คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 233

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 858/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบพยานโจทก์ในคดีอาญา: การพิสูจน์การมีอาวุธปืนและอนุญาต
คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าจำเลยมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะฟังได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย และในชั้นสืบพยานจำเลย จำเลยจะตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตให้มีหรือพกพาอาวุธปืนมาก่อน ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีและพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเป็นต้องมีพยานหลักฐานและของกลางยืนยัน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะได้ความจากคำเบิกความของจำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น เพราะในการพิจารณา คดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิด ทั้งโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางยืนยัน และไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่มีหมายเลขทะเบียนตามที่โจทก์ฟ้องจึงลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและมีอาวุธปืนเถื่อน ศาลฎีกาพิพากษายืนความผิดฐานฆ่า แต่ยกฟ้องฐานมีอาวุธปืนเถื่อนเนื่องจากขาดหลักฐาน
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะได้ความจากคำเบิกความของจำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น เพราะในการพิจารณาคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดทั้งโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางยืนยัน และไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่มีหมายเลขทะเบียนตามที่โจทก์ฟ้องจึงลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพยานหลักฐานในคดีอาญา: การไม่มีของกลางและพยานสนับสนุนทำให้ไม่สามารถลงโทษจำเลยได้
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะได้ความจากคำเบิกความของจำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ว่าจำเลยไม่เคยได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองก็ตามก็เป็นข้อเท็จจริงที่ได้จากการที่จำเลยตอบคำถามค้านของโจทก์ถือไม่ได้ว่าโจทก์นำสืบถึงข้อเท็จจริงนั้น เพราะในการพิจารณาคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิด ทั้งโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางยืนยัน และไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาวุธปืนดังกล่าวไม่มีหมายเลขทะเบียนตามที่โจทก์ฟ้อง จึงลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้. (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2532)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองสินค้าต่างประเทศที่ไม่ได้เสียภาษี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษี
การฟ้องคดีว่าจำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรหรือรับสินค้าจากผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยมิได้เสียค่าภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา27,27 ทวิ นั้น เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีต้องด้วยมาตรา 100 ที่จำเลยจะต้องพิสูจน์ว่าสินค้าดังกล่าวได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำสืบและจำเลยเป็นผู้รับสินค้าของกลางจำนวนมากซึ่งเป็นสินค้าจากต่างประเทศมาเก็บไว้ที่บ้าน จึงฟังข้อเท็จจริงได้ว่าสินค้าเหล่านี้มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้เสียภาษี จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองลูกระเบิด: พยานหลักฐานขัดแย้ง, พยานเบิกความเพื่อพ้นผิด, และการยกประโยชน์แห่งความสงสัย
คำเบิกความของ ก. เป็นการซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนเองพ้นผิดเมื่อ ก. เบิกความเป็นพยานตนเองในฐานะที่เป็นจำเลยในอีกคดีหนึ่งซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณารวมกับคดีนี้เท่านั้น หาใช่เป็นการเบิกความในฐานะเป็นพยานโจทก์ไม่ จึงเอาคำของ ก. มาฟังลงโทษจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ และการพิจารณาความผิดฐานร่วมกันประทุษร้าย ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เคยมีเรื่องชกต่อยกันวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2, 3 กับพวกไปคอยทีอยู่ พอจำเลยที่ 1 เดินผ่านมาจำเลยที่ 2, 3 ยิงจำเลยที่ 1 ราว 4, 5 นัด จำเลยที่ 1 วิ่งหนี จำเลยที่ 2, 3 ยังยิงมาทางจำเลยที่ 1 อีก 4-5 นัด จำเลยที่ 1 จึงยิงโต้ตอบไป 1 นัดแล้ววิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2, 3 จะไล่ยิงต่อไปหรือไม่ และกรณีดังนี้ไม่เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่งเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2, 3, 4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่า ถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2, 3 ยิงจำเลยที่ 1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่พอสมควรแก่เหตุ และความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่น
จำเลยที่ 1 กับที่ 2 เคยมีเรื่องชกต่อยกันวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2,3 กับพวกไปคอยทีอยู่ พอจำเลยที่ 1 เดินผ่านมา จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่ 1 ราว 4,5 นัด จำเลยที่ 1 วิ่งหนีจำเลยที่ 2, 3 ยังยิงมาทางจำเลยที่ 1 อีก 4-5 นัด จำเลยที่ 1จึงยิงโต้ตอบไป 1 นัดแล้ววิ่งหนีไป การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ เพราะไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2,3 จะไล่ยิงต่อไปหรือไม่ และกรณีดังนี้ไม่เป็นการเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้กัน
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 4 เบิกความเป็นพยาน ศาลชั้นต้นไม่ยอมให้ทนายของจำเลยที่ 3 ซักค้าน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233 แต่เมื่อศาลไม่ได้นำคำเบิกความของจำเลยที่ 1 และที่ 4 มาวินิจฉัยให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 3 ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนการรับฟังคำพยานนั้น ๆ ว่าทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องในตอนต้นว่าจำเลยที่ 1 ฝ่ายหนึ่ง จำเลย ที่ 2, 3, 4 และผู้ตายฝ่ายหนึ่ง เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ยิงกัน ในการชุลมุนนี้ผู้ตายถูกกระสุนปืนตาย จำเลยที่ 2 ถูกกระสุนปืนบาดเจ็บ บ. ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัสและตอนท้ายบรรยายว่า จำเลยที่ 1 ยิงจำเลยที่ 2 และผู้ตายโดยเจตนาฆ่าจำเลยที่ 2,3,4 ก็ยิงจำเลยที่ 1 โดยเจตนาฆ่าถือว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องแยกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 294, 299 กับความผิดตามมาตรา 288, 80 ออกจากกันให้เห็นได้ชัด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ได้ความว่า กระสุนปืนที่จำเลยที่ 2,3 ยิงจำเลยที่1 นั้นพลาดไปถูก บ. ได้รับอันตรายสาหัส แต่ฟ้องโจทก์ไม่ได้ระบุมาตรา 60 มาด้วย ศาลก็นำมาตรา 60 มาปรับแก่คดีได้ เพราะมิใช่เป็นบทกำหนดโทษที่จะใช้ลงแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น แม้จะให้การรับสารภาพแล้วเบิกความปฏิเสธ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ร่วมกันก่อเหตุ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับพวกที่หลบหนี ใช้ปืนยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็อ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานว่าไม่ได้กระทำผิด โดยไม่ต้องถอนคำให้การเดิมได้
ผู้ตายเป็นหลานของ ท. ท. กับสามีไปทวงหนี้จากสามีจำเลยเกิดทะเลาะกันจนเกือบต่อสู้กัน ผู้ตายเข้าห้ามและว่าให้ไปพูดกันที่บ้านสามีจำเลย เมื่อไปพูดกันก็ทะเลาะกันอีกผู้ตายเข้าห้ามไว้อีกเมื่อผู้ตายกลับบ้านแล้ว หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จำเลยกับสามีและชายอีกคนหนึ่งมาร้องถามหาผู้ตาย พอผู้ตายออกมา ชายที่มากับจำเลยถามว่าคนไหนคือผู้ตาย จำเลยชี้มือบอก ชายคนนั้นก็ยิงผู้ตาย แล้วจำเลยกับพวกก็วิ่งหนีไปทางเดียวกัน ถือว่าจำเลยร่วมกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2504/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความร่วมมือในการฆ่าผู้อื่น: การชี้ตัวผู้ตายและการกระทำร่วมกับผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยร่วมกับพวกที่หลบหนี ใช้ปืนยิงผู้ตายโดยเจตนาฆ่า แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็อ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยานว่าไม่ได้กระทำผิด โดยไม่ต้องถอนคำให้การเดิมได้
ผู้ตายเป็นหลานของท. ท. กับสามีไปทวงหนี้จากสามีจำเลย เกิดทะเลาะกันจนเกือบต่อสู้กัน ผู้ตายเข้าห้ามและว่าให้ไปพูดกันที่บ้านสามีจำเลย เมื่อไปพูดกันก็ทะเลาะกันอีกผู้ตายเข้าห้ามไว้อีกเมื่อผู้ตายกลับบ้านแล้ว หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง จำเลยกับสามีและชายอีกคนหนึ่งมาร้องถามหาผู้ตาย พอผู้ตายออกมา ชายที่มากับจำเลยถามว่าคนไหนคือผู้ตาย จำเลยชี้มือบอก ชายคนนั้นก็ยิงผู้ตาย แล้วจำเลยกับพวกก็วิ่งหนีไปทางเดียวกัน ถือว่าจำเลยร่วมกระทำผิดฐานฆ่าผู้ตาย
of 3