พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดพยายามฆ่า: ศาลยกฟ้องแล้ว อัยการไม่มีสิทธิฟ้องอีก
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยพยายามฆ่าคน ศาลชั้นต้นเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะมิกล่าวเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด ศาลให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์ยืนยันไม่แก้ ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161,185 ดังนี้ อัยการจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันฐานพยายามฆ่าคนอีกไม่ได้ เพราะศาลได้ยกฟ้องเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้วตามมาตรา 39(4)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในความผิดเดิม: ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องไม่สมบูรณ์ อัยการไม่มีสิทธิฟ้องซ้ำ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยพยายามฆ่าคน ศาลชั้นต้นเห็นว่า ฟ้องไม่สมบูรณ์ เพราะมิกล่าวเวลาและสถานที่ซึ่งจำเลยกระทำผิด ศาลให้โจทก์แก้ฟ้องเสียให้ถูกต้อง โจทก์ยืนยันไม่แก้ ศาลมีคำสั่งให้ยกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161, 185 ดังนี้ อัยการจะฟ้องจำเลยคนเดียวกันฐานพยายามฆ่าคนอีกไม่ได้ เพราะศาลได้ยกฟ้องเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ฟ้องแล้ว ตามมาตรา 39 (4)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: เลือกใช้บทลงโทษเบากว่าเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คน สมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา ม.335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 294 (4) ไม่ได้ (เทียบฎีกาที่ 535/2500)
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2ประการคือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน และร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งประมวลกฎหมาย ม. 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา ม.293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญา ม.335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา ม. 293 (1) และ (11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: การปรับบทลงโทษเมื่อกฎหมายใหม่ไม่ถือว่าการลักของใช้ราชการเป็นเหตุฉกรรจ์
เหตุเกิดในขณะใช้กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยทั้ง 4 คนสมคบกันลักของใช้สำหรับราชการ และลักในเวลาค่ำคืน แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 มิได้บัญญัติว่าการลักของใช้ในราชการเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 294(4) ไม่ได้(เทียบฎีกาที่ 535/2500) แต่ว่าโดยที่การกระทำของจำเลยยังเป็นเหตุฉกรรจ์ของการลักทรัพย์อยู่อีก 2 ประการ คือ ลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและร่วมกระทำผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ยังบัญญัติไว้ให้เป็นเหตุฉกรรจ์อยู่ในอนุมาตรา (1) และ (7) ซึ่งตรงกับกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293(1) และ (11) และโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 293 เบากว่าโทษในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335 เช่นนี้ ต้องวางบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 293(1) และ(11)
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานทีศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
ขณะนี้ผลแห่งการตรวจสอบด้วยเครื่องจับเท็จ ยังมิใช่เป็นพยานหลักฐานทีศาลยุติธรรมจะรับฟังเป็นยุติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากตัวแทน: การหลอกลวงเกี่ยวกับสถานะผู้ค้าและการเรียกเก็บภาษี
ตัวแทนของบริษัทจำเลยได้ไปขอซื้อรถยนต์จิ๊บให้จำเลยจากบริษัทโจทก์ โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์โจทก์ไม่จำต้องเรียกเก็บภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และภาษีและภาษีบำรุงเทศบาลจากบริษัทจำเลย โจทก์หลงเชื่อจึงมิได้เรียกเก็บ ภายหลังกรมสรรพากรตรวจพบว่า บริษัทจำเลยมิได้จดทะเบียนการค้าโภคภัณฑ์ จึงเรียกเก็บเพิ่มอีกหนึ่งเท่าจากบริษัทโจทก์ โจทก์ได้เสียไปแล้ว ดังนี้ โจทก์ย่อมเรียกเงินค่าภาษีที่เสียทั้งสิ้นจากจำเลยได้ เพราะเป็นผลเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 554/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและการชดใช้ค่าเสียหายจากการแสดงเจตนาเป็นเท็จ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
ตัวแทนของบริษัทจำเลยได้ไปขอซื้อรถยนต์จิ๊บให้จำเลยจากบริษัทโจทก์โดยอ้างว่าบริษัทจำเลยเป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ โจทก์ไม่จำต้องเรียกเก็บภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และภาษีบำรุงเทศบาลจากบริษัทจำเลยโจทก์หลงเชื่อจึงมิได้เรียกเก็บ ภายหลังกรมสรรพากรตรวจพบว่าบริษัทจำเลยมิได้จดทะเบียนการค้าโภคภัณฑ์จึงเรียกเก็บเพิ่มอีกหนึ่งเท่าจากบริษัทโจทก์ โจทก์ได้เสียไปแล้วดังนี้ โจทก์ย่อมเรียกเงินค่าภาษีที่เสียทั้งสิ้นจากจำเลยได้เพราะเป็นผลเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างรายเดือน และการจ่ายค่าจ้างตามกำหนด
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลย ได้มีกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างเมื่อสิ้นเดือน ต่อมาได้เปลี่ยนเวลาจ่ายค่าจ้างออกเป็น 2 ครั้ง คือ กลางเดือนครั้งหนึ่งปลายเดือนครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือโจทก์ได้มีเงินสดซื้อข้าวสาร ดังนี้หาทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างรายเดือนไม่ ฉะนั้น การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ในตอนจ่ายค่าจ้างกลางเดือน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงกำหนด จ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 582.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 521/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างรายเดือน การเปลี่ยนแปลงกำหนดจ่ายค่าจ้างไม่กระทบสถานะลูกจ้าง และการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนของจำเลย ได้มีกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้างเมื่อสิ้นเดือน ต่อมาได้เปลี่ยนเวลาจ่ายค่าจ้างออกเป็น 2 ครั้งคือกลางเดือนครั้งหนึ่งปลายเดือนครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือโจทก์ได้มีเงินสดซื้อข้าวสารดังนี้ หาทำให้โจทก์เปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างรายเดือนไม่ฉะนั้นการที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ในตอนจ่ายค่าจ้างกลางเดือนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริง ยิงขู่เพื่อป้องกันตัว ไม่เจตนาฆ่าหรือทำร้าย
แม้จำเลยจะคิดว่าพลตำรวจม้วนเป็นคนร้ายงัดห้องแต่จำเลยก็มิได้เจตนาจะยิงคนร้ายจำเลยเพียงแต่ยิงเพื่อขู่โดยไม่เห็นตัวและได้ยิงลงต่ำ ไม่ประสงค์ให้ถูกใครหากแต่เผอิญกระสุนไปถูกไม้คร่าวจึงแฉลบไปถูกพลตำรวจม้วนเข้าถือว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าหรือแม้แต่เจตนาจะทำร้ายพลตำรวจม้วนเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในข้อเท็จจริงและเจตนาทางอาญา: การยิงเพื่อขู่ ไม่ใช่เจตนาทำร้าย
แม้จำเลยจะคิดว่าพลตำรวจม้วนเป็นคนร้ายงัดห้อง แต่จำเลยก็มิได้เจตนาจะยิงคนร้าย จำเลยเพียงแต่ยิงประตูเพื่อขู่โดยไม่เห็นตัวและได้ยิงลงต่ำ ไม่ประสงค์ให้ถูกใคร หากแต่เผอิญกระสุนไปถูกไม้คร่าวจึงแฉลบไปผูกพลตำรวจม้วนเข้า ถือว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าหรือแม้แต่เจตนาจะทำร้ายพลตำรวจม้วนเลย