คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 91

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อไม่สามารถยืนยันได้ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในเช็คพิพาทตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้วไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดได้ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดบันทึกคำท้าของโจทก์จำเลยไว้จะมีข้อความว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยานก็มีความหมายว่าหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามคำท้าแล้วคู่ความจะไม่ติดใจสืบพยานจะถือว่าในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญไม่ลงความเห็นคู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานด้วยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลการตรวจลายมือชื่อไม่ชัดเจน ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติม แม้คู่ความตกลงไม่สืบพยาน
เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในเช็คพิพาทตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว ไม่อาจลงความเห็นยืนยันให้เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดได้ศาลก็ไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้า ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นจดบันทึกคำท้าของโจทก์จำเลยไว้จะมีข้อความว่า คู่ความไม่ติดใจสืบพยาน ก็มีความหมายว่าหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามคำท้าแล้ว คู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน จะถือว่าในกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญไม่ลงความเห็น คู่ความก็ไม่ติดใจสืบพยานด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว ย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเอง สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำ ณ ที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใด ต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน จะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลย ซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์ แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว, การเลิกจ้าง, สิทธิประโยชน์ลูกจ้าง, การละทิ้งหน้าที่
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้วย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเองสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำณที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา71บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใดต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่281ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวมจึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อนจึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกันจะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลยซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมายจ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมายล.1เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1 โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก1วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุด วันลาหากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้องแต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้ โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้างหากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยานจำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับผลการตรวจลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญตามคำท้าของคู่ความ ถือเป็นการผูกพันตามข้อตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การท้าตรวจลายมือชื่อเพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันสัญญา การยอมแพ้ตามคำท้าเมื่อความเห็นผู้เชี่ยวชาญเป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับลายเซ็นซึ่งจำเลยเซ็นต่อหน้าศาลและในใบแต่งทนายไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยโจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าเชื่อว่าลายมือชื่อในเอกสารเหล่านั้นเป็นของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการสมตามคำท้าของโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2518)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงปูโฉนดเป็นข้อแพ้ชนะ ศาลต้องวินิจฉัยตามผลการปูโฉนด หากไม่ชัดเจน วินิจฉัยนอกประเด็นไม่ได้
ในวันชี้สองสถาน โจทก์จำเลยตกลงกันต่างไม่ขอสืบพยานบุคคลโดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินปูโฉนดที่ดินของโจทก์จำเลยและให้ศาลชี้ขาดตัดสินไปตามผลแห่งการปูโฉนดคือถ้าที่ดินพิพาทที่ฝ่ายหนึ่งหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งบุกรุกอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดก็ให้ตกเป็นของฝ่ายนั้น ดังนี้ ข้อตกลงที่คู่ความท้าเป็นข้อแพ้ชนะกันก็คือ ให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการปูโฉนดของทั้งสองฝ่ายและให้ศาลพิพากษาไปตามผลของการปูโฉนด คือที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดของฝ่ายใดก็ให้ตกเป็นของฝ่ายนั้น แต่ตามแผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งให้ศาลนั้นไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใด จึงยังถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการปูโฉนดแล้วดังที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากันศาลจึงยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามข้อท้าของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยถือเอาข้อเท็จจริงอื่นซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อท้าของคู่ความมาวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงปูโฉนดเป็นข้อแพ้ชนะ ศาลต้องวินิจฉัยตามผลการรังวัด หากผลไม่ชัดเจน ศาลไม่อาจวินิจฉัยตามข้อตกลงได้
ในวันชี้สองสถาน โจทก์จำเลยตกลงกันต่างไม่ขอสืบพยานบุคคล โดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินปูโฉนดที่ดินของโจทก์จำเลยและให้ศาลชี้ขาดตัดสินไปตามผลแห่งการปูโฉนดคือถ้าที่ดินพิพาทที่ฝ่ายหนึ่งหาว่าอีกฝ่ายหนึ่งบุกรุกอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใดก็ให้ตกเป็นของฝ่ายนั้น ดังนี้ ข้อตกลงที่คู่ความท้าเป็นข้อแพ้ชนะกันก็คือให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการปูโฉนดของทั้งสองฝ่ายและให้ศาลพิพากษาไปตามผลของการปูโฉนด คือที่ดินพิพาทอยู่ในโฉนดของฝ่ายใดก็ให้ตกเป็นของฝ่ายนั้น แต่ตามแผนที่ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำส่งให้ศาลนั้นไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของฝ่ายใด จึงยังถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการปูโฉนดแล้วดังที่โจทก์จำเลยตกลงท้ากัน ศาลจึงยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามข้อท้าของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยถือเอาข้อเท็จจริงอื่นซึ่งไม่ได้อยู่ในข้อท้าของคู่ความมาวินิจฉัยนั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่คู่ความท้ากัน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดที่พิพาท: ไม่เป็นประนีประนอม & ผูกพันตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วน ให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงให้ศาลชี้ขาดข้อพิพาทที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาด
การที่คู่ความตกลงกันให้ศาลไปตรวจดูที่พิพาท แล้วให้ศาลชี้ขาดตามที่เห็นสมควรโดยคู่ความยินยอมตามที่ศาลชี้ขาดนั้นหาใช่เป็นการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 ไม่ เพราะศาลยังต้องชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีอีกว่าที่พิพาทควรจะเป็นของใครเพียงใด คดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138 แต่เมื่อศาลตรวจดูที่พิพาทแล้ว เห็นว่า ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้ว่าเป็นของฝ่ายใด จึงพิพากษาให้แบ่งที่พิพาทออกเป็นสองส่วนให้โจทก์จำเลยได้ฝ่ายละส่วน โจทก์จะอุทธรณ์ว่าที่พิพาทมีลักษณะเหมือนของโจทก์ ควรให้โจทก์ชนะคดีตามฟ้อง ดังนี้หาได้ไม่ เพราะเท่ากับไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของศาลตามที่ตกลงไว้นั่นเอง เมื่อไม่ปรากฏว่าคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นเป็นไปโดยมิชอบ ศาลสูงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงให้เป็นอย่างอื่น
of 5