คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนหลงผิด
สินค้าของโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า "NICCO" จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าว่า "NICCO" เป็นอักษรโรมันคำเดียวกัน แตกต่างกันเพียงว่า ของโจทก์อยู่ในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา เมื่อออกสำเนียงชื่อก็คล้ายคลึงกัน ของโจทก์ออกสำเนียงว่า "นิกโก้" ส่วนของจำเลยออกสำเนียงว่า "นิคโค้" การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทด้วย
มาตรา 21 และ 22 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย เมื่อไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และหาตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริง ที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตนไม่ เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้ว หากโจทก์เป็๋นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมและเจตนาของผู้ประกอบการ
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่ง ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่า จั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้าจึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: ภาพศิลปะ vs. ภาพธรรมดา, จำนวนพยางค์, และความสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่งประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่าจั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า จึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN และ LION MAN เพื่อตัดสินว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHT MAN (ไลท์ แมน) ของโจทก์ไว้ 4 แบบ ซึ่งทั้งสี่แบบนี้ตัวอักษรขนาดต่างกันและลักษณะของตัวอักษรก็ต่างกันด้วยตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่ตามแบบที่ 3 เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่าง ตามแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN ส่วนตามแบบที่ 4 นั้นเป็นรูปสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIHGT MAN อยู่ด้านบนคำว่า FOR WORK AND PLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างใช้กับกางเกงยีน ส่วนเครื่องหมายการค้า LION MAN (ไลออน แมน) ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 5-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3 กับแบบที่ 9 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่า ไลท์ แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษร ไลออน แมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์ แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้นก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่เฉพาะและมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่าไลท์ กับคำว่า ไลออน นั้นมีความหมายแตกต่างกันมาก ทั้งคำว่า ไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียวส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์ เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้ว เห็นได้ชัดว่าลักษณะของตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมาก เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจนอาจทำให้สับสน และการใช้คำทั่วไป
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า LIGHTMAN(ไลท์แมน)ของโจทก์ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบ ขนาดและลักษณะของตัวอักษรต่างกันตัวอักษรคำว่า LIGHT และ MAN นั้นแยกกัน เว้นแต่แบบที่ 3เท่านั้นที่ตัวอักษรอยู่ติดกันและมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านหลัง ส่วนแบบที่ 2 มีรูปศีรษะคนขนาดเล็กสวมหมวกอยู่ระหว่างตัวอักษร LIGHT และ MAN แบบที่ 4 ซึ่งใช้กับกางเกงยีนสลากกระเป๋าหลังกางเกง มีคำว่า LIGHTMAN อยู่ด้านบนคำว่าFORWORKANDPLAY และมีรูปศีรษะคนสวมหมวกอยู่ด้านล่างด้วยส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า LIONMAN(อ่านว่า ไลออนแมน)ที่จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น ตัวอักษรอยู่ใต้ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตซึ่งอยู่ติดกันโดยศีรษะคนอยู่ด้านขวาส่วนหัวสิงโตอยู่ด้านซ้าย ภาพศีรษะคนและหัวสิงโตนั้นมีขนิดใหญ่กว่าตัวอักษรประมาณ 4-6 เท่า ส่วนภาพศีรษะคนสวมหมวกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามแบบที่ 2 นั้นมีขนาดเล็กเท่าตัวอักษร และตามแบบที่ 3กับแบบที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าตัวอักษรมาก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้ว เครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรคำว่าไลท์แมน ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้นให้ความสำคัญที่ตัวอักษรไลออนแมน เท่าเทียมกับภาพประกอบรูปศีรษะคนที่ติดกับหัวสิงโต โดยมีเจตนาให้ภาพดังกล่าวเป็นคำอธิบายความหมายของตัวอักษร คือหมายความว่ามนุษย์ สิงโต ส่วนภาพในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งมีภาพศีรษะของคนขนาดเล็กสวมหมวกนั้น มิได้อธิบายความหมายของคำว่า ไลท์แมน แต่ประการใด สำหรับตัวอักษรคำว่า แมน ที่เหมือนกันนั้น ก็เป็นคำสามัญ ไม่ใช่คำเฉพาะ และมีผู้นำไปใช้กับสินค้าหลายประเภท ส่วนคำว่า ไลท์ กับคำว่าไลออนนั้นมีความหมายแตกต่างกันมากทั้งคำว่าไลท์ ก็อ่านออกเสียงพยางค์เดียว ส่วนคำว่า ไลออน อ่านออกเสียงสองพยางค์เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าที่ปรากฎที่เสื้ออันเป็นสินค้าของโจทก์ กับที่เสื้ออันเป็นสินค้าของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าลักษณะตัวอักษร สี แบบ และขนาดแตกต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนกล่าวได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความสุจริตของผู้ขอ
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่นสีพ่นรถ ภาชนะที่ใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมัน อยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลมของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาวรูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกันด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกันขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝา กระป๋อง ก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้" จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้"กับ"สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน"TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลวงสาธารณชนจากเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบรวมและความคล้ายคลึงจนทำให้สับสน
เครื่องหมายการค้ารายหนึ่งจะเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าอีกรายหนึ่งจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่ ต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายอย่างเข้าด้วยกัน การที่จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ คือสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าสีทาบ้าน สีพ่น สีพ่นรถ ภาชนะใส่สีเป็นกระป๋องลักษณะเหมือนกัน สีของกระป๋องก็เป็นสีเดียวกัน ลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้าประทับ เป็นตัวอักษรโรมันอยู่บนพื้นสีดำรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และอยู่ทางส่วนบนของกระป๋องเหมือนกัน เครื่องหมายการค้าที่เป็นตราพวงมาลัยรถยนต์ของจำเลยก็อยู่ที่เดียวกับตราใบพัดลงของโจทก์และอยู่บนพื้นสีขาว รูปสี่เหลี่ยมคางหมูใต้ตัวอักษรโรมันในลักษณะเดียวกัน ด้านตรงกันข้ามเครื่องหมายดังกล่าว จะมีพื้นสีขาวรูปคางหมูรีเหมือนกัน มีคำอธิบายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเหมือนกัน ขนาดตัวอักษรเท่ากัน ฝากระป๋องก็มีลักษณะและสีพื้นสีเดียวกันมีรูปเครื่องหมายการค้าขนาดเท่ากันอยู่ตรงกึ่งกลาง มีอักษรภาษาไทยด้านล่างเหมือนกันว่า "คุณภาพเชื่อถือได้ จะต่างกันเฉพาะข้อความภาษาไทยว่า "สีเท็มโก้" กับ "สีเซฟโก้" และอักษรโรมัน "TEMCO" กับ "SEFCO" เท่านั้น ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายกันจากส่วนประกอบหลักและการประเมินเจตนาทุจริต
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีบับลิกแห่งประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้
โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐฺ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า PUMA (พูม่า) โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์ มีลักษณะโค้งมน ส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่งแล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามมาตราในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474
จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONG HORN ไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียวมาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMA บ้าง หรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ส้นรองเท้าบ้าง เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อยเพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยาก จึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่ง แตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: พิจารณาองค์ประกอบหลักและส่วนประกอบรองเพื่อวินิจฉัยความเหมือน/ต่าง
โจทก์มีหนังสือรับรองของเจ้าพนักงานโนตารีปับลิก แห่งประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาแสดงต่อศาล ซึ่งมีข้อความรับรองว่า หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ได้รับการลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัท โดยคำสั่งของคณะกรรมการและผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองได้กระทำเพื่อบริษัทดังกล่าวแล้วทุกประการ จำเลยมิได้คัดค้านว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องทั้งมิได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เช่นนี้ ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ได้ การมอบอำนาจจึงถูกต้องใช้ได้ โจทก์ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าใช้กับรองเท้าเป็นรูปแถบโค้งประดิษฐ์และรูปแถบโค้งประดิษฐ์ประกอบอักษรโรมันคำว่าPUMA(พูม่า)โดยติดอยู่ข้างรองเท้าสินค้าของโจทก์มีลักษณะโค้งมนส่วนล่างกว้าง 5 เซนติเมตรครึ่ง แล้วค่อย ๆ รีเล็กลง ส่วนที่จรดกับตะเข็บเส้นรองเท้ากว้างเพียง 1 เซนติเมตร เครื่องหมายนี้ต่างกับลักษณะของตะเข็บรองเท้าทั่ว ๆ ไป และมีสีสรรสวยงามตัดกับสีพื้นรองเท้ามองเห็นอย่างเด่นชัด จึงถือได้ว่าเครื่องหมายแถบโค้งดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าตามความในมาตรา 3 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 2 แบบ เป็นรูปประดิษฐ์ลักษณะเหมือนกล้องยาเส้นหงายขึ้นและตะขอหงาย จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยผลิตและจำหน่ายรองเท้าโดยใช้เครื่องหมายแถบโค้งเหมือนกับของโจทก์ทุกประการ สินค้ารองเท้าบางแบบของจำเลยเพียงแต่มาประทับตัวหนังสืออักษรโรมันคำว่า LONGHORNไว้ที่หุ้มข้อด้านหลังเหนือแถบโค้งที่เรียว มาบรรจบกันเท่านั้น ซึ่งต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอักษรโรมันว่า PUMAบ้างหรือรูปเสือกำลังกระโจนอยู่เหนือแถบโค้งบ้างที่ลิ้นรองเท้าบ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ มีรูปแถบโค้งเป็นส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเพราะเป็นส่วนที่เห็นได้เด่นชัดที่สุด และมีรูปตัวอักษรโรมัน PUMA หรือรูปเสือกระโจนเป็นส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบย่อย เพราะประชาชนมุ่งดูรูปแถบโค้งเป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์ยิ่งกว่าดูรูปตัวอักษรโรมันPUMA หรือรูปเสือกระโจน การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าลักษณะดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันกับของจำเลยหรือไม่ จำต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นรูปแถบโค้งเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัดแม้ส่วนประกอบรองหรือส่วนประกอบปลีกย่อยจะต่างกันซึ่งมองเห็นได้ยากจึงถือได้ว่าจำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ลักษณะหนึ่งซึ่งต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นำมาใช้อีกอย่างหนึ่งแตกต่างจากที่ขอจดทะเบียนไว้โดยใช้ให้เหมือนกับของโจทก์ แสดงถึงเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยและเป็นการจงใจเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: หลักฐานหนังสือมอบอำนาจจากต่างประเทศที่ถูกต้อง และการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิกแห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิกจากประธานศาล และคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas" อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อะดีดัง รูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 7