คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 56

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์และเรียกคืนทรัพย์สินที่ยกให้ โดยผู้ให้ทรัพย์สินมีส่วนได้เสีย
ตามคำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนหน้าที่ผู้จัดการทรัพย์สินผู้เยาว์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาของผู้เยาว์ และอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมของผู้เยาว์ ในส่วนที่โจทก์ยกทรัพย์สินให้แก่เด็กหญิง ก. ผู้เยาว์ และให้จำเลยทั้งสองส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินดังกล่าวให้โจทก์กับมีคำสั่งห้ามจำเลยทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้ผู้เยาว์ ซึ่งคำขอดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในส่วนที่โจทก์ยกให้จัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์โดยไม่ชอบ กรณีดังกล่าวโจทก์ในฐานะผู้ให้ทรัพย์สินแก่ผู้เยาว์ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนจำเลยที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินในส่วนดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1577 ประกอบมาตรา 56 และหากจำเลยที่ 2 ได้กระทำการโยกย้ายทรัพย์สินของผู้เยาว์จริง โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ส่งมอบบัญชีและทรัพย์สินให้โจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้จึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา
การที่โจทก์ตกลงกับจำเลยให้ชำระหนี้เพื่อลดหนี้ลงและปลดจำนองทรัพย์สินที่จำนองเป็นประกันไว้ไปบางรายการและได้มีการชำระหนี้บางส่วนตามที่ตกลงกันไว้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดบัญชีกันอีกต่อไป สัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่มีการชำระหนี้บางส่วนนั้น หลังจากนั้นโจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 190/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ความยินยอมของภริยาในการฟ้องคดี: หนังสือยินยอมเพียงพอ ไม่ต้องเบิกความ
การให้ความยินยอมหญิงมีสามีฟ้องคดีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องนำสามีผู้ให้ความยินยอมมาเบิกความอีก และสามีโจทก์ก็เป็นทนายความให้โจทก์อยู่แล้ว จึงไม่ทำให้ความสามารถในการดำเนินคดีของโจทก์บกพร่อง.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและการบอกเลิกสัญญา: สิทธิของผู้ให้เช่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ถ้าผู้เช่าผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่ง ผู้ให้เช่ากลับเข้าครอบครองและบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันที ข้อสัญญานี้ใช้บังคับได้ ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด ผู้ให้เช่าเลิกสัญญาได้ ไม่ต้องบอกกล่าวก่อนตาม มาตรา 560
ฟ้องไม่ได้แนบสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่าดังที่กล่าวในฟ้องไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสุจริตในทางอาญาและแพ่งต่างกัน การวินิจฉัยคดีแพ่งต้องพิจารณาความสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่พอฟังว่า จำเลยได้รู้เห็นสมคบในการรับโอนที่ดินโดยทุจริต และจำเลยก็นำสืบได้สมว่า ซื้อไว้โดยสุจริตใจแล้วชี้ขาดว่า หลักฐานไม่พอฟังว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับการทุจริตนั้น ย่อมหมายความแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตอันเป็นผิดในคดีอาญาเท่านั้นจะฟังว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินนั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้
คำว่าสุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญาต่างกับคำว่าสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นในเรื่องได้ทรัพย์มาสำหรับตามกฎหมายลักษณะอาญาหมายความเพียงว่า ไม่รู้สึกตนว่าทำการติดต่อกับผู้ร้าย ส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายความว่า ไม่รู้หรือไม่ควรจะรู้ถึงความบกพร่องแห่งกรรมสิทธิ์ที่มีมาในอดีต
การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเพียงไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสุจจริตในคดีอาญาและคดีแพ่ง: ผลกระทบต่อการโอนทรัพย์สิน
ในคดีอาญาศาลพิพากษาว่าคดีโจทก์ไม่พอฟังว่า จำเลยได้รู้เห็นสมคบในการรับโอนที่ดินโดยทุจจริต และจำเลยก็นำสืบได้สมว่า ซื้อไว้โดยสุจจริตใจ แล้วชี้ขาดว่าหลักฐานไม่พอฟังว่า จำเลยเกี่ยวข้องกับการทุจจริตนั้น ย่อมหมายความแต่เพียงว่า จำเลยมิได้มีเจตนาทุจจริตอันเป็นผิดในคดีอาญาเท่านั้นจะฟังว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินนั้นโดยสุจจริตตามประมวลแพ่งฯ ไม่ได้
คำว่าสุจจริตตามกฎหมายอาญาต่างกับคำว่าสุจจริตตามกฎหมายแพ่ง เช่นในเรื่องได้ทรัพย์มา สำหรับตามกฎหมายอาญาหมายความเพียงว่า ไม่รู้สึกตนว่าทำการติดต่อกับผู้ร้ายส่วนตามกฎหมายแพ่งหมายความว่าไม่รู้หรือไม่ควรจะรู้ถึงความบกพร่องแห่งกรรมสิทธิ์ที่มีมาในอดีต
การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จะต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเพียงไร