คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 302

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบตามเงื่อนไข เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่แจ้งผู้สู้ราคา
ศาลซึ่งได้รับมอบหมายจากศาลซึ่งพิจารณาพิพากษาคดี ให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์และขายทอดตลาดแทนนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบ และความไม่ถูกต้องของการบังคับคดีปรากฏขึ้นต่อศาลโดยชัดแจ้งศาลซึ่งดำเนินการบังคับคดีแทนนั้นย่อมมีอำนาจสั่งไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นเสียได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302 ไม่
เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งเงื่อนไขให้ผู้เข้าสู้ราคาทุกคนทราบก่อนขายทอดตลาดทรัพย์ว่า. ในการสู้ราคาจะนับหนึ่งถึงสามก่อนเคาะไม้ตกลงขาย เมื่อมีผู้เสนอราคาเจ้าพนักงานบังคับคดีกลับเคาะไม้ตกลงขายไปทีเดียว โดยไม่นับหนึ่งถึงสามเสียก่อน เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข การขายทอดตลาดนั้นจึงไม่ชอบ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ตกลงขายให้แก่ผู้สู้ราคาสูงสุด ก็หาเป็นเหตุให้การขายทอดตลาดนั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลยกฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีใดว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดเพียงใด ย่อมเป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องดำเนินการในคดีนั้นเพื่อขอคำวินิจฉัยจากศาล แม้คดีนั้นจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่ในชั้นบังคับคดี เมื่อมีเหตุอันควรสงสัย คู่ความก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลอธิบายคำพิพากษาได้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนเกี่ยวกับหนี้จำนองซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับชำระหนี้รายเดียวกันนั้นอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำเพราะเป็นคู่ความเดียวกัน และศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นอื่น และสละประเด็นข้อฟ้องซ้ำเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยังมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีบังคับคดี: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยแม้มีข้อตกลงสละประเด็น และคู่ความมีสิทธิขออธิบายคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีใดว่าลูกหนี้จะต้องรับผิดเพียงใด ย่อมเป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องดำเนินการในคดีนั้นเพื่อขอคำวินิจฉัยจากศาล แม้ คดีนั้นจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว แต่ในชั้นบังคับคดี เมื่อมีเหตุอันควรสงสัย คู่ความก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลอธิบายคำพิพากษาได้
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนเกี่ยวกับหนี้จำนองซึ่งศาลพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยรับชำระหนี้รายเดียวกันนั้นอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำเพราะเป็นคู่ความเดียวกัน และศาลต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นอื่น และสละประเด็นข้อฟ้องซ้ำเมื่อศาลเห็นสมควรก็ยังมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ต้องดำเนินการในคดีเดิม ไม่ฟ้องใหม่
การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นการกระทำโดยมิชอบนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีของศาลแพ่งแดงที่ 1696/2512ระหว่าง ป. โจทก์ ว. จำเลย ซึ่งทำยอมความกันไว้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2512 ซึ่งข้อ 5 มีความว่า โจทก์จำเลยตกลงให้มีกรรมการตรวจงาน 3 นาย ให้กรรมการทั้ง 3 นาย มีอำนาจชี้ขาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จตามข้อตกลงหรือไม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2512 กรรมการตรวจงานทั้งสามคนได้ไปตรวจงานก่อสร้างทุกรายการตามสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าโจทก์จำเลยในคดีนั้นแล้ว เห็นว่าผลงานก่อสร้างทุกรายการตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสร็จเรียบร้อยใช้การได้ และฝีมือช่างที่ก่อสร้างอยู่ในขั้นปราณีตใช้การได้ดี ปรากฏเช่นนี้ โจทก์มาบรรยายฟ้องคดีนี้ว่า การตรวจงานของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4(หมายถึงคณะกรรมการตรวจงานในคดีแรก) ไม่ได้กระทำการโดยสุจริตฯลฯ กรณีดังที่กล่าวมาเห็นได้ชัดแจ้งว่า ข้อโต้แย้งของโจทก์ในคดีนี้เป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1696/2512 โจทก์ชอบที่จะต้องขอให้ดำเนินกระบวนการพิจารณาให้รู้ว่าคณะกรรมการผู้ตรวจงานทำถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ในคดีเดิม ไม่ชอบที่จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องดำเนินการในสำนวนคดีเดิม
การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องเป็นการกระทำโดยมิชอบนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีของศาลแพ่งแดงที่ 1696/2512 ระหว่าง ป. โจทก์ ว. จำเลย ซึ่งทำยอมความกันไว้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2512 ซึ่งข้อ 5 มีความว่า โจทก์จำเลยตกลงให้มีกรรมการตรวจงาน 3 นาย ให้กรรมการทั้ง 3 นาย มีอำนาจชี้ขาดว่าการก่อสร้างแล้วเสร็จตามข้อตกลงหรือไม่ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2512 กรรมการตรวจงานทั้งสามคนได้ไปตรวจงานก่อสร้างทุกรายการตามสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าโจทก์ จำเลยในคดีนั้นแล้ว เห็นว่าผลงานก่อสร้างทุกรายการตามสัญญาประนีประนอมยอมความเสร็จเรียบร้อยใช้การได้ และฝีมือช่างที่ก่อสร้างอยู่ในขั้นประณีตใช้การได้ดี ปรากฏเช่นนี้ โจทก์มาบรรยายฟ้องคดีนี้ว่า การตรวจงานของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 (หมายถึงคณะกรรมการตรวจงานในคดีแรก) ไม่ได้กระทำการโดยสุจริต ฯลฯ กรณีดังที่กล่าวมาเห็นได้ชัดแจ้งว่า ข้อโต้แย้งของโจทก์ในคดีนี้เป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1696/2512 โจทก์ชอบที่จะต้องขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้รู้ว่าคณะกรรมการผู้ตรวจงานทำถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ในคดีเดิม ไม่ชอบที่จะมาฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตพิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องผูกพันตามคำพิพากษา ศาลมิอาจแก้ไขขอบเขตใหม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่. โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน. มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน. สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง. บางคนไม่ปฏิเสธ. แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง. ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง.
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้. เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง. ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง. คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. ไม่มีผลใช้บังคับ. แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน.ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้. กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้องมีผลบังคับใช้ การแก้ไขคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดค้านสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดจากความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลบังคับใช้ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้านก็ยังมีสิทธิขอห้ศาลบังคับจำเลยตามแผ่นที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1489-1490/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามแผนที่ในคำพิพากษา ศาลชั้นต้นแก้ไขเขตที่พิพาทไม่ได้ ขัดมาตรา 143
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้ายึดถือที่ดินตามแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง อันเป็นทางสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในเขตสุขาภิบาลโจทก์ ขอให้ขับไล่ โจทก์ได้คัดสำเนาประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งสุขาภิบาลพร้อมทั้งภาพถ่ายแสดงเขตสุขาภิบาลตามประกาศให้เห็นเส้นและหลักเขตสุขาภิบาลอย่างชัดเจน มีมาตราส่วนที่สามารถวัดตรวจสอบได้อย่างละเอียด กับมีแผนที่วิวาทแสดงเขตที่จำเลยบุกรุกซึ่งวัดได้แน่นอน สามารถเข้าใจได้ว่าที่พิพาทอยู่ตรงไหน จำเลยบางคนให้การปฏิเสธว่าแผนที่แสดงที่พิพาทผิดความจริง บางคนไม่ปฏิเสธ แต่ในชั้นพิจารณา ไม่มีจำเลยคนใดนำสืบถึงความไม่ถูกต้องของแผนที่วิวาทท้ายฟ้อง ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยออกจากทางพิพาท ย่อมหมายถึงที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง
ในชั้นบังคับคดี จำเลยอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติตามคำบังคับได้ เพราะการดำเนินคดีมิได้ทำแผนที่กลาง ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์จำเลยชี้เขต แล้วมีคำสั่งกำหนดเขตที่พิพาทขึ้นใหม่ต่างไปจากที่พิพาทตามแผนที่ท้ายฟ้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ไม่มีผลใช้บังคับ แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์คัดค้าน ก็ยังมีสิทธิขอให้ศาลบังคับจำเลยตามแผนที่ท้ายฟ้องเพื่อให้ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาได้ กรณีมิใช่เป็นเรื่องแก้ไขคำสั่งเดิมที่ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลฎีกา: ค่าธรรมเนียม/ค่าทนาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาเฉพาะสิ่งที่ถูกอุทธรณ์/ฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าธรรมเนียมค่าทนายแทนจำเลย. ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี. จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. และให้โจทก์เสียค่าทนายในชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีการวมสามพันบาทแทนจำเลย. ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวแล้ว แปลไม่ได้ว่า.ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าธรรมเนียมชั้นศาลฎีกาแทนจำเลยด้วย แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายแพ้คดี. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาศาลฎีกา: ค่าธรรมเนียม/ค่าทนายในชั้นฎีกาแยกจากคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและให้โจทก์ใช้ค่าธรรมเนียมค่าทนายแทนจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้โจทก์เสียค่าทนายในชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีการวมสามพันบาทแทนจำเลย ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวแล้ว แปลไม่ได้ว่า.ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าธรรมเนียมชั้นศาลฎีกาแทนจำเลยด้วย แม้โจทก์จะเป็นฝ่ายแพ้คดี
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2511)
of 10