คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 205

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเภทสัญญา และส่งกลับให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นการชำระเงินและผิดสัญญา
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร
ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ แต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้า และสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลาที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความในเอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่องการเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มีเรื่องการกลับเข้าครองที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอันจะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญตาม ป.พ.พ.มาตรา 574 วรรคแรกดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อขาย
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ และศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาช่าซื้อดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญาหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหาว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยลักษณะสัญญาจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน แม้เอกสารระบุเป็นสัญญาเช่าซื้อ
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลย และโจทก์เบิกความว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากจำเลยตามเอกสารที่ระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายตามที่โจทก์ฟ้องและเบิกความ หรือเป็นสัญญาเช่าซื้อตามข้อความที่ระบุในเอกสาร ข้อความในเอกสารฉบับพิพาทระบุว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อแต่ในแผนผังท้ายเอกสารกลับระบุว่าเป็นที่ดินแบ่งขาย ซึ่งที่ดินที่พิพาทกันตามเอกสารฉบับนี้ก็รวมอยู่ในแผนผังนี้ด้วย เมื่อปรากฏว่าลักษณะของแผนผังดังกล่าวเป็นการนำที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งแยกเป็นแปลงเล็กออกขายให้แก่ลูกค้าและสาระสำคัญของเอกสารฉบับพิพาทคงมีแต่เรื่องจำนวนเงินทั้งหมดที่โจทก์จะต้องชำระแก่จำเลยจำนวนเงินมัดจำ จำนวนเงินที่ต้องชำระเป็นรายเดือนเป็นเวลากี่เดือน เมื่อโจทก์ชำระครบตามจำนวนเงินดังกล่าว จำเลยจะมอบกรรมสิทธิ์โอนที่ดิน ให้แก่โจทก์ ถ้าโจทก์ไม่ผ่อนชำระเงินตามเวลา ที่กำหนดให้ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ไม่มีข้อความใน เอกสารฉบับพิพาทตอนใดที่ระบุว่าจำเลยซึ่งเป็น เจ้าของที่ดินเอาที่ดินออกให้เช่าและไม่มีเรื่อง การเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ รวมทั้งไม่มี เรื่องการกลับเข้าครอบที่ดินของจำเลย และนอกจากการผิดนัดชำระเงินแล้วก็ไม่มีการกระทำอื่นอัน จะถือว่าจำเลยได้กระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็น ส่วนสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก ดังนี้ เอกสารฉบับพิพาทจึง เป็นสัญญาจะซื้อขาย โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรง ต่อศาลฎีกา โดยข้อกฎหมายว่า สัญญาที่โจทก์ทำ กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มิใช่สัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย คดีรับฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน กับจำเลยตามฟ้องแต่เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัย ต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยแล้วตามสัญญา หรือไม่ และจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซึ่งศาลชั้นต้น ยังไม่ได้วินิจฉัย และมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจ วินิจฉัยได้ จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้น วินิจฉัยปัญหาในคดีให้สิ้นกระแสความแล้วพิพากษา ใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อ ศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นที่ว่า สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หรือไม่ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว แม้ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ได้ชำระเงิน ให้แก่จำเลยตามสัญญาแล้วหรือไม่ และจำเลยผิดสัญญา หรือไม่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย ซึ่งมิใช่เป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ในปัญหา ว่าสัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ เช่นนี้เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินนี้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างและผู้รับประกันภัยต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ จำเป็นต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์ลูกจ้างและทางการที่จ้าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มีส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้นข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมี หน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิด ต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอา ประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัย ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียวศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4473/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและนายจ้าง, ผู้รับประกันภัย - การพิสูจน์ความสัมพันธ์และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์มี ส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประภันภัย แต่ตามคำเบิกความของ ส.พยานโจทก์ไม่ได้ความว่าทราบความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตามที่เบิกความมาในทางใด เป็นเพียงแต่เบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานอื่นสนับสนุน แม้แต่ร้อยตำรวจโทจ.พยานโจทก์อีกปากหนึ่งผู้สอบสวนและผู้รับแจ้งเหตุคดีนี้ก็มิได้เบิกความถึงเรื่องนี้เลยดังนั้น ข้อนำสืบของโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้าง และได้กระทำการในทางที่จ้างของจำเลยที่ 2
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา รวมทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่จำเลยที่ 3 มิได้นำสืบพยานก็ตาม แต่โจทก์จะชนะคดีก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่โจทก์นำสืบไม่สมฟ้องจึงไม่อาจชนะคดีได้ จำเลยที่ 2ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานผู้รับประกันภัยย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 3 ฎีกาฝ่ายเดียว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีสิทธิครอบครองที่ดินที่ถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันคู่ความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องและพิสูจน์ถึงสิทธิของโจทก์ในการครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้อีกได้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีถึงที่สุดแล้วเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน การฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องและพิสูจน์ถึงสิทธิของโจทก์ในการครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้อีกได้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฎว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความโจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พยานหลักฐานไม่เพียงพอ ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ แม้จำเลยขาดนัด
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำเข้าสืบมีทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารก็ตาม แต่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายหากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบไม่เพียงพอรับฟังตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งเป็นดุลพินิจในทางรับฟังพยานหลักฐานศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่งปรากฏว่าข้อเท็จจริงในคดีฟังได้เพียงว่า เมื่อวันที่20 มกราคม 2529 ส.เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเขตบางกะปิเป็นผู้ลงรับหนังสือด่วนมากฉบับวันที่ 14 มกราคม 2529แทนจำเลย และอ้างว่าได้มอบหนังสือดังกล่าวให้จำเลยไปเท่านั้นประกอบกับในช่วงเกิดเหตุอยู่ระหว่างโยกย้ายที่ทำการสรรพากรเขตบางกะปิ มีงานยุ่งและเอกสารต่าง ๆ มีจำนวนมากทั้งขณะมีการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งนั้น หนังสือด่วนมากฉบับดังกล่าวยังค้นหาไม่พบ และการที่มิได้เวียนหนังสือดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการต่อไปก็ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำผิดหรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยหรือไม่ พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะรับฟังว่า จำเลยได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพิกเฉยละเลยไม่นำหนังสือและประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสนอต่อเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบตรวจสอบหนี้ภาษีอากรของบริษัท ห. เพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายไม่อาจรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายดังกล่าวได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีภาษีป้าย: การตีความเครื่องหมาย, การนับเงินเพิ่ม, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้นย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAY DEPARTMENT STORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์" และ "ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้าย พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 25 (3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5), 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความลักษณะป้ายโฆษณาและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีป้าย โดยพิจารณาจากข้อกฎหมายและความถูกต้องของการประเมิน
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีป้าย, รูปแบบป้ายโฆษณา, และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
of 13