คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 ม. 41

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถอ้างระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อขัดขวางการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้
กฎกระทรวงต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะมีผลบังคับได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาขัดขวางการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้
กฎกระทรวงต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงจะมีผลบังคับได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 มาตรา 41 ฉะนั้นจะอ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ.2486 อันไม่ปรากฏว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายมาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดินตามกฎหมายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1428/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานที่ดินต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถอ้างระเบียบที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาขัดขวางการจดทะเบียนสิทธิในที่ดินได้
กฎกระทรวงต้องไม่ขัดต่อ ก.ม. จึงจะมีผลบังคับได้
เจ้าพนักงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 ม.41 ฉนั้น อ้างระเบียบกระทรวงมหาดไทยซึ่งวางระเบียบไว้ว่าถ้าผู้ซื้อที่ดินเป็นบุตรของคนต่างด้าว แม้จะมีสัญชาติเป็นไทยก็ให้มีการสอบสวนเพื่อควบคุมให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ที่ดินเกี่ยวกับคนต่างด้าว พ.ศ. 2486 อันไม่ปรากฎว่าได้ออกมาโดยอาศัยอำนาจตาม ก.ม.มาหน่วงเหนี่ยวขัดขวางผู้ร้องขอที่มีสัญชาติไทยบิดาเป็นคนต่างด้าวมิให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิในที่ดิน ตาม ก.ม. ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, และการเพิกถอนการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้วต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอน ดังนี้ ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฏว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องให้บังคับตาม มาตรา 213
ตามมาตรา 1336 และรัฐธรรมนูญนั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีอำนาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอนตามความพอใจของตนนอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน มาตรา 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตนแล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2-3 ดังนี้ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม มาตรา 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม มาตรา 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตาม มาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่งผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่นศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเพิกถอนการโอน และค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันไว้แล้ว ต่อมาตกลงกันให้ผู้อื่นเป็นผู้ซื้อดังนี้ถือว่าเลิกสัญญาเดิม และเกิดสัญญาขึ้นใหม่ตามที่ตกลงกันนั้น
ปรากฎว่าเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำการโอนที่ดินให้ อีกฝ่ายหนึ่งยังร้องเรียนต่อไปเพื่อทำการโอนดังนี้ยังไม่ถือว่าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นตาม มาตรา 219
ในเรื่องฟ้องขอให้บังคับผู้ขายทำการโอนที่ดินและปรากฎว่าผู้ขายโอนให้แก่ผู้อื่นแล้วนั้น ถ้าหากว่าเพิกถอนการโอนนั้นได้ ก็ถือว่าสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้บังคับตามมาตรา 213 ถ้าเพิกถอนไม่ได้สภาพแห่งหนี้ก็ไม่เปิดช่องในบังคับตามาตรา 213
ตาม ม. 1336 และรัฐธรรมนูญ นั้น เจ้าของย่อมมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินของตน เว้นแต่จะมีกฎหมายห้าม
เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจที่จะไม่ยอมทำการโอนที่ดินตามสัญญาซื้อขายในเมื่อเขาร้องขอทำการโอน ตามความพอใจของตน นอกจากเป็นการไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน ม. 41(ข)
ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินไว้กับตน แล้วเอาไปโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 - 3 ดังนี้ ไม่ถือว่า เป็นการฟ้องว่าจำเลยโอนกันโดยการฉ้อฉล เป็นเหตุให้โจทก์เสียเปรียบตาม ม. 237
ผู้ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนตาม ม. 1300 จะต้องแสดงว่าตนอยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนสิทธิได้ตามมาตรานี้ เพียงแต่ได้ความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อขายและวางมัดจำไว้ ไม่เรียกว่าอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ตกมาตรา 1300
เอาที่ดินซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายให้คนหนึ่งไปโอนให้อีกคนหนึ่ง ผู้โอนย่อมได้ชื่อว่าผิดสัญญาต่อผู้ซื้อคนแรก ซึ่งจะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายฐานผิดสัญญา
รับโอนที่ดินซึ่งผู้ขายทำสัญญาจะขายกับเขาไว้แล้ว แล้วผิดสัญญากับเขามาโอนให้แก่ตน ถ้าหากผู้ซื้อคนแรกฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนไม่ได้แล้ว ผู้ซื้อคนหลังไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของผู้ซื้อคนแรก
ทำสัญญาขายที่ดินกับเขาไว้แล้วผิดสัญญาไปโอนขายให้ผู้อื่น ศาลบังคับให้ผู้ขายใช้ค่าเสียหายได้เท่าจำนวนเงินที่ไปขายได้เงินสูงขึ้น