คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1536

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าฐานประพฤติชั่วร้าย, สิทธิในการดูแลบุตร, และการพิจารณาความผาสุกของเด็ก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ การที่โจทก์จะฟ้องคดีไม่รับจำเลยที่ 2 เป็นบุตร โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าโจทก์ไม่ได้อยู่ร่วมกับจำเลยที่ 1 มารดาจำเลยที่ 2 ในเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนจำเลยที่ 2 เกิดหรือโจทก์ไม่สามารถเป็นบิดาของจำเลยที่ 2 ได้เพราะเหตุอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2542 แต่โจทก์สืบแต่เพียงว่าไม่ได้ร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา อันเป็นการนำสืบลอย ๆ การนำสืบของโจทก์ยังไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1539 วรรคหนึ่ง ที่ให้สันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของโจทก์
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาเป็นเจ้าของผู้ดูแลและผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและข้อหาขายหรือให้บริการเทปและวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งขณะนั้นโจทก์เป็นปลัดอำเภอในจังหวัดสงขลา จำเลยที่ 1 เป็นภริยาโจทก์ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ แต่จำเลยที่ 1 กลับกระทำความผิดในข้อหาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและเสื่อมเสียศีลธรรมอันดีของประชาชน จนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถือว่าทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง กับได้รับความดูถูกเกลียดชัง นับเป็นเหตุฟ้องหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (2) (ก) (ข)
ปัจจุบันเด็กชาย อ. อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แล้วเด็กชาย อ. ได้มาพักอาศัยอยู่กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกค่าเล่าเรียนทั้งหมดก่อนหน้านี้ก็เคยอยู่กับจำเลยที่ 1 และย่าที่บ้านของย่าที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ยิ่งกว่านั้นตามรายงานแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เยาว์ของพนักงานคุมประพฤติ ระบุว่าเด็กชาย อ. ประสงค์จะอยู่กับจำเลยที่ 1 มากกว่าอยู่กับโจทก์ ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจะไม่ปรากฏว่ามีความประพฤติเสียหายหรือไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่โจทก์เป็นข้าราชการต้องย้ายไปรับราชการในที่ต่าง ๆ ตลอดมา ทั้งเด็กชาย อ. ผู้เยาว์อายุประมาณ 12 ปี ขณะนี้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เมื่อคำนึงถึงความผาสุก ความผูกพันระหว่างมารดากับบุตร การที่ผู้เยาว์อยู่กับจำเลยที่ 1 จะมีผลดีต่อสุขภาพของผู้เยาว์ เห็นควรให้จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย อ. แต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยชอบธรรมของบุตรที่เกิดจากการสมรสที่ตกเป็นโมฆะ และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
แม้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ตายจะตกเป็นโมฆะแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ก็บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเกิดขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1เป็นภริยาของผู้ตาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบหรือมีพยานมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การที่ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง แต่ได้ระบุฐานะของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นเกินคำขอท้ายคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส และอำนาจปกครองบุตร
บทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสันนิษฐานความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการปกครองบุตร
บทบัญญัติมาตรา1536ซึ่งบัญญัติว่าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีหมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิงขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วจึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายในกรณีจดทะเบียนสมรสและมิได้จดทะเบียนสมรส การใช้อำนาจปกครองเด็ก
บทบัญญัติมาตรา 1536 ซึ่งบัญญัติว่า เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามี หมายถึงเด็กที่เกิดจากหญิง ขณะที่เป็นภริยาชายโดยชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีหรือเคยเป็นสามีในกรณีที่เด็กเกิดภายในสามร้อยสิบวันนับแต่การสมรสของชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสได้สิ้นสุดลงตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับรองบุตรพร้อมเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู และผลของการเป็นบุตรโดยคำพิพากษา
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมาดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายได้ด้วยว่าโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)
การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้น ต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1998/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรับรองบุตรและค่าอุปการะเลี้ยงดู: ฟ้องรวมกันได้ & สิทธิเริ่มเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุด
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับรองบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูรวมมาด้วยกันนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน โจทก์ฟ้องรวมมาในคดีเดียวกันได้ ไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรเสียก่อน แล้วจึงมาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในภายหลัง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2085/2499)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์จากจำเลยในฐานะที่โจทก์เป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่ฟ้องในนามของผู้เยาว์หรือในฐานะผู้แทนผู้เยาว์นั้น ไม่เป็นคดีอุทลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยล่อลวงร่วมประเวณีกับโจทก์จนเกิดบุตรด้วยกัน 1 คน เมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีเอกสารของจำเลยแสดงชัดว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(3) ก็ตาม โจทก์ก็ฟ้องได้ เพราะโจทก์ได้บรรยายไว้ด้วยว่าเมื่อโจทก์คลอดบุตรแล้วจำเลยได้แสดงให้รู้ทั่วไปตลอดมาว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของจำเลย ซึ่งเป็นเหตุหนึ่งที่จะฟ้องขอให้รับรองบุตรได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1529(5)
การกำหนดให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรโดยคำพิพากษานั้นต้องเริ่มแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดทางละเมิดจากข่มขืนและการกำหนดค่าเลี้ยงดูบุตร
ชายข่มขืนชำเราหญิงอายุ 15 ปี จนมีครรภ์คลอดบุตรศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของชายตามฟ้องของหญิง ให้ใช้นามสกุลชายให้เด็กอยู่กับหญิงและให้หญิงเป็นผู้ปกครองเด็กให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูจนอายุ 20 ปี ให้ใช้ค่าเสียหายแก่หญิง
ชายต่อสู้ว่าข้อหาละเมิดขาดอายุความ ศาลยกฟ้องโดยเหตุอื่นหญิงอุทธรณ์ฎีกา ชายมิได้อ้างอายุความในคำแก้อุทธรณ์ฎีกา ถือว่าชายไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา
คำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชวิทยาตรวจร่างกายและเลือดของชายหญิงและเด็ก เห็นว่าไม่มีข้อปฏิเสธว่าเด็กไม่ใช่บุตรเกิดจากชายและหญิง มีน้ำหนักดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดและการรับผิดชอบในบุตรจากกรณีข่มขืนกระทำชำเรา และการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์และคลอดบุตรคือเด็กชาย บ. ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายและรับเด็กชาย บ.เป็นบุตรรพร้อมทั้งให้มีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยกับเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรด้วยนั้น แม้บิดาโจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจกท์และศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเพราะบิดาโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้พิพากษาว่าจำเลยมิได้ข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ ย่อมไม่ทำให้หลักฐานของคดีโจทก์ในเรื่องนี้เสียไป
เมื่อฟังได้ว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ตั้งครรภ์ถูกจำเลยข่มขืนกระทำชำเราจนตั้งครรภ์ ทำให้ค่าของความเป็นสาวต้องตกต่ำ และค่าใช้จ่ายในการคลอด กับแสดงว่าเด็กชาย บ. เป็นบุตรของจำเลยมีสิทธิใช้นามสกุลของจำเลยให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย บ.ตั้งแต่คลอดจนถึงวันฟ้องและจ่ายต่อไปเป็นรายเดือนจนกว่าเด็กชาย บ.จะมีอายุครบ 20 ปี
จำเลยให้การต่อสู้ว่า ค่าเสียหายตามฟ้องเกี่ยวกับละเมิดขาดอายุความเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ตั้งประเด็นเรื่องอายุความมาในคำแก้อุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาต่อมา จำเลยก็มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาจึงไม่ประเด็นเครื่องอายุความในชั้นฎีกา
of 4