประกันก็ตามแต่สำหรับที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ไว้แก่โจทก์นั้น โจทก์ย่อมเป็นเจ้าหนี้จำนองและทรงทรัพย์สิทธิที่จะบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ตามวงเงินจำนองที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองไว้ได้ เพราะไม่ปรากฏเหตุความระงับสิ้นไปแห่งสัญญาจำนองดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 744 บัญญัติไว้ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคำพิพากษาที่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จำนอง-การบังคับจำนอง-ดอกเบี้ย-การแก้ไขคำพิพากษา
สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปี และเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 จึงเกินห้าปี ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความ และศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. เจ้ามรดกที่มีจำเลยที่ 1 เป็นทายาทโดยธรรมซึ่งให้การยกข้อต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247
หนี้ตามสัญญากู้เงินซึ่งเป็นหนี้ประธานขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 744 ที่บัญญัติเหตุจำนองระงับไว้ใน (1) ถึง (6) โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้ แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีตามที่มาตรา 745 บัญญัติห้ามไว้เท่านั้น
โจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 13.75 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงของคู่สัญญา จึงมิใช่เบี้ยปรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าความรับผิดตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อ้างมาในฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9494/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้, การบังคับจำนอง, และดอกเบี้ย: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
จ. กับจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโจทก์ ตกลงผ่อนชำระเงินกู้และดอกเบี้ยคืนเป็นรายงวดหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งให้ถือว่าผิดนัดทุกงวด โจทก์ได้รับชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 18 มกราคม 2539 จึงต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัดชำระงวดที่เหลือทั้งหมด สิทธิเรียกร้องในกรณีหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่นั้น อายุความฟ้องเรียกเงินจำนวนที่ค้างจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) ซึ่งมีกำหนดอายุความห้าปีและเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤษภาคม 2544 เกินห้าปีแล้ว ฟ้องโจทก์ย่อมขาดอายุความและศาลฎีกาเห็นควรให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่เป็นลูกหนี้ร่วมกับ จ. ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247 และแม้หนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ แต่จำนองเป็นทรัพย์สิทธิซึ่งจะระงับสิ้นไปก็แต่โดยกรณีต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) ถึง (6) เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิบังคับเอาชำระหนี้จำนองได้แต่ไม่อาจบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินห้าปีตามมาตรา 745 ได้และเมื่อโจทก์มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น และตามสัญญาจำนองกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้แล้ว จึงเป็นไปตามข้อตกลงไปในสัญญาจำนองอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงไม่ใช่เบี้ยปรับที่ศาลจะปรับลดให้แก่ลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย พิจารณา ณ วันยื่นฟ้อง แม้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดภายหลัง
การที่จะพิจารณาว่าโจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือไม่ จะต้องพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายต่อศาล เมื่อปรากฏว่าก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแพ่งโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดได้แล้วเช่นนี้ เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเนื่องจากการฟ้องบังคับจำนองแล้ว จำนองย่อมระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนั้น ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง โจทก์จึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันไม่จำต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10 แต่อย่างใด แม้ต่อมาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้จะมีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าว ก็หาทำให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีล้มละลายแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ค้ำประกัน-จำนองยังไม่ระงับ แม้ลูกหนี้ล้มละลาย-เจ้าหนี้ไม่ขอรับชำระหนี้ ผู้ค้ำ-ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ย่อมเป็นผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติให้หนี้ที่ไม่ได้ขอรับชำระหนี้ระงับไปเพียงแต่เจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องเอาหนี้ดังกล่าวจากลูกหนี้เท่านั้น เมื่อหนี้ยังไม่ระงับ ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ และหนี้จำนองก็ยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 ผู้จำนองยังคงต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเช่นกัน ดังนั้น จำเลยทั้งสองซึ่งได้ทำสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองไว้แก่โจทก์ จึงยังคงต้องผูกพันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองต่อไป โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6221/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ทุกประเภท แม้ชำระหนี้กู้แล้ว หากยังมีหนี้อื่นค้าง จำเลยมีสิทธิไม่ไถ่ถอนจำนอง
สัญญาจำนองข้อ 1 ระบุว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้และภาระผูกพันใดๆ ของ อ. ที่มีต่อธนาคาร ก. ผู้ร้องจำนอง ทั้งที่มีอยู่แล้วและที่จะมีขึ้นในภายหน้าทุกลักษณะ ทุกประเภทหนี้ เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท และตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ข้อ 2 ระบุว่า หนี้สินและภาระผูกพันใดๆ ที่จำนองเป็นประกัน ได้แก่ หนี้สินและภาระผูกพันทุกประเภท ทุกอย่าง ที่มีต่อผู้รับจำนองแล้วในเวลานี้และที่จะมีต่อไปในภายหน้า เมื่อหนี้สินและภาระผูกพันประเภทใดประเภทหนึ่ง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งระงับสิ้นไป แต่หนี้สินและภาระผูกพันประเภทอื่นยังมีอยู่หรือจะมีต่อไปในภายหน้าสัญญาจำนองไม่ระงับสิ้นไปคงผูกพันเป็นประกันต่อไป เห็นได้ว่า สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวนอกจากจะเพื่อเป็นประกันเงินที่โจทก์กู้จากจำเลยตามสัญญากู้ยืมเงินแล้ว ยังเป็นประกันหนี้ทุกประเภทที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระแก่จำเลยที่สาขารังสิต จังหวัดปทุมธานี แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นจากการทำนิติกรรมกับจำเลยต่างสาขากัน แต่เป็นหนี้ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยเช่นกันถือได้ว่า โจทก์ยังมีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อจำเลยตามสัญญาจำนองรายนี้อยู่ แม้โจทก์จะได้ชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลย สาขาสามพราน ครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ขอขายทอดตลาดที่ดินเพื่อชำระราคาไม่ได้ แม้จำเลยผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 กำหนดให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา แต่ในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น จำเลยได้โอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจโอนให้แก่โจทก์ได้ อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุให้จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินหากจำเลยไม่อาจโอนได้ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 จะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ก็ไม่ได้หมายความว่าหากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินทั้งสิบแปลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่โจทก์ได้จำเลยจะต้องชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งขายทอดตลาดที่ดินทั้งสิบแปลงมาชำระเป็นราคาที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ได้ หากจำเลยผิดสัญญาอย่างใด โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอากับจำเลยอีกต่างหาก
of 11