คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1332

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินหลุดจำนำโดยสุจริต และสิทธิของเจ้าของทรัพย์ในการติดตามคืน
ห้างหุ้นส่วนจำกัดได้รับอนุญาตให้ค้าของเก่าที่หลุดจากโรงรับจำนำ ย่อมขายของที่หลุดจากโรงรับจำนำได้ทุกอย่าง ไม่จำต้องขายของอย่างเดียวเมื่อเครื่องถ่ายเอกสารเป็นของที่หลุดจากโรงรับจำนำและเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ห้างทำการค้าอยู่เป็นปกติ ห้างจึงเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 แล้ว
เครื่องถ่ายเอกสารของจำเลยหายไป ผู้จัดการห้างค้าของเก่าประมูลมาได้จากโรงรับจำนำ ลงบัญชีสำหรับผู้ค้าของเก่าไว้ตามระเบียบของกองทะเบียน กรมตำรวจ แล้วนำเครื่องถ่ายเอกสารนั้นไปเสนอขายให้โจทก์ โจทก์ทดลองใช้อยู่ 2 สัปดาห์ จึงตกลงซื้อ เมื่อขายได้แล้วก็ลงบัญชีไว้เป็นหลักฐานว่าขายให้แก่ผู้ใด การเสนอขายมิได้มีพฤติการณ์ส่อไปในทางปกปิดซื้อขายกัน แม้เครื่องถ่ายเอกสารจะมีป้ายติดอยู่ข้อความว่าเป็นของบริษัทจำเลย ก็ยังไม่พอฟังว่าโจทก์รับซื้อไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ของจำเลย ทรัพย์หลุดจากโรงรับจำนำผู้ซื้ออาจเข้าใจว่าเป็นทรัพย์ที่ซื้อขายกันต่อๆ ไปได้ ถือว่าโจทก์รับซื้อทรัพย์ไว้โดยสุจริต เมื่อมีผู้นำเครื่องถ่ายเอกสารนี้ไปมอบให้จำเลย จำเลยจึงจะยึดไว้ไม่ได้ต้องส่งคืนให้โจทก์
โจทก์ไม่ได้จ้างจำเลยซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร แต่จำเลยยึดเอาไป ซ่อมโดยพลการ จำเลยจึงหามีสิทธิยึดหน่วงเครื่องถ่ายเอกสารเพราะโจทก์ ไม่ชำระค่าซ่อมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, อำนาจฟ้อง, อายุความครอบครอง และการซื้อขายในท้องตลาด
ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจจะมีอำนาจฟ้องตามใบมอบอำนาจหรือไม่ และการที่โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3 (ผู้ฎีกา) ย่อมอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้
ปัญหาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ใบมอบอำนาจของโจทก์นี้มีข้อความมอบอำนาจให้ ส. ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีต่อลูกหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์สินและใช้ค่าเสียหายมีความหมายถึงให้ฟ้องและดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 3 ผู้ยึดถือรถยนต์ของโจทก์ให้ส่งมอบรถยนต์และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้
แม้ร้านค้าของจำเลยที่ 3 อยู่ในชุมนุมการค้า แต่การที่จำเลยที่ 3 ซื้อรถยนต์พิพาทของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปจาก ศ. ซึ่งเอามาขายให้ที่ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมนุมการค้า แต่เป็นการซื้อจากบุคคลที่เอามาขายให้ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 เอง จึงไม่เป็นการซื้อในท้องตลาดดังนั้นจำเลยที่ 3 จะสุจริตหรือไม่ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1372
การฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 หมายถึงผู้ที่มีเพียงสิทธิ์ครอบครองในทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนจึงต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่รถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิ์ติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ได้เสมอโดยไม่มีอายุความ จึงจะนำมาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน, อำนาจฟ้อง, อายุความครอบครอง และการซื้อขายในท้องตลาด
ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจฟ้องตามใบมอบอำนาจหรือไม่ และการที่โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองนั้นเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยที่ 3(ผู้ฎีกา) ย่อมอ้างอิงในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้
ปัญหาเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ใบมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความมอบอำนาจให้ ส.ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีต่อลูกหนี้ให้ส่งมอบทรัพย์สินและใช้ค่าเสียหายมีความหมายถึงให้ฟ้องและดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 3 ผู้ยึดถือรถยนต์ของโจทก์ให้ส่งมอบรถยนต์และใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ได้
แม้ร้านค้าของจำเลยที่ 3 อยู่ในชุมชนการค้า แต่การที่จำเลยที่ 3 ซื้อรถยนต์พิพาทของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปจาก ศ.ซึ่งเอามาขายให้ที่ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ซื้อจากร้านค้าใดร้านค้าหนึ่งที่อยู่ในชุมชนการค้าแต่เป็นการซื้อจากบุคคลที่เอามาขายให้ที่ร้านค้าของจำเลยที่ 3 เอง จึงไม่เป็นการซื้อในท้องตลาดดังนั้นจำเลยที่ 3 จะสุจริตหรือไม่ก็เป็นเหตุให้ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332
การฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 หมายถึงผู้ที่มีเพียงสิทธิครอบครองในทรัพย์สินฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินนั้นคืนจึงต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง แต่รถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ได้เสมอโดยไม่มีอายุความ จึงจะนำมาตรา 1375 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ที่เจ้าของเดิมทำสัญญาเช่าซื้อไว้แล้ว โจทก์ซื้อโดยสุจริต ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
รถยนต์ของจำเลยให้ พ.เช่าซื้อ.พ มอบรถแก่ ม. ร้านบริการรถยนต์ตั้งแสดงเพื่อขายโดยคนของจำเลยแนะนำ ม.ให้โจทก์เช่าซื้อรถ โจทก์ซื้อโดยสุจริตจากพ่อค้าตามมาตรา 1332 ศาลบังคับให้จำเลยโอนทะเบียนรถแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์คันที่ถูกขโมยมา ผู้ขายต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อ
โจทก์ซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านจำเลยร่วม ต่อมาความปรากฏว่ารถคันนั้นเป็นของ ค. ที่หายไป ตำรวจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการร้านจำเลยร่วมเป็นผู้ต้องหาฐานรับของโจรและยึดรถคันดังกล่าวไว้ ดังนี้แม้โจทก์จะได้รถจักรยานยนต์จากการซื้อขายในท้องตลาดและมีสิทธิที่จะติดตามเอารถคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถเป็นของ ค. ที่หายไป ซึ่งโจทก์จะต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงและพนักงานสอบสวนคดีที่จำเลยต้องหาว่ารับของโจรนั้นก็ว่าถึงโจทก์จะไปขอรับรถจักรยานยนต์นั้นคืนก็ไม่คืนให้จำเลยในฐานะผู้ขายจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะทรัพย์สินที่ซื้อขายหลุดไปจากโจทก์ เพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิตามมาตรา 479และแม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอารถคืนหรือขอให้ชดใช้ราคาจากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของรถโดยตรงตามมาตรา 1372 ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยในเหตุรอนสิทธิไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ความรับผิดในการรอนสิทธิของจำเลยมีมูลมาจากสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์และต้องว่าจ้างรถคนอื่นไปใช้งาน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิให้จำเลยใช้ราคารถและค่าเสียหายนั้นได้
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนั้น ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่ตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์ด้วยอำนาจของกฎหมายซึ่งโจทก์จำต้องยอมให้ยึด มิฉะนั้นโจทก์อาจจะต้องมีความผิดในทางอาญานั้น ความรับผิดของจำเลยผู้ขายไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 165ซึ่งมีอายุความ 10 ปี (วรรคสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิจากการซื้อขายรถจักรยานยนต์ที่ถูกขโมย และอายุความของคดีรอนสิทธิ
โจทก์ซื้อรถจักรยานยนต์จากร้านจำเลยร่วม ต่อมาความปรากฏว่ารถคันนั้นเป็นของ ค.ที่หายไป ตำรวจจับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการร้านจำเลยร่วมเป็นผู้ต้องหาฐานรับของโจทก์และยึดรถคันดังกล่าวไว้ ดังนี้แม้โจทก์จะได้รถจักรยานยนต์จากการซื้อขายในท้องตลาดและมีสิทธิที่จะติดตามเอารถคืนได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏชัดแจ้งแล้วว่ารถเป็นของ ค.ที่หายไป ซึ่งโจทก์จะต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริงและพนักงานสอบสวนคดีที่จำเลยต้องหาว่ารับของโจรนั้นก็ว่า ถึงโจทก์จะไปขอรับรถจักรยานยนต์นั้นคืนก็ไม่คืนให้ จำเลยในฐานะผู้ขายจึงยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะทรัพย์สินที่ซื้อขายหลุดไปจากโจทก์ เพราะเหตุแห่งการรอนสิทธิตามมาตรา 479 และแม้โจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องเอารถคืนหรือขอให้ชดใช้ราคาจากบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าของรถโดยตรงตามมาตรา 1332 ก็มิได้หมายความว่าโจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องจากจำเลยในเหตุรอนสิทธิไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ความรับผิดในการรอนสิทธิของจำเลยมีมูลมาจากสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์ไม่อาจได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์และต้องว่าจ้างรถคันอื่นไปใช้งาน จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิให้จำเลยใช้ราคารถและค่าเสียหายนั้นได้
การยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 481 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีในข้อความรับผิดเพื่อการรอนสิทธิเมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนนั้น ต้องเป็นการยอมโดยสมัครใจ การที่ตำรวจยึดรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์ด้วยอำนาจของกฎหมายซึ่งโจทก์จำต้องยอมให้ยึด มิฉะนั้นโจทก์อาจจะต้องมีความผิดในทางอาญานั้น ความรับผิดของจำเลยผู้ขายไม่อยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 165 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
(วรรค 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริต ผู้ซื้อไม่ต้องคืนรถให้เจ้าของเดิม
การที่จำเลยที่ 2 เอารถมาแลกเปลี่ยนกับรถคันที่พิพาทโดยตีราคารถและเพิ่มเงินให้เท่ากับราคาของรถคันที่พิพาทและได้ส่งมอบรถพร้อมกับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร้านบริการขายรถเก่าไปแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2ได้ซื้อรถยนต์คันที่พิพาทซึ่งเป็นรถยนต์เก่ามาจากในร้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายรถยนต์เก่า เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตแต่ประการใด จำเลยที่ 2ก็หาจำต้องคืนรถยนต์คันที่พิพาทให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2645/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์โดยสุจริตของผู้ซื้อจากพ่อค้า รถยนต์คันพิพาทไม่ต้องคืนเจ้าของเดิม
การที่จำเลยที่ 2 เอารถมาแลกเปลี่ยนกับรถคันที่พิพาท โดยตีราคารถและเพิ่มเงินให้เท่ากับราคาของรถคันที่พิพาท และได้ส่งมอบรถพร้อมกับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของร้านบริการขายรถเก่าไปแล้ว ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ซื้อรถยนต์คันที่พิพาทซึ่งเป็นรถยนต์เก่ามาจากในร้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพ่อค้าขายรถยนต์เก่า เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตแต่ประการใด จำเลยที่ 2 ก็หาจำต้องคืนรถยนต์คันที่พิพาทให้แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินที่ได้มาจากการฉ้อโกง: สิทธิในการติดตามเอาทรัพย์คืน
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทโดยสุจริต แต่ไม่ได้ซื้อจากท้องตลาดหรือพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่า โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่นจำเลยก็ได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทมาโดยไม่สุจริต คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ประเด็นข้อนี้หาได้ยุติไปแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทโดยสุจริต แต่ไม่ได้ซื้อจากท้องตลาดหรือพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น จึงไม่ได้รับความคุ้มครองพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ เมื่อศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์จำเลยจึงไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์ว่า โจทก์ซื้อสินค้ามาโดยสุจริตหรือไม่เพราะจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีอยู่แล้ว แต่เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นข้ออื่นจำเลยก็ได้กล่าวคำแก้อุทธรณ์ถึงประเด็นข้อนี้ด้วยว่า โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทมาโดยไม่สุจริต คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ประเด็นข้อนี้หาได้ยุติไปแล้วไม่
of 13