คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยเจริญ สันติศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการพิสูจน์สัญชาติ: ผู้ที่อ้างว่าเป็นคนไทยมีสิทธิร้องขอพิสูจน์สัญชาติได้ แม้ไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2493 มาตรา 43 นั้น ผู้ใดเข้ามาในราชอาณาจักรอ้างตนว่าเป็นคนไทย ผู้นั้นย่อมร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิ หรือหน้าที่ของผู้นั้นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของคณะปฏิวัติหลังยึดอำนาจ: ประกาศคณะปฏิวัติมีผลเป็นกฎหมาย
คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้น ประกาศของคณะปฏิวัติซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของหัวหน้าคณะปฏิวัติหลังยึดอำนาจ: ประกาศคณะปฏิวัติมีผลเป็นกฎหมาย
คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ฉะนั้น ประกาศของคณะปฏิวัติซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองในลักษณะเช่นนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยกอ้างสิทธิพิเศษตามกฎหมายควบคุมค่าเช่าในคำให้การ ทำให้จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้คดีโจทก์หลายประการ ในตอนหนึ่งจำเลยให้การว่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกเป็นที่อยู่อาศัย ไม่ได้เช่าเพื่อปลูกเป็นร้านค้าเพราะทำเลที่ดินไม่ใช่ ที่จะทำการค้าได้ ดังนี้ ถือว่าจำเลยไม่ได้อ้างสิทธิพิเศษที่จำเลยจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ไว้ในคำให้การ
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการจัดการมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ถูกปิดบัง ไม่ใช่การจัดการมรดกโดยรวม
โจทก์ฟ้องพี่ชายต่างมารดาซึ่งร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ว่าปิดบังทรัพย์มรดกบางรายการ โจทก์เคยบอกให้นำมาแบ่งก็เพิกเฉย ขอให้บังคับให้ชำระเงินส่วนแบ่งของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจัดการแบ่งมรดกรายนี้มารดาโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยและนางสาวพรรณี ได้ทำสัญญาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนได้รับเรียบร้อยไปแล้วจนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องร้องได้แล้ว ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่าจำเลยอ้างอายุความที่เกี่ยวแก่การจัดการมรดก ซึ่งห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกมรดกที่จำเลยปิดบังไว้ ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดก ทั้งปรากฎว่าเมื่อปี พ.ศ. 2499 (นับถึงวันฟ้องไม่เกิน 5 ปี) ก็ยังมีการแบ่งมรดกกันอีก คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 และคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ยกอายุความซึ่งเกี่ยวด้วยการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้โดยตรงแต่อย่างเดียว มิได้ยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าขาดอายุความตามมาตรา 1754 หรือไม่ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว
แม้ไม่ได้อ้างบทมาตรามาด้วย ก็เป็นหน้าที่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าจะยกกฎหมายใดมาปรับคดีและมีอายุความเท่าใดนั้น หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ถูกปิดบังไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดก จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องพี่ชายต่างมารดาซึ่งร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ว่าปิดบังทรัพย์มรดกบางรายการ โจทก์เคยบอกให้นำมาแบ่งก็เพิกเฉย ขอให้บังคับให้ชำระเงินส่วนแบ่งของโจทก์ จำเลยให้การว่า การจัดการแบ่งมรดกรายนี้มารดาโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับจำเลยและนางสาวพรรณีได้ทำสัญญาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนได้รับเรียบร้อยไปแล้วจนบัดนี้เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องร้องได้แล้ว ดังนี้ ย่อมเห็นได้ว่า จำเลยอ้างอายุความที่เกี่ยวแก่การจัดการมรดกซึ่งห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่า 5 ปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกมรดกที่จำเลยปิดบังไว้ ไม่เกี่ยวกับการจัดการมรดก ทั้งปรากฏว่าเมื่อปี พ.ศ.2499(นับถึงวันฟ้องไม่เกิน5 ปี) ก็ยังมีการแบ่งมรดกกันอีก คดีจึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 และคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยมีความประสงค์ยกอายุความซึ่งเกี่ยวด้วยการจัดการมรดกขึ้นต่อสู้โดยตรงแต่อย่างเดียว มิได้ยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าขาดอายุความตามมาตรา 1754 หรือไม่ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว แม้ไม่ได้อ้างบทมาตรามาด้วย ก็เป็นหน้าที่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าจะยกกฎหมายใดมาปรับคดีและมีอายุความเท่าใดนั้น หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือค้าเป็นหลัก กำหนดสิทธิคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
การที่จะถือว่าการเช่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน ฯ หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าเช่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือไม่เป็นหลัก ถ้าเช่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแม้จะใช้เป็นที่ประกอบธุรกิจการค้า ฯ ด้วย ก็ย่อมได้รับความคุ้มครอง แต่ถ้าไม่ใช่เช่าเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย แต่เพื่อประกอบธุรกิจการค้า ฯ แม้จะอยู่อาศัยด้วยก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การที่จะวินิจฉัยว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการค้านั้น จะต้องคำนึงถึงความเป็นจริงแห่งการเช่าเป็นสำคัญ จะเพ่งเล็งเฉพาะข้อความในสัญญาเป็นประมาณไม่ได้ เช่าที่ดินเนื้อที่เพียง 104 ตารางวา ปลูกบ้านไว้ถึง 8 หลัง ใช้อยู่อาศัยส่วนตัวเพียงหลังเดียว นอกนั้นปลูกให้คนอื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์จากค่าเช่า แม้สัญญาเช่าจะระบุว่าเช่าเพื่อปลูกบ้านอาศัยก็ตาม การใช้ที่เช่าก็ผิดจากจุดประสงค์ของการเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว แม้จะมีบ้านที่ใช้อยู่อาศัยเองหลังหนึ่ง ก็ยังต้องถือว่าเช่าที่รายนี้เพื่อการค้า
การที่ผู้ให้เช่าที่ดินให้ความยินยอมในการที่ผู้เช่าเอาบ้านให้เช่านั้น หามีผลให้การเช่าเพื่อการค้าเปลี่ยนไปเป็นการเช่าเพื่ออยู่อาศัยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการเดินรถรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุ แม้รถเป็นของผู้อื่น แต่เข้าข่ายควบคุมและรับส่งผู้โดยสาร
ผู้ประกอบธุระกิจเดินรถโดยสารรับรถของผู้อื่นเข้ามาเดินในทาง โดยได้รับแบ่งผลประโยชน์ รถที่เดินมีชื่อของตน รวมทั้งจัดบริการและขายตั๋วให้ด้วยนั้น ถือว่าเป็นรถอยู่ในความควบคุมและรับส่งคนโดยสารในปกติธุระของผู้นั้นโดยตรงตามกฎหมายลักษณะรับขน ฉะนั้น เมื่อคนขับรถประมาททำให้ผู้โดยสารตาย ตนจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำสัญญาเช่าเพื่อค้าขาย แม้จะมีการอยู่อาศัยควบคู่ ก็ไม่ถือเป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
จำเลยเช่าห้องโจทก์ซึ่งเป็นตึกแถวสองชั้น ตามสัญญาระบุว่าเช่าเพื่อค้าขายห้องพิพาทตั้งอยู่ในทำเลการค้าและจำเลยก็ได้เปิดร้านซักรีดเป็นอาชีพอย่างเดียวถึง 2 ปี เพิ่งจะมาเลิกร้านค้าเมื่อหมดอายุการเช่าเท่านั้น เช่นนี้ ห้องพิพาทนั้นก็ยังหาเป็นเคหะไม่ และย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษาพินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด และข้อตกลงสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก.จำเลยกับ ฮ.บุตรของเจ้ามรดกตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก.จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ฮ. ฮ.ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก.ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ. ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญาหามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หาต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ ตามมาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น
of 56