คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันพอที่จะทำให้สาธารณชนสับสน สินค้าต่างประเภท และไม่มีเจตนาลวง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจนว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDEN COOK มี 3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากการจดทะเบียนโดยไม่สุจริตและสร้างความสับสนแก่สาธารณชน
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย คำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่า ผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK BAD HONNEF - RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCK เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ล เบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่าBAD HONNEF - RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศ กับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRKในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มี 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัว ซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรก ดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้ เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว
บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจด-ทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22ซี่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่า ผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173วรรคสอง (1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า BIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบน คำว่า BIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ ส่วนคำว่า BADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลก สินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่าง ๆ มาเป็นเวลานานกว่า 25 ปี เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน การที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่า BIRKENSTOCK คำว่า BIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่า BRIKENS คำว่า BRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่า BIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่า BIRKENS หรือ BRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน 7 ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่า BIRKENS ซึ่งเป็น 2 พยางค์แรก และเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การออกเสียง 2 พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง 2 พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วย ดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา 21 และ 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 21 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6920/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนเครื่องหมายการค้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำฟ้องของโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายในฟ้องว่าผู้ใดเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปได้ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม คดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยมิใช่คดีที่ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่302/2530ของศาลชั้นต้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1) โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCK และรูปเครื่องหมายประดิษฐ์ลักษณะวงกลมที่ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่าBIRKENSTOCKBADHONNEF-RHEIN กับรูปเท้าและกากบาทที่มีรัศมีแสงส่องสู่เบื้องบนคำว่าBIRKENSTOCKเป็นนามสกุลของบรรพบุรุษของนายคาร์ลเบอร์เคนสต๊อค กรรมการผู้จัดการของโจทก์ส่วนคำว่าBADHONNEF-RHEIN เป็นชื่อตำบลริมแม่น้ำไรน์ซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทของโจทก์โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้ารองเท้าโดยจดทะเบียนไว้ในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและประเทศอื่นอีกหลายประเทศกับได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า BIRKENSTOCK ไว้ต่อองค์การทรัพย์สินปัญญาแห่งโลกสินค้ารองเท้าของโจทก์แพร่หลายในประเทศต่างๆมาเป็นเวลานานกว่า25ปีเป็นที่รู้จักในหมู่คนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและมีผู้ซื้อเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยจำเลยได้เคยเห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนการที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดและจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนและนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนคำว่าBIRKENSTOCK คำว่าBIRK ในกรอบรูปประดิษฐ์คำว่าBRIKENS คำว่าBRIKENSTAR คำว่าBRIKENSTYLE และคำว่าBIRKENSTATE ต่างเป็นอักษรโรมันซึ่งตรงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือเป็นคำย่อของเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือมิฉะนั้นก็มีเพียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวว่าBIRKENS หรือBRIKENS เป็นตัวอักษรโรมัน7ตัวซึ่งเท่ากันกับคำว่าBIRKENS ซึ่งเป็น2พยางค์แรกและเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์การออกเสียง2พยางค์แรกดังกล่าวของเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ออกเสียงตรงหรือใกล้เคียงกับการออกเสียง2พยางค์แรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของจำเลยที่จำเลยขอจดทะเบียนและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ดังกล่าวก็ได้ขอใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์คือรองเท้าและรองเท้าแตะด้วยดังนี้เมื่อจำเลยได้เห็นและรู้ถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงถือได้ว่าจำเลยได้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว บทบัญญัติมาตรา21และ22แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งแบ่งออกเป็นขั้นๆรวมทั้งขึ้นประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา22ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน90วันนับแต่วันประกาศคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา21แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์จึงย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนและทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ได้คัดค้านการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้แล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการขอจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUISTAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUISTAPEของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าการเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากันตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUISTAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),243(1),246 และ 247 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัวไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีกศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนภายหลัง การพิพากษาต้องครบถ้วนตามคำขอ
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUIS TAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUIS TAPE ของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้ากาวเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ตามมาตรา 17แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและการสับสนหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกันแต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า"OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส์"ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า"FRUITTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกันการเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมและโอกาสสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า "FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OF THE LOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วย เมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 คำ หรือ 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม" ส่วนของจำเลยเรียกขานเพียงคำหรือพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต" หรือ "ฟรุ๊ตส" ดังนั้นอักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจนบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้นอกจากนั้นรูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยก็ยังต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUIT THE LOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT" สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่ 2 เป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน รูปลักษณะของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์และจำเลยโดยส่วนรวมจึงแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วยดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบร่วมกัน หากมีความแตกต่างในรายละเอียดที่ทำให้ผู้บริโภคแยกแยะได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้จะมีอักษรโรมันคำว่า"FRUIT" และรูปผลไม้วางรอบกันอยู่เหมือนกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังมีอักษรโรมันคำว่า "OFTHELOOM" เป็นส่วนประกอบอีกด้วยเมื่อเรียกขานรวมกันแล้วเป็น 4 พยางค์ คือ "ฟรุ๊ตออฟเดอะลูม"ส่วนของจำเลยเพียงพยางค์เดียวคือ "ฟรุ๊ต"หรือ"ฟรุ๊ตส" อักษรโรมันที่เป็นส่วนประกอบจึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ รูปผลไม้ที่เป็นส่วนประกอบก็ยังแตกต่างกันอีก ทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "FRUITOFTHELOOM" และของจำเลยมีคำว่า "FRUIT"สำหรับรูปแบบแรก และมีคำว่า "FRUITS" สำหรับรูปแบบที่สองเป็นส่วนประกอบอีกภาคหนึ่งซึ่งแตกต่างกัน การเรียกขานก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองฝ่ายจะใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าครอบคลุมถึงกันก็ตาม แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายแตกต่างกันโอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้ยาก เครื่องหมายการค้าจึงไม่คล้ายกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงและการลวงสาธารณชน
โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความแต่โจทก์มีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยว่าโจทก์เป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของมลรัฐเท็กซัส จำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ7-BIGSEVEn ของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียด ไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่าBIGSEVEn ก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 ต่างกัน จึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย การที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมาย-การค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
of 7