คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยเจริญ สันติศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่สมบูรณ์ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจน โดยเฉพาะคดีเด็กและเยาวชนที่ต้องคำนึงถึงความเข้าใจของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจลักเอาธนบัตรของชายผู้มีชื่อไปโดยเจตนาทุจริตโดยจำเลยล้วงกระเป๋าชายผู้มีชื่อเพื่อลักทรัพย์" ดังนี้ เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเห็นได้ว่ายังไม่มีความหมายแน่นอนพอที่จะเข้าใจได้ว่าชายผู้มีชื่อนั้นหมายถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ แม้โจทก์ไม่สามารถทราบชื่อ ก็น่าจะกล่าวบรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชายผู้นั้นให้พอที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์มีความแน่นอนขึ้น ไม่เกิดความสับสนหลงผิดแก่จำเลยได้
ในคดีที่จำเลยเป็นเด็กนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 44 จะให้ศาลพยายามกระทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่แท้ที่จริงมาตรานี้ก็เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองและประโยชน์แก่เด็ก มีความมุ่งหมายที่จะให้เด็กเข้าใจการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่มีความบัญญัติไว้ด้วยว่า "ให้ใช้ภาษาง่ายๆ ให้จำเลยเข้าใจ" โจทก์จึงชอบที่จะบรรยายฟ้องให้ละเอียดเพื่อช่วยให้จำเลยซึ่งเป็นเด็กเข้าใจข้อหาโดยชัดแจ้งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องในคดีเด็ก: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยบังอาจลักเอาธนบัตรของชายผู้มีชื่อไปโดยเจตนาทุจริต โดยจำเลยล้วงกระเป๋าชายผู้มีชื่อเพื่อลักทรัพย์" ดังนี้ เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะเห็นได้ว่ายังไม่มีความหมายแน่นอนพอที่จะเข้าใจได้ว่าชายผู้มีชื่อนั้นหมายถึงบุคคลใดโดยเฉพาะ แม้โจทก์ไม่สามารถทราบชื่อก็น่าจะกล่าวบรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับชายผู้นั้นให้พอที่จะทำให้ฟ้องของโจทก์มีความแน่นอนขึ้น ไม่เกิดความสับสนหลงผิดแก่จำเลยได้
ในคดีที่จำเลยเป็นเด็กนั้น แม้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 44 จะให้ศาลพยายามกระทำโดยไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยเคร่งครัดก็ตาม แต่แท้ที่จริงมาตรานี้ก็เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองประโยชน์แก่เด็ก มีความมุ่งหมายที่จะให้เด็กเข้าใจการพิจารณาของศาลเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากที่มีความบัญญัติไว้ด้วยว่า "ให้ใช้ภาษาง่าย ๆ ให้จำเลยเข้าใจ" โจทก์จึงชอบที่จะบรรยายฟ้องให้ละเอียดเพื่อช่วยให้จำเลยซึ่งเป็นเด็กเข้าใจข้อหาโดยชัดแจ้งด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลของเจ้าหนี้ การเพิกถอนชำระหนี้ และสิทธิในการยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้
(1) คดีสองสำนวน แม้ศาลจะพิจารณาพิพากษารวมกัน แต่ปรากฎว่า สำนวนหนึ่งมีทุนทรัพย์ 5,000 บาท อีกสำนวนหนึ่งทุนทรัพย์ 15,000 บาท แม้ในชั้นฎีกาได้ฎีการวมกันมา ศาลฎีกาพิจารณาเฉพาะคดีที่มีทุนทรัพย์ เกิน 5,000 บาท ซึ่งไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 เท่านั้น
(2) ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้คำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว เช่น เรือน 1 หลัง ซึ่งไม่สามารถใช้หนี้ทั้งสองรายได้นั้น การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบ เพราะไม่มีทรัพย์เหลือพอจะชำระหนี้ได้ และเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้ไปแล้วก็เป็นผู้นำยึดทรัพย์นั้นเอง ทั้งรู้อยู่ด้วยว่า เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งมีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์ที่ยึด แต่กลับไปถอนการยึดเสียแล้ว ตกลงรับชำระหนี้กันโดยลำพัง ซึ่งทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเฉลี่ยไม่ได้ เช่นนี้ เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้ที่เสียเปรียบนี้ มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการชำระหนี้นั้นได้
(3) เมื่อเพิกถอนแล้ว ทรัพย์นั้นก็กลับสู่สภาพเดิม คือ กลับเป็นของจำเลย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดชำระหนี้ได้
(4) การที่เจ้าหนี้คนหนึ่งเอาสัมภาระที่ลูกหนี้ตีชำระหนี้ไปปลูกเป็นเรือนขึ้นในที่ดินของตนนั้น สัมภาระได้กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1315 เจ้าหนี้คนนั้นย่อมเป็นเจ้าของสัมภาระนี้ด้วยอำนาจของกฎหมาย เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งที่เสียเปรียบดังกล่าว ย่อมขอให้เพิกถอนได้เฉพาะแต่นิติกรรมดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ผู้ที่ได้สัมภาระไปต้องใช้ค่าสัมภาระให้แก่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่เสียเปรียบชอบที่จะใช้สิทธิของลูกหนี้ เรียกเอาค่าสัมภาระนี้เพื่อชำระหนี้ เป็นคดีใหม่แต่ไม่อาจยึดเรือนหลังนี้เพื่อขายทอดตลาด
(5) เมื่อฟังอย่างนี้แล้ว ใครสืบก่อนหลังก็ไม่สำคัญ
(ข้อ (2) (4) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 34/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130-1131/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยเจตนาฉ้อฉลและการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินเป็นส่วนควบของที่ดิน
ในกรณีที่จำเลยมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสองราย แต่ทรัพย์ของจำเลยมีเพียงอย่างเดียว มีราคาไม่พอใช้หนี้ทั้งสองราย การที่จำเลยเลือกใช้หนี้เพียงรายใดรายหนึ่ง อันเป็นผลทำให้เจ้าหนี้อีกคนหนึ่งเสียเปรียบและเจ้าหนี้ผู้รับชำระหนี้ก็ทราบดีอยู่แล้ว เช่นนี้ ย่อมเป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้เสียเปรียบขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ได้
แต่เมื่อปรากฏว่า หนี้ที่ลูกหนี้ชำระแก่เจ้าหนี้ไปก่อนนั้นเป็นไม้ที่รื้อมาจากโรงเรือนของลูกหนี้ และเจ้าหนี้นั้นได้เอาไม้ไปปลูกเป็นโรงเรือนในที่ดินของเจ้าหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ ก็เท่ากับว่าเจ้าหนี้เอาสัมภาระของผู้อื่นไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดิน ย่อมเป็นส่วนควบของที่ดินตาม มาตรา 1315 ไปแล้ว เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบจะตามไปยึดเรือนดังกล่าวขายทอดตลาดไม่ได้ ได้แต่จะใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกเอาค่าสัมภาระมาเพื่อชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถต่อการละเมิดของตัวแทนผู้ขับรถ
มารดาเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้มอบหมายให้บุตร (อายุ 27 ปี) เป็นตัวแทนในการรับขนส่งผู้โดยสาร เก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา แม้มารดาจะมิใช้นายจ้างของบุตร แต่เมื่อบุตรขับรถโดยประมาททำให้รถคว่ำและผู้โดยสารบาดเจ็บ ก็เป็นการกระทำละเมิดในการเป็นตัวแทนของมารดา มารดาจึงต้องรับผิดร่วมด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเหมือนของเครื่องหมายการค้าและการขอจดทะเบียนภายใต้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 17 จะนำอายุความตาม มาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอยแครง ไม่ใช่นกยูงดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันและสีอย่างเดียวกันพอดีลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้ว จะเห็นได้ว่า เครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนกับของโจทก์ตาม มาตรา 17
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายของจำเลยที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดทะเบียนไว้เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้าเพื่อการจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า มาตรา 17 และการไม่นำอายุความมาใช้
กรณีที่นายทะเบียนสั่งการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จะนำอายุความตามมาตรา 29 วรรคต้นมาใช้ไม่ได้ เพราะกรณีต่างกัน
แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายเป็นรูปหอย (หอยแครง) ไม่ใช่รูปนกยูง (ยูงรำแพน) ดังเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่ขนาดเท่ากันกับรูปนกยูงของโจทก็พอดี ลายขอบก็เป็นอย่างเดียวกัน เมื่อมองดูแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายของจำเลยมีลักษณะเกือบเหมือนของโจทก์ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2405)
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ๆ ใช้มานานก่อนที่จำเลยใช้เครื่องหมายที่เกือบเหมือนของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วสำหรับใช้ที่ฝากล่องและกลุ่มด้าย ที่โจทก์ขอจดเครื่องหมายรายพิพาทนี้ก็เพื่อใช้ที่ข้างกล่องซึ่งยังมิได้จดไว้เดิมเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิที่จะขอจดดีกว่าจำเลย (แม้จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายของจำเลยสำหรับใช้กับข้างกล่องก่อนโจทก์ แต่นายทะเบียนยังไม่ยอมจดให้)
หลักเกณฑ์ที่ว่าถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้น ใช้เฉพาะในกรณีที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เจ้าของเครื่องหมายรายหนึ่งไว้แล้ว เจ้าของอีกรายหนึ่งที่เครื่องหมายการค้าคล้ายกันได้มาขอจดบ้าง ถ้าเครื่องหมายรายหลังนี้คล้ายกันจนถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 ก็ห้ามมิให้รับจดทะเบียนให้ กรณีจึงต่างกับกรณีตามมาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในชั้นบังคับคดี และอำนาจศาลในการสั่งค่าทนาย
ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่โจทก์ยึดเป็นของผู้ร้องโดยจำเลยยกให้นั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนระหว่างผู้ร้องและจำเลยได้ โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลประการใดก่อน
ค่าฤชาธรรมเนียมย่อมรวมถึงค่าทนายซึ่งแม้คู่ความจะมิได้ขอขึ้นมา ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยเดิมในพินัยกรรม ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ผู้ทำพินัยกรรม (เจ้ามรดก) ได้พิมพ์ลายนิ้วมือทับรอยพิมพ์นิ้วมือที่ลงไว้ไม่ชัดอีกครั้งหนึ่ง แม้ลายพิมพ์นิ้วมือนี้จะเลอะเลือนจนดูไม่ชัด ก็ไม่กลายเป็นแกงได และการกระทำเช่นนี้หาเป็นการขูดลบตกเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานกรรโชกข่มขืนใจเอาทรัพย์สินและการสนับสนุนความผิด
ป.กับส. ไปหลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงาน ขอค้นบ้าน และค้นได้แป้งเชื้อสุรา แล้วคุมตัวผู้เสียหายไปมอบให้ ด. ที่บ้านของ ป. ด.หลอกลวงผู้เสียหายว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต บอกให้ผู้เสียหายเสียค่าปรับ ถ้าไม่เอาเงินมาเสียจะจับส่งอำเภอ แล้วผู้เสียหายถูกคุมไปหายืมเงิน พบข. ซึ่งเป็นกำนัน ได้เล่าเรื่องให้ฟัง ข. พูดส่งเสริมให้ผู้เสียหายเสียเงินให้ที่นั่น ผู้เสียหายเอาเงินให้ ช. รับเงินเอาไว้แล้วบอกให้ผู้เสียหายกลับได้ วันนั้นเอง ช. ไปร่วมรับประทานอาหารและแบ่งเงินให้ ป. ส. และ ด. การกระทำของ ป. ส. และด. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145, 310 และ 337 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา 341 ด้วย และการกระทำของ ช. ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 341 เช่นเดียวกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้ง 4 ฐานฉ้อโกง ด. กับ ช. จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงด้วย ก็เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ตลอดถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพและฉ้อโกง กับขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินที่จำเลยรับไปจากผู้เสียหายด้วย เมื่อวินิจฉัยว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว ศาลย่อมพิพากษาให้ยกคำขอให้คืนหรือใช้เงินนี้เสียด้วย (แม้โจทก์จะฎีกาฝ่ายเดียว ขอให้ลงโทษฐานฉ้อโกง จำเลยไม่ได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้)
of 56