คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดียักยอกทรัพย์: การกระทำต่างกรรมต่างวาระ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
เงินที่กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกเป็นคดีใหม่นี้ จำเลยรับไว้ต่างวันเวลาและต่างรายการกับเงินที่โจทก์เลยฟ้องจำเลย ในคดีก่อน ทั้งจำเลยทุจริตยักยอกเงินแต่ละรายนั้นเป็นคราว ๆ ไป เป็นการต่างกรรมต่างวาระกัน จึงไม่เป็นฟ้อง ซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้ว บิดามารดาผู้ตายจะฟ้องซ้ำไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 36
ภรรยาผู้ตายได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าฆ่าผู้ตาย โดยเจตนา ศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ต่อมาศาลได้อนุญาตให้ภรรยาผู้ตายถอนฟ้องแล้ว บิดามารดาของผู้ตายจะกลับมาฟ้องขอให้ลงโทษ จำเลยในความผิดฐานเดียวกันหาได้ไม่ เพราะถือว่าได้ถอนคดีอาญาไปจากศาลตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 36.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีแป้งเชื้อสุรา: ห้ามฟ้องซ้ำหากเปรียบเทียบและชำระค่าปรับแล้ว
การมีแป้งเชื้อสุราเป็นผิดตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน 2486 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท ไม่ใช่เป็นผิดตามมาตรา 38 ฉะนั้นเมื่อจำเลยเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบแล้ว จะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยไม่ได้.
(อ้างฎีกาที่ 844/2486)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องทางอาญาของศาลทหารเหนือการลงโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชา
ความในมาตรา 8 แห่ง ป.ม.กฎหมายลักษณะอาญาทหาร มีบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ถ้านายทหารผู้มีอำนาจตั้งศาลทหาร เห็นสมควรให้นำความผิดฟ้องร้องต่อศาลแล้ว ผู้บังคับบัญชาจะสั่งลงโทษทางวินัยไม่ได้ จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของนายทหารผู้มีอำนาจตั้งศาลทหาร
จำเลยเป็นนายสิบเวรของกองร้อย ได้ละทิ้งหน้าที่ไปจนคนร้ายลักปืนกลเบาของกองร้อยไป ผู้บังคับบัญชาของจำเลยได้สั่งลงทัณฑ์ขัง 15 วัน แล้วต่อมาผู้มีอำนาจตั้งศาลทหารได้มีคำสั่งตั้งกรรมการศาลขึ้นพิจารณาพิพากษาการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจสูงกว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ได้สั่งให้ลงทัณฑ์ ดังนี้ ไม่ตัดอำนาจของผู้มีอำนาจตั้งศาลทหาร ที่จะสั่งฟ้องร้องจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยความไว้วางใจ: อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดินเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฎว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319 (2) (3) แห่ง ก.ม. ลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31-32/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปริมาณผ้าและสถานที่เก็บตามประกาศ, การยกเลิกการควบคุมเครื่องอุปโภคไม่ทำให้ความผิดเดิมสิ้นสุด
จำเลยไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บเสื้อผ้าตามประกาศคณะกรมการจังหวัด ต่อมามีประกาศรัฐมนตรีเลิกควบคุมผ้า คงควบคุมผ้าในท้องที่นั้น ก็ไม่ทำให้ผู้นั้นพ้นผิดเพราะคำสั่งไม่ใช่กฏหมายจึงมิใช่มีกฏหมายต่างกัน หรือกฏหมายให้ยกเลิกความผิดจำเลยจึงไม่ได้รับการยกเว้นโทษ.
มี พ.ร.ก.ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมเครื่องอุปโภค แต่ก่อนยกเลิกนั้นมีพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบัญญัติความผิดอย่างเดียวกันออกใช้ ดังนี้ย่อมไม่เป็นการยกเลิกความผิด.