พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พิพากษาพินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด และข้อตกลงสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก.จำเลยกับ ฮ.บุตรของเจ้ามรดกตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก.จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ฮ. ฮ.ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก.ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ. ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญาหามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หาต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ ตามมาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น
ก.จำเลยกับ ฮ.บุตรของเจ้ามรดกตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก.จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ฮ. ฮ.ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก.ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ. ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญาหามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หาต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ ตามมาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมแพ้คดีจากการท้าสาบานและน้ำหนักพยานหลักฐานจากรายงานเจ้าหน้าที่ศาล
คู่ความตกลงท้ากัน ถ้าจำเลยสาบานว่าได้ชำระเงินให้โจทก์แล้วโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดี ถ้าจำเลยไม่ยอมสาบาน จำเลยยอมแพ้ ศาลจึงให้จ่าศาลไปเป็นพยานในพิธี สาบาน โดยที่จ่าศาลเป็นพนักงานของศาล เมื่อไม่ปรากฏเป็นอย่างอื่น รายงานและคำแถลงของจ่าศาลจึงเชื่อถือได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ยอมสาบานจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่ครอบคลุมหนี้ตามสัญญาจำนอง แม้สัญญาจำนองจะไม่ได้ระบุภาระการชำระหนี้เพิ่มเติม
ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันการจำนองว่า ถ้าผู้จำนองผิดสัญญาไม่ชำระเงินต้นตามสัญญาผู้ค้ำประกันยอมให้ผู้รับจำนองฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญาจำนองของผู้จำนอง โดยผู้ค้ำประกันยอมใช้เงินตามสัญญาจำนองและค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ตามสัญญาจำนองจะไม่มีกล่าวไว้ว่า ถ้าบังคับจำนองแล้วยังขาดเงินอยู่เท่าใด ผู้จำนองต้องใช้อีกจนครบก็ดี ในเมื่อมีการบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ของผู้รับจำนอง ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อผู้รับจำนองในจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาค้ำประกันนั่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำนอง: กรณีจำนองบังคับแล้วยังขาดเงิน
สัญญาจำนอง ซึ่งมีผู้ค้ำประกันอีกต่างหากว่า ถ้าผู้จำนองผิดสัญญาไม่ชำระต้นเงินตามสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมให้ผู้รับจำนองฟ้องเรียกเงินตามสัญญาจำนอง โดยผู้ค้ำประกันยอมใช้เงินตามสัญญาจำนองและค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้นดังนี้ ย่อมหมายความว่า ถ้าบังคับจำนองแล้วยังขาดเงินอยู่เท่าใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้จนครบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้เช็คไม่มีผลผูกพันทางอาญา ผู้รับเช็คไม่มีสิทธิเรียกร้องเงิน
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ร่วมได้เรียกร้องเอาดอกเบี้ยจำนองเกินจากที่กำหนดในสัญญา เรียกเอาประโยชน์เพิ่มนอกจากดอกเบี้ยที่ต้องเสีย และเป็นเรื่องดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย อันเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา และจำเลยได้ออกเช็คแก่โจทก์เพื่อชำระเงินดังกล่าว แม้ธนาคารจะไม่มีเงินพอจ่ายให้ตามเช็คเมื่อโจทก์ไปรับเงินนั้นก็ดี จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดแต่การใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้ และไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับให้ใช้เงินจำนวนตามเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินสัญญาและเช็คไร้ค่า: เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับตามเช็ค
เจ้าหนี้จำนองเรียกร้องเอาดอกเบี้ยจำนองเกินจากที่กำหนดไว้ในสัญญา เรียกเอาประโยชน์เพิ่มนอกจากดอกเบี้ยที่ต้องเสียและเป็นเรื่องดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยอันเป็นผิดอาญาตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา แล้วจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ได้ออกเช็คแก่เจ้าหนี้เพื่อชำระเงินดังกล่าวแล้ว แม้ธนาคารจะไม่มีเงินพอจ่ายให้ตามเช็ค เมื่อเจ้าหนี้ไปขอรับเงินนั้นก็ดีจำเลยก็ไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดแต่การใช้เช็ค 2497 มาตรา 3 เพราะเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิจะทำได้ และไม่มีสิทธิเรียกร้องบังคับให้ใช้เงินจำนวนนั้นตามเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรียกรับเงินเพื่อล้มคดีฆ่าคนตาย การกระทำครบองค์ความผิดแม้ไม่มีผู้สั่งการ
จำเลยอ้างต่อนาย พ. ว่า นายร้อยตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนใช้ให้ไปเรียกเงินจากนาย ป. เพื่อล้มคดีโดยพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะปล่อยญาติของนาย ป. กับพวกซึ่งต้องหาคดีฐานฆ่าคนตาย ต่อมานาย ป. ได้นำเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้กล่าวยืนยันต่อนาย ป. ว่าพนักงานสอบสวนต้องการเงินเพื่อจะได้ปล่อยญาติของนาย ป.กับพวก ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้ใดใช้ให้จำเลยไปเรียกเงินหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อล้มคดีฆ่าคนตาย แม้ไม่มีผู้สั่งการโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143
จำเลยอ้างต่อนาย พ.ว่า นายร้อยตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนใช้ให้ไปเรียกเงินจากนาย ป.เพื่อล้มคดีโดยพนักงานสอบสวนผู้นั้นจะปล่อยญาติของนาย ป. กับพวกซึ่งต้องหาคดีฐานฆ่าคนตาย ต่อมานาย ป. ได้นำเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้กล่าวยืนยันต่อนาย ป.ว่า พนักงานสอบสวนต้องการเงินเพื่อจะได้ปล่อยญาติของนาย ป.กับพวก ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมครบองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจะมีผู้ใดใช้ให้จำเลยไปเรียกเงินหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้และการคืนหลักประกัน: สิทธิของลูกหนี้ในการได้รับคืนหลักประกันเมื่อเสนอชำระหนี้
จำเลยกู้เงินโจทก์ มอบปืนให้ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้เงินกู้ โจทก์ก็ต้องคืนปืนที่เป็นประกันให้ จะให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ส่วนปืนจะคืนภายหลังหาได้ไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ไม่ยอมคืนปืนก็ถือว่าจำเลยไม่ผิดนัด ยังไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินพร้อมมอบทรัพย์เป็นประกัน เมื่อเสนอชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ต้องคืนทรัพย์ประกันให้ทันที
จำเลยกู้เงินโจทก์ มอบปืนให้ไว้เป็นประกันการชำระหนี้ เมื่อจำเลยเสนอขอชำระหนี้เงินกู้ โจทก์ก็ต้องคืนปืนที่เป็นประกันให้ จะให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ส่วนปืนจะคืนภายหลังหาได้ไม่ ฉะนั้น เมื่อโจทก์ไม่ยอมคืนปืน ก็ถือว่าจำเลยไม่ผิดนัด ยังไม่ต้องชำระหนี้เงินกู้