คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 205

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ศาลไม่มีอำนาจสั่งเลื่อน
ในวันนัดพิจารณาคดีล้มละลาย จำเลยมาศาลและยื่นคำร้อง ขอเลื่อนการพิจารณา หลังจากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด พิจารณาและสืบพยานโจทก์เสร็จจนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยเด็ดขาดแล้ว ถือว่าจำเลยขอเลื่อนคดีเมื่อการพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลย่อมไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้เลื่อนการพิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้ตามฟ้องทำให้ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม แม้เรื่องดอกเบี้ย
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่มิได้ขาดนัดพิจารณาเมื่อจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้องเสียแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบแต่อย่างใดอีกเพราะข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ตามฟ้องตามที่จำเลยแถลงรับอยู่แล้ว แม้จะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรือการคิดดอกเบี้ยก็ตาม ศาลย่อมพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องให้โจทก์นำสืบอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายทราบวันนัดแล้ว แต่จำเลยไม่มาศาล ศาลไม่ถือเป็นการขาดนัด และไม่สามารถขอพิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์จนหมดพยานแล้วเลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลย ทนายจำเลยทราบนัดแล้ว ถึงวันนัดฝ่ายจำเลยไม่มีผู้ใดมาศาลศาลชั้นต้นถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและหรือไม่มีพยานมาสืบ จึงพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี กรณีดังกล่าวถือว่าทนายจำเลยเป็นตัวแทนของจำเลย แม้จะฟังว่าทนายจำเลยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยทราบก็ตามแต่เมื่อทนายจำเลยทราบวันนัดตามกฎหมาย ก็ต้องถือว่าจำเลยทราบวันนัดด้วยแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าคดีเสร็จสำนวนโดยถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วได้พิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว จำเลยจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องขาดนัดพิจารณามาใช้เพื่อขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด - การพิจารณาเจตนาการขาดนัดและผลกระทบต่อสิทธิในการให้การ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 บัญญัติให้สิทธิจำเลยที่ขาดนัดพิจารณาสาบานตนเข้าเบิกความเป็นพยาน และถามค้านพยานโจทก์ได้ หากการขาดนัดพิจารณาของจำเลยเป็นไปโดยไม่จงใจ และศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และแม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจก็ตาม ในการไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลจึงต้องวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่ เพื่อสิทธิตามกฎหมายของจำเลย
การที่จำเลยไปศาลแต่ไม่ยอมเข้าไปในห้องพิจารณาเองโดยไม่มีใครห้าม ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5040/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลยทำให้จำเลยทราบวันนัดสืบพยานแล้วถือว่าขาดนัดจงใจ
ทนายจำเลยมาศาลภายหลังที่ศาลได้ทำการชี้สองสถานและกำหนดวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยทนายจำเลยมิได้ ตรวจดูรายงานกระบวนพิจารณาเพียงแต่สอบถามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์จากเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จึงเป็นความ ประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย ต้องถือว่าจำเลยทราบกระบวนพิจารณาและวันนัดสืบพยานโจทก์ของศาลแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183วรรคสอง เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยจึงขาดนัดพิจารณาโดยจงใจ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเกิน 50 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ และปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร จึงจะฟ้องร้องบังคับได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205ข้ออ้างตามฟ้องคดีนี้ของโจทก์คือ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เกินกว่าห้าสิบบาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3442/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ และต้องปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนจึงจะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205ข้ออ้างตามฟ้องคดีนี้ของโจทก์คือ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เกินกว่าห้าสิบบาทซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 โจทก์จะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 เป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องจำเลยที่ 1 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความรับผิดของนายจ้างต่อลูกจ้างในคดีละเมิด โจทก์ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์และขอบเขตการจ้างงาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ซึ่ง รับช่วง สิทธิของ ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ โดย อ้างว่าคนขับรถยนต์ คันหมายเลข ทะเบียน80-1145 เป็นลูกจ้างของจำเลยทั้งสี่ได้ กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยทั้งสี่ เป็นเหตุให้รถยนต์ คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่า คนขับรถคันหมายเลขทะเบียน 80-1145 เป็นลูกจ้างและได้ กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ดัง ฟ้อง แม้จำเลย ที่ 1ถึง ที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา และจำเลย ที่ 4ขาดนัดพิจารณาก็ตาม แต่ โจทก์จะชนะคดีได้ ก็ต่อเมื่อศาล เห็นว่าข้ออ้างของโจทก์เช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อ กฎหมาย เมื่อโจทก์นำสืบไม่สมฟ้อง จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อ โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในละเมิดจากยานพาหนะ จำเลยที่ 2 ต้องครอบครอง/ควบคุมยานพาหนะขณะเกิดเหตุจึงจะร่วมรับผิด
แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ตามฟ้องของตน เมื่อทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์คันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ คดีคงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถยนต์ดังกล่าวชนเสาหินกันโค้งและรางระบาย น้ำคอนกรีตของโจทก์เสียหาย โดยรถยนต์เป็นของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้เช่าซื้อมา ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำด้วย.
of 13