คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไชยเจริญ สันติศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 553 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405-410/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประโยชน์ที่ดินสาธารณประโยชน์: อำนาจรัฐบาลในการกำหนดเขตหวงห้ามใหม่ ย่อมลบล้างการหวงห้ามเดิม
เดิมอำเภอได้ประกาศหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สำหรับราษฎรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่รกร้างว่างเปล่าบริเวณเดียวกันนั้นเพื่อประโยชน์ราชการทหาร ที่รกร้างว่างเปล่าน้นก็ยังคงเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในสภาพเดิม เป็นแต่เปลี่ยนประโยชน์ที่ใช้เสียใหม่จากการใช้สำหรับราษฎรเลี้ยงสัตว์มาเป็นใช้ประโยชน์ในราชการทหาร การหวงห้ามเดิมย่อมหมดสภาพไป ทั้งตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามนั้นก็กำหนดให้เจ้ากรมแผนที่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย ดังนี้อำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ดูแลตรวจตราที่ดินนั้นต่อไป นายอำเภอจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยออกจากที่ดินในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกานั้น เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหามีความผิดฐานขัดคำสั่งนายอำเภอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ฟ้องซ้ำไม่มี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรค 318 วรรค 2,3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้ คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้นศาลอาจกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไปเท่านั้นเมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า'ให้ยกเสีย' ในมาตรา 172 กับคำว่า'มีคำสั่งไม่รับ' ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกันเพราะคำว่า 'ให้ยกเสีย' ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนั้นได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเสมือนว่าให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ตามมาตรา 131 เลยเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องไม่ถือเป็นคำพิพากษา ฟ้องซ้ำต้องห้ามเฉพาะคำพิพากษาถึงที่สุด
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 3, 18 วรรค 2, 3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้น ศาลอาจจะกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไป เท่านั้น เมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า "ให้ยกเสีย" ในมาตรา 172 กับคำว่า "มีคำสั่งไม่รับ" ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกัน เพราะคำว่า "ให้ยกเสีย" ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษารายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนี้ได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเหมือนให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ่เลย เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณา ไม่ตัดสิทธิการนำสืบพยาน หากจำเลยได้ยื่นคำให้การสู้คดีไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 วรรค 2 บัญญัติห้ามมิให้จำเลยเรียกพยานเข้าสืบเฉพาะกรณีที่ขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยเพียงแต่ขัดนัดพิจารณาแต่มิได้ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยจึงหาหมดสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบไม่
การขัดนัดพิจารณาในนัดหนึ่งนัดใด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่หมด นัดต่อไปคู่ความที่ขาดนัดมาศาลก็ย่อมมีสิทธิที่จะถามค้านได้เพราะไม่ใช่เป็นพยานที่ได้สืบไปแล้ว
การที่คู่ความแถลงร่วมกันขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญแล้ว แม้ต่อมาจะไม่ตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่าย และในที่สุดฝ่ายหนึ่งได้ขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญไปฝ่ายเดียว ดังนี้อีกฝ่ายหนึ่งจะกลับมาคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
การขออ้างพยานเพิ่ม แม้จะล่วงเวลาหลังจากสืบพยานฝ่ายตรงข้ามแล้ว ถ้าศาลเห็นมีเหตุสมควร ก็มีอำนาจอนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาไม่ตัดสิทธิจำเลยในการนำสืบพยาน และการขอตั้งผู้เชี่ยวชาญร่วมกันย่อมมีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรค 2 บัญญัติห้ามมิให้จำเลยเรียกพยานเข้าสืบเฉพาะกรณีที่ขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้นฉะนั้นเมื่อจำเลยเพียงแต่ขาดนัดพิจารณาแต่มิได้ขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยจึงหาหมดสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานของตนเข้าสืบไม่
การขาดนัดพิจารณาในนัดหนึ่งนัดใด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบยังไม่หมด นัดต่อไปคู่ความที่ขาดนัดมาศาลก็ย่อมมีสิทธิที่จะถามค้านได้ เพราะไม่ใช่เป็นพยานที่ได้สืบไปแล้ว
การที่คู่ความแถลงร่วมกันขอให้ศาลตั้งผู้เชียวชาญแล้วแม้ต่อมาจะไม่ตกลงกันในเรื่องค่าใช้จ่ายและในที่สุดฝ่ายหนึ่งได้ขอให้ศาลตั้งผู้เชี่ยวชาญไปฝ่ายเดียว ดังนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกลับมาคัดค้านภายหลังหาได้ไม่
การขออ้างพยานเพิ่มเติม แม้จะล่วงเวลาหลังจากสืบพยานฝ่ายตรงข้ามแล้วถ้าศาลเห็นมีเหตุสมควร ก็มีอำนาจอนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง แม้เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน
จำเลยรับฝากสินค้าราคาสองหมื่นบาทเศษของโจทก์ไว้แล้วสินค้านั้นสูญหายไป จำเลยจึงมีหนังสือยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ 5,000 บาท โจทก์ปฏิเสธ ต่อมาได้มีการเจรจากันอีก จำเลยมีหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครึ่งหนึ่งของราคาสินค้า แต่โจทก์ก็ไม่ตกลง ดังนี้ เห็นได้ว่าเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ที่จำเลยยอมชดใช้ค่าสินค้าที่หายรายนี้ให้โจทก์นั้นเป็นการยอมรับแล้วว่าหนี้ค่าสินค้าของโจทก์ที่หายไปมีอยู่จริงเรียกได้ว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ชดใช้ค่าสินค้าของโจทก์ที่หายไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินที่ไม่ระบุหนี้ชัดเจน ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม
เอกสารที่มีข้อความเพียงว่ารับเงินไปจำนวนหนึ่งแล้วลงชื่อจำเลยโดยไม่มีข้อความแสดงว่า ในการรับเงินจำเลยเป็นลูกหนี้จะใช้เงินคืนแก่โจทก์แต่อย่างใดนั้น ฟังเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่15/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294-295/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้าง: คำฟ้องต้องระบุฐานะนายจ้างชัดเจน การรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องเป็นไปตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์รับส่งบรรทุกของและคนโดยสารในนามของบริษัทจำเลยที่ 3 เพื่อการค้ากำไรร่วมกันนั้น เป็นคำฟ้องที่ไม่มีทางให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้เลย แม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่คู่ความนำสืบจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็นจำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294-295/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๒๕ จำเป็นต้องระบุฐานะลูกจ้างในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์รับส่งบรรทุกของและคนโดยสารในนามของบริษัทจำเลยที่ 3 เพื่อการค้ากำไรร่วมกันนั้น เป็นคำฟ้องที่ไม่มีทางให้เข้าใจว่าจำเลยที่ 3 มีฐานะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้เลย แม้ข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่คู่ความนำสืบจะปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ก็ตาม ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กในการจัดการทรัพย์สินมรดก
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์นั้นไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของตนเอง แต่เป็นการใช้สิทธิของผู้เยาว์ เพราะผู้เยาว์ใช้สิทธิด้วยตนเองยังไม่ได้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงใช้สิทธินั้นด้วยอำนาจกฎหมาย โดยมิต้องให้ผู้เยาว์มอบอำนาจดังเช่นบุคคลผู้บรรลุนิติภาวะเมื่อผู้เยาว์ไม่มีสิทธิฟ้องบุพพการี โดยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องด้วย
of 56