พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำพยานหลักฐานมาสอบสวนในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด เจ้าหนี้มีประกันยังคงบังคับจำนองได้
การที่ศาลมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ไม่นำพยานมาให้การสอบสวนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ใช่เหตุที่ทำให้หนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. บรรพ 2 หมวด 5 ความระงับหนี้ การจำนองจึงไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เจ้าหนี้จึงยังคงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิในการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฎีกาของผู้รับจำนองในคดีเพิกถอนคำสั่งริบเงินมัดจำการขายทอดตลาดที่ดิน
เดิมผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดและคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินที่ถูกขายทอดตลาดยื่นคำคัดค้านคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องทั้งสองฉบับ ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำ ซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้เป็นว่า ให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำแล้วให้ขายทอดตลาดใหม่ เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือมาชำระแล้วผู้ร้องไม่ชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งริบเงินมัดจำและให้นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่ เป็นเหตุให้ผู้ร้องมายื่นคำร้องเป็นคดีนี้ ศาลชั้นต้นยกคำร้องโดยไม่ไต่สวน ผู้คัดค้านจึงมิได้เข้ามาเป็นคู่ความเกี่ยวกับคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำของผู้ร้องมาตั้งแต่แรก ประกอบกับผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้รับจำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดซึ่งในการขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดโดยติดจำนองไปด้วย สิทธิของผู้คัดค้านในฐานะผู้รับจำนองยังคงมีอยู่ครบถ้วน คำร้องของผู้ร้องที่ขอเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้ริบเงินมัดจำตลอดจนคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวไม่ได้กระทบสิทธิของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในคดีไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนองยังคงมีผล แม้มีการแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
สิทธิจำนองเป็นทรัพยสิทธิ และย่อมระงับสิ้นไปเพียง 6 กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เท่านั้น เมื่อการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้รับจำนองชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองดังกล่าวได้ การจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 188713 พร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงยังคงครอบติดอยู่ตามสัญญาจำนอง ไม่ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 และเมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 188713 ออกไปเป็นที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 204439 อีกแปลงหนึ่ง ต้องถือว่าที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 204439 ที่แบ่งแยกออกไปพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงมีการจำนองครอบติดอยู่ด้วยตามสัญญาจำนองที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 188713 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 717 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีการจดแจ้งไว้ในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเลขที่ 204439 ว่ามีการจำนองครอบติดอยู่ และแม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากเสียค่าตอบแทนและได้มาโดยสุจริตย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 204439 แต่ก็หาทำให้สิทธิจำนองซึ่งเป็นทรัพยสิทธิที่ติดไปกับตัวทรัพย์จำนองเสื่อมเสียไปไม่ ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
ฟ้องโจทก์เพียงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ดำเนินการโดยไม่ชอบให้คงปรากฏภาระจำนองเป็นหลักประกันแก่หนี้กู้ยืมของโจทก์และจำเลยที่ 1 เช่นเดิม และตามคำขอบังคับโจทก์ก็ยังไม่ได้ทรัพย์สินใดมา เพราะโจทก์มิได้ฟ้องบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ที่มีอยู่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) หรือฟ้องบังคับชำระหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งโจทก์ไม่ได้เรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาเป็นของตน คดีโจทก์จึงหาใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
ฟ้องโจทก์เพียงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ดำเนินการโดยไม่ชอบให้คงปรากฏภาระจำนองเป็นหลักประกันแก่หนี้กู้ยืมของโจทก์และจำเลยที่ 1 เช่นเดิม และตามคำขอบังคับโจทก์ก็ยังไม่ได้ทรัพย์สินใดมา เพราะโจทก์มิได้ฟ้องบังคับจำนองเพื่อเอาชำระหนี้ที่มีอยู่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ค) หรือฟ้องบังคับชำระหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ข้อ 1 (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งโจทก์ไม่ได้เรียกร้องเอาที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 มาเป็นของตน คดีโจทก์จึงหาใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14118/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจำนอง: สิทธิยังไม่ได้จดทะเบียนใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตไม่ได้
โจทก์เป็นผู้ได้มาซึ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 อันเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ผู้รับจำนองซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินเดิมอันถือว่าเป็นบุคคลภายนอกที่ได้สิทธิตามสัญญาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคือที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ในคดีที่จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่อาจยึดนำที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวออกขายทอดตลาดในคดีดังกล่าวได้เท่านั้น แต่ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิในฐานะผู้รับจำนองของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อทรัพย์จำนอง ซึ่งสิทธิตามสัญญาจำนองจะระงับไปก็ต่อเมื่อมีเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เท่านั้น อันได้แก่ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น เมื่อถอนจำนอง เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาล อันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด เมื่อเหตุที่โจทก์อ้างไม่ใช่เหตุตามบทบัญญัติที่กล่าว สัญญาจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคือที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ในคดีที่จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่อาจยึดนำที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวออกขายทอดตลาดในคดีดังกล่าวได้เท่านั้น แต่ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิในฐานะผู้รับจำนองของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อทรัพย์จำนอง ซึ่งสิทธิตามสัญญาจำนองจะระงับไปก็ต่อเมื่อมีเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เท่านั้น อันได้แก่ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น เมื่อถอนจำนอง เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาล อันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด เมื่อเหตุที่โจทก์อ้างไม่ใช่เหตุตามบทบัญญัติที่กล่าว สัญญาจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10669/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำนอง vs. ครอบครองปรปักษ์: ผู้รับจำนองมีสิทธิเหนือที่ดิน แม้ผู้ครอบครองอ้างสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. ที่จดทะเบียนจำนองไว้ต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง ผู้คัดค้านมิได้โต้แย้งว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านหรือผู้คัดค้านซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล คำร้องขอครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องนั้น มิได้ทำให้สิทธิจำนองของผู้คัดค้านในฐานะผู้รับจำนองเสื่อมเสียหรือระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงได้จากการขายทอดตลาดในการบังคับคดีดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 ผู้คัดค้านจึงมิได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลง การที่ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลรับรองว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยการครอบครองปรปักษ์จึงมิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิจำนองของผู้คัดค้านที่จะเข้ามาในคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14202/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการบังคับคดีและการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดี แม้ไม่ยื่นคำร้องตามกำหนด
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 289 จะบัญญัติว่า "ในกรณีจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ไปจดทะเบียนไว้นั้น ให้ยื่นคำร้องขอก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด..." ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ให้อำนาจผู้รับจำนองที่จะยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาด เพื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนองและเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้รับจำนองให้ได้รับจัดสรรการชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวโดยจะสะดวกกว่าให้ผู้รับจำนองไปฟ้องบังคับแก่ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในภายหลังเท่านั้น แต่ถ้าผู้รับจำนองไม่ยื่นคำร้องขอภายในกำหนดดังกล่าวก็หาทำให้ผู้รับจำนองต้องหมดสิทธิไปไม่ โดยการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิของผู้รับจำนอง ซึ่งอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินพิพาทได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 287 อีกทั้งสิทธิรับจำนองเป็นทรัพยสิทธิซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย จะระงับสิ้นไปก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายซึ่งได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744 ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงมีบุริมสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์พิพาทก่อนเจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งโจทก์ด้วยและเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเอาทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองตามความประสงค์ของผู้ร้องแล้ว ก็ต้องชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 732 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7016/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต, เบี้ยปรับภาษีอากร และการประเมินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
แม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี หลังจากรู้ว่า ก. ตายก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับจำนองได้ เพราะเหตุดังกล่าวไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาจำนองระงับสิ้นไปตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 744
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยที่ 1 เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26 อีก
บทบัญญัติใน ป.รัษฎากร มาตรา 89 มิได้มุ่งหมายให้ลงโทษผู้กระทำผิดเรียงตามอนุมาตราไป แต่มุ่งหมายให้ลงโทษตามอนุมาตราที่กำหนดเบี้ยปรับสูงสุดเพียงอนุมาตราเดียว จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (2) (3) (4) หรือ (10) เพียงอนุมาตราเดียวซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถเรียกเก็บเบี้ยปรับได้สูงสุด
สำหรับกรณีเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (8) และ (9) ทั้งสองกรณี เป็นการเสียเบี้ยปรับที่สามารถแยกจากบทบัญญัติตามมาตรา 89 (2) (3) (4) (10) ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (8) หรือ (9) อีกฐานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองครอบคลุมทรัพย์ติดพัน แม้ซื้อจากขายทอดตลาด แต่สิทธิจำนองไม่ระงับ จำเลยต้องคืนเงินค่าทรัพย์ที่ถูกรื้อถอน
ป.พ.พ. มาตรา 718 จำนองย่อมครอบไปถึงทรัพย์ทั้งปวงอันติดพันอยู่กับทรัพย์สินซึ่งจำนอง และเมื่อบ้านพิพาทเป็นโรงเรือนซึ่งมีอยู่ในขณะที่จดทะเบียนจำนอง การจำนองย่อมครอบคลุมไปถึงบ้านพิพาทด้วย แม้จำเลยจะซื้อบ้านพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต แต่สิทธิของจำเลยก็ได้มาภายหลังจากที่โจทก์ได้รับจำนองบ้านพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในทรัพย์จำนองระงับสิ้นไปได้ การจำนองบ้านพิพาทจึงยังคงมีอยู่ไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงคงมีสิทธิจะบังคับจำนองเอาแก่บ้านพิพาทที่จำเลยซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 และมาตรา 702 วรรคสอง
จำเลยเป็นแต่เพียงผู้ซื้อบ้านพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล มิใช่เป็น ผู้จำนองหรือคู่สัญญากับโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้จำนองต่อโจทก์ แต่การที่บ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองขายทอดตลาดบ้านพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนตาม ป.พ.พ มาตรา 702 วรรคสอง จำเลยกลับรื้อบ้านพิพาทและขายให้กับบุคคลอื่นไป แม้กระทำการโดยสุจริต จำเลยต้องคืนเงินในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทให้แก่โจทก์
จำเลยเป็นแต่เพียงผู้ซื้อบ้านพิพาทได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล มิใช่เป็น ผู้จำนองหรือคู่สัญญากับโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้จำนองต่อโจทก์ แต่การที่บ้านพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์จำนองซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับจำนองขายทอดตลาดบ้านพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ก่อนตาม ป.พ.พ มาตรา 702 วรรคสอง จำเลยกลับรื้อบ้านพิพาทและขายให้กับบุคคลอื่นไป แม้กระทำการโดยสุจริต จำเลยต้องคืนเงินในส่วนที่เกี่ยวกับบ้านพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11603/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้เงินทุน vs. หลักทรัพย์ MTM: ศาลยืนเจตนาจำนองเฉพาะเงินทุน แม้มีข้อความกว้างในสัญญา
แม้ในสัญญาจำนองมีข้อความต่อท้ายสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในขณะทำสัญญาหรือที่จะเกิดขึ้นใหม่ในภายหน้า แต่ก็ได้ความว่าการกู้ยืมจดทะเบียนจำนองในคดีนี้เป็นการกู้ยืมในเรื่องเงินทุน ส่วนการผู้ยืมในเรื่องหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดไว้ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน โจทก์จำเลยทำสัญญาจำนองคู่สัญญาตั้งใจให้ผูกพันเป็นประกันเฉพาะการกู้ยืมในเรื่องเงินทุนจำนวน 7,000,000 บาท เท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาให้ผูกพันเลยไปถึงเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นด้วย นอกจากนี้ยังไม่มีข้อความเขียนให้ชัดว่าเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมซื้อหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นทั้งที่มีโอกาสเขียนให้ชัดได้ ข้อต่อสู้จำเลยว่าการจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นด้วยนั้น เป็นการบิดเบือนเจตนารมณ์อันแท้จริงของคู่สัญญาแต่แรกให้ผิดไปจากความประสงค์เดิม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการจำนองเป็นประกันหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้เงินทุนเพียงอย่างเดียวและหนี้เงินทุนระงับแล้ว จำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วย จำเลยจะอ้างไม่ส่งโฉนดเพราะมีหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์ค้างชำระอยู่ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11603/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้เงินทุน ไม่ครอบคลุมหนี้ซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้น แม้มีข้อความกว้างในสัญญา
จ. ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยเมื่อปี 2534 เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ จ. โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อประกันการกู้ยืมเงินและหนี้สินอื่นๆ ของโจทก์ และหรือของ จ. ที่มีอยู่แล้วขณะที่ทำสัญญาและที่จะมีขึ้นในภายหน้าต่อจำเลย เป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้การกู้ยืมในเรื่องเงินทุน แต่ไม่ใช่เป็นประกันหนี้การกู้ยืมเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์แบบเมนเทแนนส์มาร์จิ้นของ จ. ซึ่งทำในปี 2531 เนื่องจากการกู้ยืมในเรื่องหลักทรัพย์มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่ตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนดไว้ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน เพราะไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการให้นำที่ดินจดทะเบียนจำนองประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ แต่ให้นำหลักทรัพย์จดทะเบียน พันธบัตร สลากออมสิน มาวางเป็นประกัน และผู้ให้ยืมจะได้เงินกู้ยืมในกรณีนี้คืนเมื่อขายหลักทรัพย์ได้แล้วเท่านั้น ในระหว่างยังมิได้ขายหลักทรัพย์ผู้ให้กู้ยืมจะเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้เงินกู้ยืมไม่ได้ มิฉะนั้นการซื้อขายหลักทรัพย์จะปั่นป่วน คงมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ยืมชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเท่านั้น คู่สัญญาไม่มีเจตนาให้ผูกพันเลยไปถึงเป็นประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวด้วย เมื่อหนี้เงินทุนระงับแล้วจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับตามไปด้วย และจำเลยต้องส่งมอบหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินให้แก่โจทก์และจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองให้โจทก์