พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บันทึกรับสภาพหนี้มีผลระงับสัญญากู้เดิม การปลดจำนองต้องมีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกหรือหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยได้ทำให้ไว้แก่โจทก์ และสัญญาจำนองอันมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงิน จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนอง และบันทึกรับสภาพหนี้ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์จริง ตามบันทึกรับสภาพหนี้ มีข้อตกลงในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระดอกเบี้ย การชำระเงินต้นเปลี่ยนแปลงไปจากสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิม แสดงว่าโจทก์และจำเลยได้เจตนาผูกพันตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นใหม่ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์และจำเลยจึงต้องบังคับตามบันทึกการรับสภาพหนี้ เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดิมเป็นอันระงับไปโดยบันทึกการรับสภาพหนี้ดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ตามบันทึกรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำกับโจทก์ ไม่ปรากฏข้อตกลงเกี่ยวกับการที่โจทก์จะต้องปลดจำนองที่ดินเป็นแต่ละแปลงให้จำเลยอย่างไร จำเลยกล่าวมาในฟ้องแย้งลอย ๆ โดยไม่มีข้ออ้างที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวทั้งมิได้มีคำขอหรือคำบังคับใด ๆ เกี่ยวกับข้อหาที่จำเลยกล่าวอ้างในการฟ้องแย้งของจำเลยแต่ประการใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่า โจทก์ผิดสัญญาโดยไม่ปฏิบัติการปลดจำนองแต่ละแปลงให้จำเลยในราคา ที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, การนำหนี้เดิมมารวมกับหนี้ใหม่, การไถ่ถอนจำนอง, และการชำระหนี้ซ้ำซ้อน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาทไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาทกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500 บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองและการไถ่ถอนจำนอง: โจทก์มีหน้าที่ไถ่ถอนจำนองเมื่อได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาท ไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาท กับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น
เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามลำดับคำพิพากษา และสิทธิการเข้าใช้หนี้แทนจำเลยเมื่อมีการจำนองทรัพย์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันโดยให้โจทก์ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและให้หักค่าธรรมเนียม ค่าภาษีในการโอนกับค่าเสียหายด้วย หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยปราศจากภาระผูกพันไม่ได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ การบังคับคดีจึงต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อธนาคาร ซึ่งธนาคารได้ฟ้องและนำยึดที่ดินพิพาทไว้ในคดีแพ่งอื่น โจทก์ซึ่งต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิตามคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมีสิทธิเข้าใช้หนี้ของจำเลยแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปครบถ้วนแล้ว หนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจึงระงับสิ้นไป แม้ก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นจะเคยมีคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยติดจำนองก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวก็มีผลเป็นคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยปลอดจำนองหรือปราศจากภาระผูกพัน อันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในลำดับแรกนั้นเอง หาใช่เป็นการบังคับคดีในลำดับหลังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามลำดับในการบังคับคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนอง: การชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยโจทก์ ทำให้ที่ดินหลุดพ้นจากภาระจำนอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันโดยให้โจทก์ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 3,500,000 บาทแก่จำเลยและให้หักค่าธรรมเนียมค่าภาษีในการโอนกับค่าเสียหายจำนวน 500,000บาท ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์จากเงินจำนวน 3,500,000 บาท นั้น หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันไม่ได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ 500,000 บาท และชำระค่าเสียหาย 1,000,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ การบังคับคดีในคดีนี้จึงต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อธนาคาร ซึ่งธนาคารได้ฟ้องจำเลยและนำยึดที่ดินพิพาทไว้ในคดีแพ่งอื่น โจทก์ซึ่งต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิตามคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมีสิทธิเข้าใช้หนี้ของจำเลยแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปครบถ้วนแล้ว หนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจึงระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ที่ดินพิพาทจึงไม่ติดจำนองและปราศจากภาระผูกพันแล้ว แม้ก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นจะเคยมีคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยติดจำนองก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นก็มีผลเป็นคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยปลอดจำนองหรือปราศจากภาระผูกพัน อันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในลำดับแรกนั้นเองหาใช่เป็นการบังคับคดีในลำดับหลังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามลำดับในการบังคับคดีแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกจ้างและผู้ค้ำประกันจากการละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิด ดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่า ส.กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ มีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส.ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่า ส.กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือ มีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน หาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส.ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันแทน และอายุความฟ้องละเมิดระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างใช้ อายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่า ส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไร ผิดข้อบังคับอย่างไร และจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไร ซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป ซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของ ส.ต้องรับผิดดังนี้ ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้อง ส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลาง โดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย กล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบ จัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับ แต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไป นับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่ แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วย เมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป คือ อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทน ต่อมา ส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้นำที่ดินมาจำนอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่ 2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสิ้นผลเมื่อมีการจำนองประกันทรัพย์สินแทน การฟ้องละเมิดอายุความ 10 ปี
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแล้วว่าส.ลูกจ้างโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่อย่างไรผิดข้อบังคับอย่างไรและจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างไรซึ่งเป็นเหตุให้สินค้าของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปซึ่งจำเลยผู้ค้ำประกันการทำงานของส.ต้องรับผิดดังนี้ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งข้อหาแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องส.กับพวกในคดีของศาลแรงงานกลางโดยบรรยายฟ้องว่าส. กับพวกเป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการกิจการและดำเนินงานของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับและคำสั่งของโจทก์ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือมีหน้าที่เก็บรักษาตรวจสอบจัดทำทะเบียนคุมสินค้าและวัสดุของโจทก์ตามระเบียบข้อบังคับแต่หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่เป็นเหตุให้สินค้าและวัสดุของโจทก์ขาดหรือสูญหายไปนับว่าเป็นมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานหาใช่เป็นมูลละเมิดอย่างเดียวไม่แต่มีมูลเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานรวมอยู่ด้วยเมื่อสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปคืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมมีมติให้ส.ใช้บุคคลค้ำประกันเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะจัดหาที่ดินมาจำนองเป็นประกันแทนต่อมาส. ได้จัดหาที่ดินมาจำนองแล้วโดยจำเลยที่2เป็นผู้นำที่ดินมาจำนองดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์ย่อมสิ้นความผูกพันนับแต่จำเลยที่2นำที่ดินมาจำนองจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: สิทธิจำนองยังคงอยู่จนกว่าจะชำระหนี้ครบถ้วน
ตามคำขอประนอมหนี้ประกอบคำร้องแก้ไขคำขอประนอมหนี้ของโจทก์ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนโจทก์คงมีข้อความเพียงว่าเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ข้อ1แล้วขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์คืนให้โจทก์ไปเท่านั้นและตามบันทึกรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็สรุปใจความได้ว่าโจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยภายหลังเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้มีความหมายถึงขนาดว่าจำเลยยินยอมสละที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอันเป็นหลักประกันทั้งไม่ใช่วิสัยที่จำเลยจะพึงกระทำเช่นนั้นเพราะจำเลยในฐานะผู้รับจำนองสามารถบังคับเอาจากทรัพย์จำนองได้อยู่แล้วจำเลยยังคงมีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในฐานะผู้รับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้และการไถ่ถอนจำนอง: สิทธิของผู้รับจำนองยังคงอยู่
ตามคำขอประนอมหนี้ประกอบคำร้องแก้ไขคำขอประนอมหนี้ของโจทก์ไม่มีข้อความระบุให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทคืนโจทก์ คงมีข้อความเพียงว่าเมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ข้อ 1 แล้วขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดทรัพย์สินของโจทก์คืนให้โจทก์ไปเท่านั้นและตามบันทึกรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็สรุปใจความได้ว่าโจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจากจำเลยภายหลังเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามคำขอประนอมหนี้ครบถ้วนแล้วไม่ได้มีความหมายถึงขนาดว่าจำเลยยินยอมสละที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทอันเป็นหลักประกัน ทั้งไม่ใช่วิสัยที่จำเลยจะพึงกระทำเช่นนั้นเพราะจำเลยในฐานะผู้รับจำนองสามารถบังคับเอาจากทรัพย์จำนองได้อยู่แล้ว จำเลยยังคงมีสิทธิเหนือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทในฐานะผู้รับจำนอง