พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์พิพาท สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการฟ้องแย้งเรียกคืนทรัพย์
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายในท้องตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคล
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดหาใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นไม่เพราะการซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำทรัพย์มาขายมิใช่เป็นการซื้อจากสถานที่ซึ่งมีร้านค้าเสนอขายแก่คนทั่วไปหรือมิใช่ซื้อจากที่ชุมชนแห่งการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายในท้องตลาด: ความหมายและการซื้อสลากกินแบ่งที่ถูกลักมา
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้น จำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์
วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสลากในตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคลทั่วไป
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นจำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ทีี่นำมาขายถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาดจำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมจึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายในท้องตลาด: สลากกินแบ่งรัฐบาลที่ซื้อจากบุคคลในตลาด ไม่ถือเป็นการซื้อจากท้องตลาด
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้น จำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ทีี่นำมาขาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาด จำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรม จึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3110/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายในตลาด: การซื้อจากร้านค้า vs. ซื้อจากบุคคลทั่วไป และผลต่อการคืนทรัพย์
การซื้อทรัพย์ในท้องตลาดหมายถึงการซื้อทรัพย์จากร้านค้าที่ตั้งอยู่ในท้องตลาดไม่ใช่เป็นการที่ร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ในท้องตลาดซื้อทรัพย์จากบุคคลที่นำมาขายให้แก่ร้านค้านั้นจำเลยตั้งร้านค้าอยู่ในท้องตลาดซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ที่ถูกคนร้ายลักไปจากผู้ที่นำมาขายถือไม่ได้ว่าจำเลยซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในท้องตลาดจำเลยจึงต้องคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ วัตถุแห่งหนี้ในการคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมจึงพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในกรณีที่จำเลยไม่ยอมคืนสลากกินแบ่งรัฐบาลให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า ผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ สิทธิในการครอบครองเป็นของผู้ซื้อ
ในคดีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโจทก์มีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทในฐานะผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยไม่ได้ชดใช้ราคารถยนต์ไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนจากโจทก์พิพากษาให้จำเลยเพิกถอนการแจ้งอายัดรถยนต์พิพาทและยกฟ้องแย้งของจำเลยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำเลยฎีกาเพียงขอให้ยกฟ้องโจทก์โดยไม่ขอให้บังคับคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งถึงที่สุดและผูกพันจำเลยจึงต้องฟังว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองรถยนต์พิพาทจำเลยไม่มีสิทธิติดตามเอาคืนโดยไม่ชดใช้ราคารถยนต์ให้โจทก์ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยเพิกถอนการอายัดรถยนต์พิพาทจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดอายัดทรัพย์สินและการคุ้มครองผู้ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า
ในคดีซึ่งบริษัทอ.ฟ้องบริษัทป.และศาลได้มีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.หลายรายการรวมทั้งรถยนต์พิพาทด้วย ต่อมา น. ยื่นคำร้องขัดทรัพย์และขอให้ปล่อยรถยนต์ 3 คันที่ถูกยึดรวมทั้งรถยนต์พิพาทโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันไว้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งปล่อยรถยนต์พิพาทที่ยึดไว้ และศาลมีคำสั่งอนุญาตดังนี้ หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันเพื่อให้ น. นำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราว โดยหากเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างรถยนต์พิพาทอยู่ในความครอบครองของ น. ก็สามารถบังคับเอาค่าเสียหายจากหลักประกันดังกล่าวได้ คำสั่งของศาลมิได้หมายความว่าให้นำหลักประกันมาแทนรถยนต์พิพาท และคดีที่มีการร้องขัดทรัพย์ก็ยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เพื่อให้ทราบว่ารถยนต์ที่พิพาทเป็นของผู้ใด เมื่อ น. มีสิทธิเพียงนำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราวและศาลมิได้ชี้ขาดว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ น. น.ย่อมไม่มีสิทธินำรถยนต์พิพาทไปจำหน่ายจ่ายโอน แต่เมื่อ น.ขายรถยนต์พิพาทให้ อ. และโจทก์ก็ได้ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตจาก อ. ซึ่งประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายรถยนต์โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมา และโจทก์ไม่อาจถูกรอนสิทธิเพราะได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ฉะนั้นการที่กรมสรรพากรจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรบริษัท ป. และได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.รวมทั้งรถยนต์พิพาทหลังจากคดีร้องขัดทรัพย์ถึงที่สุดให้รถยนต์พิพาทเป็นของบริษัทป.มีหนังสือถึงผู้บังคับการกองทะเบียนยานพาหนะกรมตำรวจให้ระงับการโอนทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทจึงเป็นการรอนสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อช่วงรถยนต์และการชดใช้ราคาจากผู้ให้เช่าซื้อเดิมเมื่อสัญญาเช่าซื้อเดิมสิ้นสุด
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ของจำเลยที่ 2 โดยโจทก์ทราบว่า รถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เช่าซื้อจากจำเลยที่ 2มาจำหน่าย และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าซื้อช่วงรถยนต์คันดังกล่าว โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนไปจากโจทก์ได้แต่การที่โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งถือเป็นพ่อค้าตามความหมายดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1332 โดยสุจริต โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับชดใช้ราคารยนต์ที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตในฐานะพ่อค้า vs. การยึดทรัพย์เพื่อดำเนินคดีอาญา: สิทธิและขอบเขตการคุ้มครอง
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์ โจทก์รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จาก ส. ซึ่งนำมาขายให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ไม่ได้ความว่าที่ทำการของโจทก์เป็นท้องตลาด การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ประกอบธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ที่ทำการของโจทก์มีสภาพเป็นท้องตลาดสำหรับขายรถยนต์ไปด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาสืบสวนสอบสวนได้ความว่ารถยนต์พิพาทเป็นรถยนต์ของบริษัท ค. ซึ่งถูกคนร้ายปล้นไป จำเลยทั้งหกย่อมมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทไว้เพื่อประกอบคดีฐานปล้นทรัพย์และคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงได้.