พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาลและการขาดการเอาใจใส่คดี ทำให้คำร้องขออนาถาไม่ได้รับการพิจารณา
เมื่อมิได้มีการพิจารณาคดีโดยขาดนัด คำร้องของจำเลยทั้งสองมิใช่เป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาล ไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่
คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่ โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7 วันนับแต่วันนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว
การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้น หากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาล ไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่
คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่ โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า หากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7 วันนับแต่วันนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5440/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการคดีอานาถาที่ไม่ถูกต้อง และผลกระทบต่อการรับอุทธรณ์
เมื่อมิได้มีการพิจารณาคดีโดยขาดนัดคำร้องของจำเลยทั้งสองมิใช่เป็นเรื่องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา205วรรคสอง การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยอ้างว่าเสมียนทนายจำเลยทั้งสองจดวันนัดผิดนั้นหากเป็นจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองขาดการเอาใจใส่การพิจารณาคดีของศาลไม่ใช่เหตุที่ยกขึ้นมาอ้างเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ คำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีในชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาอีกโดยขอให้นัดไต่สวนคำร้องใหม่โดยมิได้ดำเนินการสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าตนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา156วรรคหนึ่งจึงมิใช่คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ทั้งกรณีของจำเลยทั้งสองเป็นเรื่องขอดำเนินคดีอนาถาในชั้นอุทธรณ์เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยทั้งสองโดยมิได้มีการสืบพยานจำเลยทั้งสองเลยแม้แต่ปากเดียวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่หาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าหากจำเลยทั้งสองประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปให้จำเลยทั้งสองนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน7วันนับแต่วันนี้เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามคำสั่งดังกล่าวการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินพิรุธ พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้งกันเอง ศาลไม่รับฟังว่ามีการกู้ยืมจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันถึงกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้คืนโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระพร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยที่ 1ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน จำเลยที่ 1มิได้ยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ให้การเพียงว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ปัญหาว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีแพ่งที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะได้ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้หรือไม่ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาท ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องหรือไม่นั้นเมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธหลายประการไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาทและทำสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาใหม่: ศาลอนุญาตให้พิจารณาใหม่ได้หากโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดและมีเหตุผลสมควร
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่ จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) แล้วจำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้ ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนายโจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกันแสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อนโจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสีย ค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6273/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่ โดยมีเหตุผลจากความผิดพลาดเรื่องเวลา
วันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์ไม่ไปศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้เลื่อนไปนัดสืบ-พยานจำเลย ในวันเดียวกันโจทก์ยื่นคำร้องว่าไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้พิจารณาใหม่
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งว่า จำเลยไม่เห็นด้วยกับข้อวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีโจทก์ใหม่ เพราะโจทก์จงใจขาดนัดและต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201 แม้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจะไม่มีผลเป็นอุทธรณ์เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย แต่ก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) แล้ว จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9.00 นาฬิกา แต่โจทก์และทนายโจทก์มาศาลในวันนัดเวลาประมาณ 12.30 นาฬิกา เนื่องจากเสมียนทนาย-โจทก์บอกเวลานัดของศาลแก่ทนายโจทก์ผิดไปเป็นเวลา 13.30 นาฬิกา ทั้งตามคำร้องขอพิจารณาใหม่ โจทก์และทนายโจทก์ได้ลงชื่อในคำร้องที่ยื่นต่อศาลในวันเดียวกัน แสดงว่าโจทก์และทนายโจทก์ไปศาลในวันนัดจริง แต่ไปไม่ตรงตามเวลาเพราะเสมียนทนายบอกเวลานัดพิจารณาคลาดเคลื่อน โจทก์จึงมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาและเมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งจำหน่ายคดี จึงไม่ต้องห้ามที่โจทก์จะขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์กับเจ้าของรวมหรือเป็นของจำเลยเท่านั้น ศาลจึงไม่ต้องรับฟังเอกสารสำเนาภาพถ่ายโฉนดที่ดินของโจทก์กับเจ้าของรวม และหนังสือให้ความยินยอมของเจ้าของรวมให้โจทก์ฟ้องคดี ส่วนแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ทำขึ้นตามคำสั่งศาล มิใช่เอกสารที่โจทก์เป็นฝ่ายอ้าง โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและการอนุญาตให้ยื่นคำให้การ ศาลต้องไต่สวนเหตุสมควร
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์มาศาลตามเวลานัด ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่มาศาลตามเวลาที่กำหนด แต่ทนายของจำเลยทั้งสองมาศาลหลังจากที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว และโจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก แล้วแถลงหมดพยานโจทก์ ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณา ให้รอฟังคำพิพากษา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การโดยอ้างว่าไม่ได้มีเจตนาขาดนัดยื่นคำให้การ พร้อมกับยื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้ทนายของจำเลยทั้งสองมาศาลล่าช้ากว่าเวลานัดไปบ้าง แต่ศาลแรงงานกลางก็ยังไม่มีคำพิพากษา ถือได้ว่าทนายของจำเลยทั้งสองมาศาลขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาฝ่ายเดียว ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะต้องพิจารณาหรือไต่สวนให้ได้ความว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การหรือไม่แล้วจึงมีคำสั่งให้รับหรือไม่รับคำให้การของจำเลยที่ 1 ให้พิจารณาคดีใหม่หรือดำเนินคดีของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวต่อไปโดยอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานเข้าสืบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199, 205 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาล-แรงงานกลางมีคำสั่งว่า คดีเสร็จการพิจารณาแล้ว ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การ และพิจารณาคดีของโจทก์มาแต่ฝ่ายเดียว จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร ทำให้ไม่มีผลผูกพันทางแพ่ง
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่า จำเลยขาดนัดไม่ได้ จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาท ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมและหนังสือสัญญากู้ยืมจะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนดและขีดฆ่าแล้วหากไม่มีการขีดฆ่าแสตมป์ ถือว่าไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ซึ่งห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ผู้กู้จึงไม่ต้องรับผิดและผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีการขีดฆ่าแสตมป์ แม้ปิดแสตมป์ครบถ้วน ก็ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยขาดนัดไม่ได้ ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากรว่า จะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแม้จะปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีการขีดฆ่าแสตมป์ ซึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา118 แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากรว่า จะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแม้จะปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีการขีดฆ่าแสตมป์ ซึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา118 แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีและคำร้องขอพิจารณาใหม่: ศาลมีอำนาจงดการไต่สวนและพิพากษาคดีได้
จำเลยขาดนัดพิจารณา ระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว จำเลยมาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาใหม่อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสอง จำเลยไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนอีก ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยไม่มีพยานให้ไต่สวนให้งดการไต่สวนโดยเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรแล้วพิพากษาไปกรณีเช่นนี้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีก เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม (3)และมาตรา 207(3) ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้น มิใช่มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาใหม่: เงื่อนไขและสิทธิในการอุทธรณ์
จำเลยขาดนัดพิจารณา ระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจำเลยมาศาลและยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาใหม่อ้างว่ามิได้จงใจขาดนัด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคสอง จำเลยไม่มาศาลในวันนัดไต่สวนอีก ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยไม่มีพยานให้ไต่สวนให้งดการ-ไต่สวนโดยเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยจงใจและไม่มีเหตุสมควรแล้วพิพากษาไป กรณีเช่นนี้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้พิจารณาใหม่ได้อีก เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 205 วรรคสาม (3) และมาตรา 207 (3) ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดการไต่สวนดังกล่าวก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นมิใช่มายื่นคำขอให้พิจารณาใหม่