คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1536

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตร: การฟ้องซ้ำและอำนาจของผู้ปกครอง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรต้องมีอำนาจปกครอง การฟ้องซ้ำ และหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย
คดีก่อนโจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลย อ้างว่ามีข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าศาลพิพากษาว่าบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายรับผิดไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีใหม่เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากจำเลยอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1536 ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
มารดาในฐานะส่วนตัว ไม่มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตร จนกว่าจะได้ร้องขอต่อศาลให้ถอนบิดาจากการเป็นผู้ปกครองเสียก่อน โดยขอตั้งมารดาผู้เป็นโจทก์เป็นผู้ปกครองใหม่ แล้วจึงจะใช้สิทธิเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์จากบิดาของบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นเมื่อเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนการเสียชีวิตของผู้มีหน้าที่
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู: การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต้องเกิดขึ้นก่อนการเสียชีวิต
โจทก์เพิ่งจะได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายแก้วผู้ตาย ซึ่งเป็นบิดาตามคำสั่งศาล และคดีถึงที่สุดเมื่อนายแก้วได้ตายไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยฐานละเมิดที่ทำให้นายแก้วบิดาตนถึงแก่ความตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรผู้เยาว์ที่มารดาทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทน คดีบุตรไม่ผูกพันสัญญา
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า มีผลบังคับใช้ได้ แม้ฝ่ายหนึ่งไม่รับบุตรไปเลี้ยง
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลังหย่ามีผลอย่างไร และศาลใดมีอำนาจพิจารณา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน. และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด. สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป.จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร. การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ. หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1536. อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่.
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2ใน 4 คนคืนแก่สามี. หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว. สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง. ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วยสามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม. แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงบข้อพิพาทหย่าร้างและการบังคับชำระหนี้ค่าเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา
สามีภริยาจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำสัญญากันไว้ว่าให้ภริยาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรโดยสามียอมส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตรให้ตามจำนวนที่กำหนด สัญญาดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างสามีภริยาซึ่งมีอยู่และจะมีขึ้นให้เสร็จกันไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
เมื่อสามีผิดสัญญาไม่ส่งเงินค่าเลี้ยงดูบุตร การที่ภริยามาฟ้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรจึงเป็นการฟ้องเรียกร้องให้สามีชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หาใช่เป็นคดีที่กล่าวอ้างถึงสิทธิเกี่ยวแก่บุตรที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 อันอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่
ตามสัญญาระบุว่า เมื่อภริยาสมรสใหม่จะต้องส่งบุตร 2 ใน 4 คนคืนแก่สามี หากภริยาส่งบุตร 2 คนคืนแก่สามีแล้ว สามีจะส่งค่าอุปการะเลี้ยงดูเฉพาะบุตรที่อยู่กับภริยาโดยลดจำนวนเงินลง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าสามีไม่ประสงค์รับบุตรไปอยู่ด้วย สามีก็ต้องส่งค่าเลี้ยงดูบุตรตามเดิม แต่ไม่ต้องส่งค่าเลี้ยงดูภริยาซึ่งสมรสใหม่แล้ว (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกและวรรคสอง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2512)
of 4