พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากเงินได้ระหว่างสมรส แม้แยกกันอยู่ และการจัดการสินสมรสที่เสียหาย
การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่มิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินค่าตอนแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทร่วมกับจำเลย
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสที่เสียหายและการแยกสินสมรสเมื่อสามีจัดการสินสมรสไม่ระมัดระวัง
จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่เมื่อยังมิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์จึงยังมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เงินชดเชย เงินค่าตอบแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ซึ่งเป็นสามีภริยาย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) (5)
จำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินชดเชย เงินโบนัส และเงินได้อื่น ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งเงินค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ชำระหนี้จำนองโดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และสหกรณ์ออมทรัพย์ได้รับเงินค่าหุ้นของจำเลย 186,000 บาท และรับเงินจากการไฟฟ้านครหลวง 300,000 บาท รวมเป็นเงิน 486,000 บาท นำมาชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งเงินจำนวนหลังนี้จำเลยได้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือเลี้ยงดูจากจำเลย คงเหลือเงินสินสมรสอยู่เพียง 1,221,340 บาท ถือได้ว่าเป็นการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรร้องขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 (1) (2) (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสหลังหย่า: สิทธิในการเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียวเมื่อคู่สมรสไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องการตกลงหย่าขาดและแบ่งสินสมรส ศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญาดังกล่าวโจทก์และจำเลยตัองปฏิบัติดังนี้ ข้อ 1 จำเลยต้องขายที่ดินสองแปลงให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แล้วนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายมาชำระให้แก่โจทก์ ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลยข้อ 4 โจทก์จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยยังจำหน่ายที่ดินตามข้อ 1 ไม่ได้ และระยะเวลา 6 เดือนที่กำหนดไว้ผ่านไปแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วน สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย ยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาระหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอกหรืออาจได้รับความเสียหายจากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินสมรส จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสหลังหย่าและการเสนอคำร้องต่อศาลที่ไม่ถูกต้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาล แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า น.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่า ผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว จึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับ น. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484
บทบัญญัติในมาตรา 1475 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย และกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่
มาตรา 1484 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ดังนั้น สามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่ แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับ น.ไปก่อนแล้ว ฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่า ผู้ร้องกับ น.จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอคำร้องจัดการสินสมรสหลังหย่าขาด เป็นคดีมีข้อพิพาท ต้องฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
การที่จะเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขออันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิแต่มีเหตุที่ผู้เสนอคดีจำต้องใช้สิทธิทางศาลแต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่าน.ซึ่งเป็นฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรสไม่ได้จัดการสินสมรสให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงการหย่าผู้ร้องขอยกเลิกบันทึกข้อตกลงการหย่านับแต่วันที่ยื่นคำร้องและมีคำขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวจึงเป็นกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ระหว่างผู้ร้องกับน. อันเป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งจะต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง บทบัญญัติในมาตรา1475แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิคู่สมรสฝ่ายที่ไม่มีชื่อในสินสมรสที่มีเอกสารเป็นสำคัญร้องขอต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีชื่อเป็นเจ้าของในเอกสารนั้นเพื่อให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยและกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหาใช่เป็นกรณีที่กฎหมายให้คู่สมรสดังกล่าวร้องขอต่อศาลไม่ มาตรา1484เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาดังนั้นสามีหรือภริยาจะมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ต่อเมื่อยังคงมีความเป็นสามีภริยากันอยู่แต่ขณะยื่นคำร้องผู้ร้องได้หย่าขาดกันด้วยความสมัครใจกับน. ไปก่อนแล้วฉะนั้นตั้งแต่วันจดทะเบียนหย่าผู้ร้องกับน. จึงไม่มีสิทธิหน้าที่และความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากันอีกผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการไม่คืนสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วม กรณีสามีภริยาแยกกันอยู่
สินสอดที่เป็นทองรูปพรรณหนัก 12 บาท และของหมั้นรวม 5 รายการเป็นสินส่วนตัวของโจทก์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ขอคืนแต่จำเลยไม่ยอมคืนโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่หนี้ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวคืนโจทก์ไม่ใช่หนี้เงิน จึงคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องไม่ได้ต้องคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้อง ส่วนสร้อยคอกับสร้อยข้อมือที่ได้มาในวันแต่งงานนั้น เป็นทรัพย์ที่โจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตั้งแต่ก่อนวันฟ้อง หากมีการใช้ราคา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่คืนสินส่วนตัวและทรัพย์สินร่วม, การคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์
สินสอดที่เป็นทองรูปพรรณหนัก 12 บาท และของหมั้นรวม 5รายการ เป็นสินส่วนตัวของโจทก์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ขอคืนแต่จำเลยไม่ยอมคืน โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ย แต่หนี้ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวคืนโจทก์ไม่ใช่หนี้เงิน จึงคิดดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดถึงวันฟ้องไม่ได้ ต้องคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้อง ส่วนสร้อยคอกับสร้อยข้อมือที่ได้มาในวันแต่งงานนั้น เป็นทรัพย์ที่โจทก์กับจำเลยเป็นเจ้าของร่วมกันตั้งแต่ก่อนวันฟ้อง หากมีการใช้ราคา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในราคาทรัพย์นับแต่วันฟ้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วมในสินสมรสประเภทเงินฝาก การไม่ยินยอมลงชื่อถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายมีสินสมรสเป็นเงินฝากธนาคารจำนวนหนึ่ง จำเลยได้ถอนเงินจากธนาคารจนหมดสิ้น โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ และนำไปฝากไว้ที่ธนาคารอื่นโจทก์ขอให้จำเลยยินยอมให้โจทก์ลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝาก แต่จำเลยไม่ยินยอมเป็นการขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ขอให้ศาลสั่งแยกสินสมรสหรือให้โจทก์ลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากเช่นนี้ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมิใช่กรณีที่โจทก์อาจร้องขอให้ศาลสั่งให้แยกสินสมรสได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484เพราะจำเลยมิใช่ผู้มีอำนาจจัดการสินสมรสฝ่ายเดียวก็ตาม แต่โจทก์ก็ขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในบัญชีเงินฝากเพื่อการเบิกถอนเงินด้วย เงินฝากในธนาคารเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นสินสมรสจำพวกที่มีเอกสารเป็นสำคัญซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1475 ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารนั้นได้ เมื่อจำเลยไม่ยินยอมกรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรสประเภทมีเอกสารสำคัญ: การขอลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผู้เป็นภริยาถอนเงินฝากซึ่งเป็นสินสมรสไปฝากที่ธนาคารอื่นโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นการขัดขวางการจัดการสินสมรสของโจทก์ ขอให้แยกสินสมรสหรือขอให้โจทก์ลงชื่อร่วมในบัญชีเงินฝากนั้น แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะมิใช่กรณีที่โจทก์อาจร้องขอให้ศาลสั่งให้แยกสินสมรสได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 เพราะจำเลยมิใช่เป็นผู้มีอำนาจจัดการสินสมรสฝ่ายเดียวก็ตามแต่โจทก์ก็ขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในบัญชีเงินฝากเพื่อการเบิกถอนเงินด้วยเงินฝากในธนาคารเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นสินสมรสจำพวกที่มีเอกสารเป็นสำคัญซึ่งตามมาตรา 1475 ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นได้ เมื่อจำเลยไม่ยินยอม กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว ชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับฟ้องโจทก์ไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4214/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภรรยาที่ยังไม่ได้หย่าขาด ไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภรรยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาของโจทก์จำเลยในเรื่องทรัพย์สินนั้นก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา และโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากัน จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น กรณีตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอแบ่งเงินค่าขายที่ดินสินสมรสจากจำเลยกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ฟ้องแบ่งได้ ที่โจทก์อ้างว่าโจทก์น่าจะมีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ก็มีอำนาจจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 และไม่อาจจัดการใด ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สินสมรส เพราะไม่มีทรัพย์สินไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่โจทก์ได้สินสมรสมา การกระทำของจำเลยเป็นการถ่วงความเจริญงอกงามที่จะเกิดแก่สินสมรสของโจทก์จำเลยนั้น เป็นการฎีกาอ้างข้อเท็จจริงนอกคำฟ้องของโจทก์เอง เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1484 แต่อย่างใด.