พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8623/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: การคำนวณค่าขึ้นศาลอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินให้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ส. เจ้ามรดก คดีของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอ ให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ มีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาททั้งสองแปลง เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้ยกฟ้อง จึงต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (1) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7413/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดหุ้นหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และความรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สิน
ก่อนโจทก์นำยึดหุ้นของจำเลยที่ 1 โจทก์ได้นำยึดที่ดินจำนวน 9 แปลง ของจำเลยทั้งห้าไว้ก่อนแล้ว และปรากฏจากคำแถลงของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โจทก์จะไปยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งโจทก์ต้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่โจทก์ยังคงใช้สิทธิความเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดหุ้นของจำเลยที่ 1 อีก โจทก์มิได้ตรวจสอบมูลค่าหุ้นของจำเลยที่ 1 ให้ดีก่อนทำการยึดว่ามีความจำเป็นและสมควรยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดหรือไม่ จึงนับว่าเป็นความผิดและเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์เอง นอกจากนี้ ผู้แทนโจทก์ยังแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดหุ้นว่า หากเกิดความเสียหายประการใดยินยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และเห็นชอบด้วยกับเจ้าพนักงานบังคับคดีในราคาประเมินหุ้นละ 100 บาท เท่ากับมูลค่าหุ้นที่โจทก์อ้างว่าได้ดูจากที่มีการจดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน ซึ่งสามารถคำนวณเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ดังนี้ โจทก์จะมาอ้างในภายหลังว่าขณะยึดหุ้นมีมูลค่าติดลบ ไม่มีคนซื้อ เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีหาได้ไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดหุ้นของจำเลยที่ 1 เอง และเห็นชอบด้วยกับราคาประเมินมูลค่าหุ้นดังกล่าว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดหรือบกพร่องแต่ประการใด โจทก์จึงต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ประกอบตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966-6967/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงและรับของโจร: ผู้เสียหายต้องเป็นเจ้าของเงินจริงเท่านั้น
จำเลยทั้งสองนำใบถอนเงินซึ่งประทับตราสำคัญของโจทก์ร่วมที่เป็นตราประทับปลอมไปหลอกลวงจนกระทั่งเจ้าหน้าที่ธนาคารหลงเชื่อ เงินที่จำเลยทั้งสองกับพวกได้รับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร มิใช่เงินของโจทก์ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจร เมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารซึ่งเป็นเจ้าของเงินได้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองกับพวก พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจร แม้ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดต่อแผ่นดินซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนโดยไม่มีการร้องทุกข์ก็ตาม แต่โจทก์ร่วมไม่ใช่เจ้าของเงินและไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรเป็นฟ้องที่ขัดกัน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานร่วมกันยักยอก ดังนั้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรและฐานยักยอก เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่ฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่าความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรเป็นฟ้องที่ขัดกัน เป็นฟ้องเคลือบคลุมและจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานร่วมกันยักยอก ดังนั้นเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานฉ้อโกงกับฐานรับของโจรและฐานยักยอก เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ไม่ฎีกา โจทก์ร่วมซึ่งมิใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6799/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ฟ้องคดี การฟ้องร้องขัดแย้งกับคำฟ้องเดิม ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีก่อน โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงกับจำเลย ในราคา 450,000 บาท จำเลยตกลงจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงภายในเดือนมกราคม 2554 จำเลยได้รับเงินครบถ้วนและส่งมอบที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์แล้ว เมื่อครบกำหนด โจทก์แจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย เท่ากับโจทก์ยอมรับว่า เคยมีการซื้อขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงระหว่างโจทก์กับจำเลยจริง และที่ดินพิพาททั้งสองเป็นของจำเลย แต่คดีนี้โจทก์กลับอ้างว่า โจทก์ทำสัญญาขายที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยในราคา 400,000 บาท โดยโจทก์ประสงค์เพียงให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาลวง คำฟ้องคดีนี้จึงขัดกับคำฟ้องก่อน ทั้งเป็นการอ้างข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีก่อน อันแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีนี้เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องของจำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดไว้ 4,346,000 บาท และขายทอดตลาดได้เงิน 5,450,000 บาท ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สุจริต และไม่เป็นธรรมต่อจำเลย แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นการขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ก็ตาม แต่เนื้อหาตามคำร้องของจำเลยเป็นการโต้แย้งว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินไปในราคาต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากความไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งของศาลตามวรรคสองให้เป็นที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5418/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีของบุคคลล้มละลาย: การให้สัตยาบันและการดำเนินการในชั้นบังคับคดี
ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ทราบดีถึงพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างที่จำเลยที่ 2 นำมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้นับแต่เจ้าพนักงานได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 กลับไม่แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบถึงพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามคำร้องนี้ และไม่ไปศาลในวันนัดพิจารณาคดี จนศาลมีคำสั่งว่า จำเลยที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งหลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 กลับดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีมาตลอด โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดหลายครั้ง อันเป็นการดำเนินการขึ้นใหม่อีกด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้ว ประกอบกับตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่มีอำนาจดำเนินการแทนบุคคลล้มละลายเกี่ยวด้วยเรื่องทรัพย์สินรวมตลอดถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลล้มละลาย แม้ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลแพ่งที่ให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดในฐานะเจ้าหนี้มีประกันตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้ของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีของคดีล้มละลาย กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษปรับเกินอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียว ทำให้คำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิจารณาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 กระทงละ 13,500 บาท รวม 4 กระทง คงปรับ 54,000 บาท โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้ เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 มีผลให้ต้องคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 และ อ. ได้คนละส่วนเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งส่วนของ อ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือ โจทก์กับบุตรอีก 4 คน ของ อ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และจำเลยที่ 1 คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1629 (1) และ 1635 (1) ดังนี้ ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ อ. จึงต้องแบ่งให้แก่ บุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ใน 6 จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 7 ใน 12 ส่วน และมีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ทายาทโดยธรรม ของ อ. โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. คนหนึ่งย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเฉพาะส่วนของตนและเรียกทรัพย์มรดกของ อ. ในส่วนของตนได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1300 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท นั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สิน (ป.พ.พ. ม.1336) ไม่ขาดอายุความ แม้มีนิติกรรมสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทเนื้อที่ 113 ตารางวา เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยให้แก่จำเลย และจำเลยก็ทราบเงื่อนไขเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวเป็นอย่างดี จำเลยจึงทำหนังสือรับรองว่าจะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย จำเลยจึงไม่อาจถือเอากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ มิใช่เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 6 หมวด 2 ว่าด้วยอายุความ มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่ได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย และมีคำขอบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริงติดตามและเอาคืนจากจำเลยและผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ หาใช่บังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับรองที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้สิทธิติดตามเอาคืนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 แล้ว ไม่นอกฟ้องนอกประเด็นแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16490/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์ต้องระบุทรัพย์สินที่ถูกยักยอกอย่างชัดเจน หากนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์ของโจทก์ร่วม เช่น อาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของที่ใช้ประกอบอาหาร สุรา บุหรี่ และของใช้ทั่วไป แล้วร่วมกันเอาทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปขาย และเบียดบังยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวของจำเลยทั้งสอง แต่กลับนำสืบว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารไปใช้ที่ร้านอาหารของจำเลยที่ 1 อันเป็นการยักยอกทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ไม่ใช่ยักยอกเงินค่าขายทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง ในสาระสำคัญ ศาลไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสองได้