พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลต้องพิจารณาโทษรวมไม่เกิน 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากร
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่งๆ ด้วยก็ตามก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่า ราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวและมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับจึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356-1360/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักขังแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ต้องเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
จำเลย 4 คนถูกลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 27 ปรับร่วมกันเป็นเงิน 66,789.80 บาท ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ศาลจะสั่งกักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีก็ได้ ดังนั้น เมื่อจำเลย 4 คน ก็ต้องแบ่งการกักขังได้คนละ 6 เดือน ตามนัยฎีกาที่ 535/2493 ที่ศาลชั้นต้นให้กักขังคนละ 1 ปี เป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับรวมหรือปรับเรียงรายตัวบุคคล
(1) การที่พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2490 มาตรา 3 บัญญัติว่า 'สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วย' นั้น ก็เพราะมุ่งหมายให้ลงโทษปรับผู้กระทำผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าราคาของรวมทั้งค่าอากรด้วย โดยไม่ต้องให้คำนึงว่าจะมีผู้ร่วมกระทำผิดด้วยหลายคนหรือไม่
(2) โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากรมีความมุ่งหมายดังกล่าวนี้เองจึงต้องถือว่าพระราชบัญญัติศุลกากรนี้ได้บัญญัติถึงวิธีการลงโทษปรับผู้กระทำผิดไว้เป็นอย่างอื่นตามความในมาตรา 17 ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว เพราะฉะนั้นจะนำเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้แก่ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้กล่าวคือ จะปรับเรียงตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2507)
(2) โดยที่พระราชบัญญัติศุลกากรมีความมุ่งหมายดังกล่าวนี้เองจึงต้องถือว่าพระราชบัญญัติศุลกากรนี้ได้บัญญัติถึงวิธีการลงโทษปรับผู้กระทำผิดไว้เป็นอย่างอื่นตามความในมาตรา 17 ประมวลกฎหมายอาญาแล้ว เพราะฉะนั้นจะนำเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้แก่ผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้กล่าวคือ จะปรับเรียงตัวผู้กระทำผิดไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษทางศุลกากร การกำหนดโทษปรับรายตัว การกักขังแทนค่าปรับ และการริบของกลาง
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติความว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนั้น ถ้าจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าของอัตราราคานั้น ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกิน 4 เท่าย่อมขัดบทกฎหมายมาตราดังกล่าว และจะนำ มาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับไม่ได้ เพราะได้มีบัญญัติไว้เป็นพิเศษ โดยพระราชบัญญัติศุลกากรต่างหากแล้ว
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทน ค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้นแต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่
ศาลอุทธรณ์กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่กำหนดวันกักขังแทน ค่าปรับไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30 ควรจะกักขังได้นานกว่านั้นแต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษาแก้ โจทก์ฎีกาขอให้แก้ไข ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับกรณีร่วมกันขนสุราโดยผิดกฎหมาย ต้องลงโทษปรับเรียงรายตัวบุคคลตามปริมาณน้ำสุราที่แต่ละคนเกี่ยวข้อง
โทษปรับตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 38 ทวิ มิได้มีข้อความจำกัด ได้ว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนด้วยกันก็ให้ ปรับรวมกันตามปริมาณน้ำสุราที่ทำการขนพระราชบัญญัติสุรา ฯ มีได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นตามที่ยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 จึงต้องลงโทษปรับผู้กระทำผิดเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 31
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2506)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับจากความผิดตาม พ.ร.บ.สุรา ต้องพิจารณาเป็นรายตัวบุคคล แม้มีผู้กระทำผิดร่วมกัน
โทษปรับตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 38ทวิมิได้มีข้อความจำกัดไว้ว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำผิดหลายคนด้วยกันก็ให้ปรับรวมกันตามปริมาณน้ำสุราที่ทำการขน พระราชบัญญัติสุราฯมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นตามที่ยกเว้นไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 จึงต้องลงโทษปรับผู้กระทำผิดเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักลอบนำเข้าสินค้าหลีกเลี่ยงภาษี จำเลยต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หากพิสูจน์ไม่ได้ถือว่ามีความผิด
ในการฟ้องร้องเกี่ยวด้วยของซึ่งต้องยึดเพราะไม่เสียภาษีหรือเพราะเหตุพึงริบโดยประการอื่นก็ดีหรือยึดเพื่อเอาค่าปรับก็ดีนั้น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 100 บัญญัติให้หน้าที่พิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย ถ้ามีข้อโต้เถียงเกิดขึ้นว่าค่าภาษีสำหรับของนั้นๆ ได้ส่งชำระถูกต้องแล้วหรือหาไม่ หรือว่าของนั้น ๆ ได้นำเข้ามา ๆ ได้ย้ายขนไป ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายหรือหาไม่ ถ้าจำเลยพิสูจน์ความบริสุทธิ์ไม่ได้ จำเลยย่อมมีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลปรับจำเลยแต่ละคนเกินสี่เท่าของราคาของ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ละคนคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับโทษทางศุลกากร: ห้ามปรับเกินสี่เท่าของราคาของรวมอากร แม้จะแบ่งปรับเป็นรายบุคคล
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยกันนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ลำคน คนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายเก่าบังคับคดีอาญา แม้มีกฎหมายใหม่ยกเลิกแล้ว โดยพิจารณาจากหลักกฎหมายอาญา
ขณะกระทำผิด พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2496 ยังใช้บังคับอยู่ แม้ต่อมาชั้นพิจารณาได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อ พ.ศ. 2502 ก็ตาม แต่การฆ่าโคกระบือที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายยังคงถือว่าเป็นความผิดอยู่ และไม่มีคุณแก่ผู้กระทำผิด จึงต้องใช้พระราชบัญญัติอากรการฆ่าสัตว์ที่ใช้ขณะกระทำผิดบังคับแก่คดีตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
ฆ่ากระบือ กฏหมายให้ปรับเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่าได้ไม่เกินตัวละ 500 บาท ฉะนั้น เมื่อศาลปรับเรียงตัวจำเลยจึงปรับได้ไม่เกินคนละ 500 บาท
ฆ่ากระบือ กฏหมายให้ปรับเรียงตัวสัตว์ที่ฆ่าได้ไม่เกินตัวละ 500 บาท ฉะนั้น เมื่อศาลปรับเรียงตัวจำเลยจึงปรับได้ไม่เกินคนละ 500 บาท