พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ แม้จำเลยขาดนัด
ในคดีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งขาดนัดนั้น คู่ความฝ่ายที่ไม่ขาดนัดจะชนะคดีได้ต่อเมื่อได้นำสืบพยานหลักฐานต่อศาลจนเป็นที่พอใจว่าข้ออ้างของตนมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันโดยอ้างเอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานเอกสารสนับสนุนข้ออ้าง การจะรับฟังพยานเอกสารทั้งสองฉบับได้ โจทก์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 คือต้องปิดแสตมป์บนเอกสารให้บริบูรณ์เสียก่อน มิเช่นนั้นจะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ เมื่อสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้ายต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหากไม่มีการประเมินที่ถูกต้อง
ในกรณีที่เจ้าของป้ายเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้าย มาตรา 14 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บังคับให้เจ้าของป้ายต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความ เมื่อจำเลยแก้ไขข้อความในป้ายแล้วมิได้ยื่นแบบดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องประเมินภาษีป้ายเช่นเดียวกับกรณีปกติและแจ้งการประเมินเป็นหนังสือให้จำเลยทราบตาม พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 17 ประกอบด้วยมาตรา 29 แต่การประเมินในกรณีที่เจ้าของป้ายเดิมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้นอีกในปีเดียวกันนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง มีความชัดเจนในการดำเนินงาน นับแต่ตรวจสอบ คิดคำนวณภาษีและทำการประเมิน แม้จะกระทำเป็นการภายในก็ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอตามลำดับขั้นตอนจนถึงขั้นแจ้งการประเมินให้จำเลยทราบ เพราะหากเจ้าของป้ายเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะขอตรวจดูเอกสารหลักฐานดังกล่าวได้
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมาย แต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มีรายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวไม่ เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป. 3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่าจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 205 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีป้ายตามกฎหมาย แต่ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีป้ายของโจทก์ที่กระทำต่อจำเลยในกรณีที่ตรวจพบว่าจำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมซึ่งจำเลยได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้แล้ว อันจะเป็นเหตุให้จำเลยต้องเสียภาษีป้ายอีกในป้ายเดียวกัน กลับไม่มีรายละเอียดแสดงขั้นตอนนับแต่ บ. ตรวจสอบพบว่าจำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิมว่าเหตุใดจึงตรวจพบไม่มีรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือขออนุมัติไปตรวจสอบและเมื่อตรวจสอบแล้วก็หามีรายงานเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับผลการตรวจสอบดังกล่าวไม่ เป็นการผิดปกติวิสัยของการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ที่นำมาสืบไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ประเมินภาษีป้ายของจำเลยสำหรับกรณีที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะออกหนังสือแจ้งการประเมินอันเป็นการข้ามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ส่งหนังสือแจ้งการประเมิน (ภ.ป. 3) ไปยังจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้มีการประเมินให้จำเลยเสียภาษีป้าย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียภาษีป้าย แม้ว่าจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหาได้ไม่ เพราะขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 205 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 การที่ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาจากพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมานั้นแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ทำการประเมินภาษีป้ายและแจ้งการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีที่จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นจึงชอบแล้ว และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์มิได้ทำการประเมินภาษีป้ายสำหรับกรณีดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระภาษีป้ายส่วนที่จำเลยได้เปลี่ยนแปลง
แก้ไขข้อความในป้ายเดิมนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3425/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจขาดนัดพิจารณาคดี: การสำคัญผิดเวลานัดไม่ใช่การจงใจ
การจงใจขาดนัดจะต้องเป็นเรื่องที่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดได้รู้ถึงวันและเวลานัดที่ถูกต้องแล้วไม่มาศาลตามวันเวลาที่ศาลนัดไว้ การที่ทนายโจทก์จดเวลานัดผิด และได้มาศาลพร้อมกับตัวโจทก์ตามเวลาที่ทนายโจทก์จดบันทึกไว้ในสมุดนัดเป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์สำคัญผิดเวลานัด และไม่รู้เวลานัดที่ถูกต้อง แม้การสำคัญผิดนั้นจะเกิดจากความผิดพลาดของฝ่ายโจทก์เอง ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจขาดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีซ้ำๆ และสิทธิในการสืบพยานหลังขาดนัดพิจารณาในคดีล้มละลาย
จำเลยขอเลื่อนคดีในการนัดสืบพยานจำเลยมา 2 ครั้ง แล้วซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนคดีโดยกำชับให้จำเลยเตรียมพยานให้พร้อมสืบเมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยก็ขอเลื่อนคดีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี จึงชอบแล้ว
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียว แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยทั้งสองเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม(2)(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบตัวจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาลศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
นัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียว แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไป เช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยทั้งสองเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสาม(2)(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควร ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบตัวจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาลศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1232/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดีล้มละลายและการสืบพยานจำเลย ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตเลื่อนคดีหากจำเลยไม่เตรียมพยาน
คดีล้มละลาย ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก จำเลยไม่มาศาลศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์นำพยานเข้าสืบในวันนัดแรกเพียงปากเดียวแล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไปการสืบพยานโจทก์จึงยังไม่เสร็จบริบูรณ์ ในนัดต่อมาทนายจำเลยมาศาลและได้ถามค้านพยานโจทก์ที่มาเบิกความ เมื่อโจทก์สืบพยานเสร็จทนายจำเลยขอสืบพยานตัวจำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและนัดสืบพยานจำเลยต่อไปเช่นนี้ จำเลยนำพยานคือตัวจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะจำเลยมาศาลเมื่อยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ขาดนัดพิจารณาหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบภายหลังที่ตนมาศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคสาม (2) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานเมื่อจำเลยขอเลื่อนคดีและศาลชั้นต้นเห็นว่าการขอเลื่อนคดีไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลชั้นต้นก็ต้องสั่งให้สืบพยานจำเลยในวันนั้น เพราะตัวจำเลยซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานจำเลยได้มาศาล ศาลชั้นต้นจะถือว่าจำเลยไม่ได้เตรียมพยานมาพร้อมสืบตามที่ศาลชั้นต้นกำชับไว้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การข้ามขั้นตอนหลังขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อาจรับคำร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณา เมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องข้ามขั้นตอนในคดีแพ่ง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 199แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณาเมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงการกระทำละเมิดต่อทรัพย์สิน จำเลยต้องมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ชัดเจน
โจทก์ซื้อบ้านและต้นกาแฟพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของศาล ส่วนที่ดินที่ปลูกบ้านและต้นกาแฟดังกล่าวทางราชการ ออกเอกสาร สปก.4-01 เป็นชื่อของ จ. สามีนอกสมรสของจำเลยหลังจากโจทก์ซื้อบ้านและต้นกาแฟจากการขายทอดตลาดแล้ว โจทก์นำคนงานไปเก็บผลกาแฟ จำเลยและ จ. ใช้มีดพร้าไล่ฟันคนงานของโจทก์หลายครั้งแต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยและบริวารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับต้นกาแฟของโจทก์อย่างไร เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีเพียงเท่านี้ จึงยังฟังไม่ได้ว่า จำเลยตัดต้นกาแฟและลักลอบเก็บผลกาแฟของโจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การโจทก์ก็ต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ตามฟ้อง เพราะศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะ ต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณกำไรสุทธิ และการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลา บัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ของกรมสรรพากรโจทก์ ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถ คำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ในรอบระยะเวลาบัญชี ปีพิพาท จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด.51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานได้ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตาม มาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากร คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท ดังนั้น เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท มาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่ง ของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาท เมื่อคูณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระ สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคำนวณ ภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวน เงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ส่วนเบี้ยปรับที่เจ้าพนักงานประเมิน เนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มใน อัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็น กรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากรอีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการ ประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ แก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายโดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณเงินเพิ่มจากประมาณการกำไรสุทธิ กรณีผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสารตรวจสอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ทำให้จำเลยต้อง เสียภาษีเงินได้โดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาทเมื่อนำภาษีจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ16,662,230.07 บาท เมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว คิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,997,669.05 บาท อันถือได้ว่า เป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วเมื่อจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลา หกเดือนระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณี ที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ อีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึง ไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่ง ประมวลรัษฎากร อีกต้องเพิกถอนการประเมินในส่วนของเบี้ยปรับนี้เสีย แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาล จะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยาน ตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้าง โดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้