คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 63 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล & การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า การพิจารณาความคล้ายคลึงและเจตนาเลียนแบบ
หนังสือมอบอำนาจของบริษัทโจทก์ที่มอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้มีหนังสือซึ่งโนตารีปับลิก แห่งเมืองที่โจทก์มีภูมิลำเนาลงนามรับรองว่า บริษัทโจทก์ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นและผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งเป็นหัวหน้าเสมียนของบริษัทโจทก์ได้ลงนามและประทับตรากำกับในนามของบริษัทโจทก์โดยคำสั่งของคณะกรรมการด้วยความสมัครใจและเป็นการกระทำเพื่อบริษัทโจทก์ทุกประการ ทั้งยังมีคำรับรองลายมือชื่อโนตารีปับลิก จากประธานศาลและคำรับรองลายมือชื่อของประธานศาลดังกล่าวจากสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในประเทศนั้นต่อท้ายอีกด้วย เมื่อจำเลยมิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ตามหนังสือมอบอำนาจนั้นว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ ร. ฟ้องคดีนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "Adidas"อ่านออกเสียงว่า อะดีดาส ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "Adidang" อ่านออกเสียงว่า อดีดังรูปลักษณ์และลีลาการเขียนของตัวอักษรและการออกสำเนียงเรียกขาน ทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า สินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ ซึ่งแพร่หลายอยู่ในประเทศไทยมาก่อน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิม vs. การจดทะเบียนภายหลัง และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า มาตรา 22
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า'AQUAFRESH' ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้วเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าก่อน และข้อยกเว้นการฟ้องซ้ำตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า'AQUAFRESH' ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้วเป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: อำนาจฟ้องเมื่ออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
ชั้นแรกโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"Aquafresh" ออกเสียงว่า แอควาเฟรช แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้โดยอ้างว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนไว้แล้ว การโต้เถียงกันในชั้นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือไม่ เมื่อโจทก์ได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์จะนำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องต่อศาลอีกไม่ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 22 แต่ในคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นการอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าเดิมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ เป็นรูปตะขอประดิษฐ์อยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าภาพหนึ่ง และเป็นรูปตะขอประดิษฐ์อยู่ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าบนรูปตะขอมีอักษรโรมันอ่านว่าไนกี้อีกภาพหนึ่ง ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นภาพประดิษฐ์คล้ายกล้องสูบยาเส้นและอีกภาพหนึ่งเป็นภาพประดิษฐ์คล้ายไม้หันอากาศกลับข้าง ไม่มีตัวอักษรใด ๆ ทั้งสองภาพ เมื่อพิจารณาเครื่องหมายของจำเลยแล้วเห็นได้ชัดว่าความสำคัญที่เด่นชัดคือรูปประดิษฐ์คล้ายกล้องยาสูบและรูปประดิษฐ์คล้ายไม้หันอากาศกลับข้างนั้น ก็คือรูปตะขอประดิษฐ์ทำนองเดียวกับของโจทก์ ดังนั้นเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเลียนรูปและลักษณะของโจทก์เป็นการลวงให้สาธารณชนหลงเข้าใจผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสน จำเป็นต้องพิจารณาภาพรวมและองค์ประกอบทั้งหมด
ในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ศาลฎีกาได้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LIGHTMAN ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LAWMAN ของจำเลยไม่มีลักษณะคล้ายกันจนถึงกับทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด ดังนั้นโจทก์จึงจะยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันหาได้ไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะใช้คำว่า LAWMAN เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ยื่นคำขอใช้ได้ตามกฎหมาย เครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากจะมีอักษรโรมันคำว่าLAWMAN ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมีอักษรโรมันว่า ANGEL ขนาดโต เท่ากับคำว่าLAWMAN และมีรูปประดิษฐ์ดอกไม้กับหมวกอยู่ระหว่างอักษรโรมันสองคำดังกล่าวทั้งหมดอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันว่า LIGHTMAN กับคนสวมหมวก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าแตก ต่างกันอย่างชัดเจน บุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันได้ก็สามารถเห็นความแตก ต่างกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3091/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีองค์ประกอบบางส่วนที่เหมือนกัน ศาลยืนตามคำวินิจฉัยเดิม
ในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ ศาลฎีกาได้พิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า LIGHTMAN ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า LAWMAN ของจำเลยไม่มีลักษณะคล้ายกันจนถึงกับทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด ดังนั้นโจทก์จึงจะยกขึ้นกล่าวอ้างในคดีนี้อีกว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกันหาได้ไม่ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะใช้คำว่า LAWMAN เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ยื่นคำขอใช้ได้ตามกฎหมาย
เครื่องหมายการค้าของจำเลยนอกจากจะมีอักษรโรมันคำว่า LAWMAN ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยมีสิทธิใช้ได้ตามกฎหมายแล้ว ยังมีอักษรโรมันว่า ANGEL ขนาดโตเท่ากับคำว่า LAWMAN และมีรูปประดิษฐ์ดอกไม้กับหมวกอยู่ระหว่างอักษรโรมันสองคำดังกล่าวทั้งหมดอยู่ภายในวงกลม ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรโรมันว่า LIGHTMAN กับคนสวมหมวก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าแตกต่างกันอย่างชัดเจนบุคคลธรรมดาที่ไม่สามารถอ่านอักษรโรมันได้ก็สามารถเห็นความแตกต่างกันได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนและการใช้สิทธิโดยสุจริต การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
บริษัทจำเลยจัดตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2456 โดยใช้คำว่า ครอมพ์ตัน เป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัท ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2480 จำเลยจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ใช้สำหรับโคมไฟฟ้าที่ประเทศอังกฤษ ต่อจากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ที่ประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 17 ประเทศ จำเลยได้ส่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2511 และยังมีผู้สั่งเข้ามาจำหน่ายตลอดมา ส่วนโจทก์เพิ่งจะคิดชื่อ ครอมพ์ตัน ขึ้นใช้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2521 จำเลยจึงใช้เครื่องหมายการค้า "ครอมพ์ตัน" มาก่อนโจทก์หลายสิบปี ทั้งคำว่า ครอมพ์ตันเป็นคำประดิษฐ์แปลไม่ได้ ยากที่โจทก์จะคิดขึ้นมาพ้องกับจำเลย โจทก์ย่อมทราบว่า มีผู้ใช้เครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันสำหรับเครื่องไฟฟ้าแล้ว แต่ยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทย จึงได้ขอจดทะเบียนเสียก่อน ดังนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตไม่ จำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าครอมพ์ตันดีกว่าโจทก์
แม้จำเลยยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน ในประเทศไทย ไม่อาจอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านี้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 มาตรา 27 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยมีสิทธิดีกว่า จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคัดค้านได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 22 มิใช่เป็นการอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่จดทะเบียนอันจะต้องห้ามตามมาตรา 27
จำเลยส่งสินค้าเครื่องไฟฟ้าใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยมานาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โจทก์นำเครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตัน มาใช้กับสินค้าเครื่องไฟฟ้าของโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายใด ๆ แสดงให้เห็นที่เครื่องไฟฟ้านั้นว่าเป็นของโจทก์เลย พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เอาสินค้าของโจทก์ไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยชอบที่จะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์เลิกใช้เครื่องหมายการค้า ครอมพ์ตันของจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 29 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิเครื่องหมายการค้าตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการลวงสาธารณชน
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเนื่องจากโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่16จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่16(ด)นายทะเบียนไม่จดทะเบียนให้จำเลยจึงฟ้องโจทก์แล้วโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าทั้งโจทก์จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าตราม้าลายร่วมกันในสินค้าทุกจำพวกที่ได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนไว้ศาลพิพากษาตามยอมดังนี้คำว่า"ทุกจำพวก"จึงหมายถึงสินค้าในจำพวกที่16จำเลยจะอาศัยสิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราม้าลายสำหรับสินค้าจำพวกที่13ที่โจทก์จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วมิได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหัวและคอม้าลาย และคำว่าหัวม้าลาย กับอักษรโรมันว่าHEADZEBRAส่วนของจำเลยเป็นรูปม้าลายยืนทั้งตัวอยู่ในวงกลมและคำว่าตราม้าลายและอักษรโรมันว่าZEBRABRANDสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปม้าลาย เมื่อใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันจะทำให้เกิดสับสนและหลงผิดในแหล่งผลิตได้อันนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนจำเลยไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนการค้าสำหรับสินค้าจำพวกที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การฟ้องคดีใหม่หลังพ้น 90 วันจากคำวินิจฉัยนายทะเบียนเป็นอันขาดสิทธิ
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516) และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
of 7