คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สารนัยประสาสน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 186 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานทุจริตหน้าที่ ต้องมีเจตนาใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยตรง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในกะทงความผิดฐานทำ ตัดฟัน ชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตในกะทงความผิดฐานใช้ดวงตราผิดกฎหมายและในกะทงความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานจดหนังสือราชการอันเป็นหลักฐานเท็จ จำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในข้อเท็จจริง แต่แก้โทษลดลงเหลือ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ จำเลยใช้จ้างวานคนไปตัดฟันชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่ได้กล่าวว่าจำเลยเอาอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการไปใช้จ้างวานคนให้กระทำผิดเช่นนั้นด้วยเลย เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ใช้จ้างวานให้คนไปกระทำผิดเป็นส่วนตัว ย่อมจำลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 132 หรือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายขายของโดยไม่กำหนดราคา ไม่ถือเป็นการยักยอกเงิน หากชำระราคาสินค้าให้ผู้มอบหมายแล้ว
ผู้เสียหายมอบวิทยุให้จำเลยนำไปขายโดยไม่ได้จำกัดว่า จะต้องขายราคาเท่าใด เป็นแต่ว่าจำเลยจะต้องชำระราคาเครื่องวิทยุ 2,500 บาทแก่ผู้เสียหาย ดังนี้แสดงว่า จำเลยจะขายวิทยุในราคาเท่าใดก็แล้วแต่จำเลยเงินที่ขายได้ย่อมตกเป็นของจำเลย จำเลยมีความผูกพันที่จะต้องรับผิดใช้ราคาเครื่องวิทยุ 2,500 บาท แก่ผู้เสียหายเท่านั้นมิใช่เรื่องจำเลยได้รับมอบหมายราคาเครื่องวิทยุไว้แทนผู้เสียหายกรณีไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเงิน(อ้างฎีกาที่205/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบหมายขายของโดยไม่กำหนดราคาไม่เป็นยักยอกเงิน หากชำระราคาตามตกลง
ผู้เสียหายมอบวิทยุให้จำเลยนำไปขายโดยไม่ได้จำกัดว่า จะต้องขายราคาเท่าใด เป็นแต่ว่าจำเลยจะต้องชำระราคาเครื่องวิทยุ 2,500 บาทแก่ ผู้เสียหาย ดังนี้แสดงว่า จำเลยจะขายวิทยุในราคาเท่าใดก็แล้วแต่จำเลยเงินที่ขายได้ย่อมตกเป็นของจำเลย ๆ มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดใช้ราคา เครื่องวิทยุ 2,500 บาท แก่ผู้เสียหายเท่านั้น มิใช่เรื่องจำเลยได้รับมอบหมายราคาเครื่องวิทยุไว้แทนผู้เสียหายกรณีไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเงิน
(อ้างฎีกาที่ 205/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198-1199/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จโดยผู้ร่วมกระทำผิด: ไม่เป็นละเมิดต่อผู้ร่วมกระทำผิด แม้จะนำไปสู่ค่าปรับทางภาษี
การที่ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันมาแจ้งความต่อตำรวจ เปิดเผยการกระทำอันไม่บริสุทธิ์โดยไม่แจ้งว่าตนได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย และ เนื่องจากการแจ้งความเปิดเผยเช่นนี้ทำให้กรมสรรพากรทราบจนบริษัทต้องถูกปรับค่าภาษีถึงห้าแสนบาทเศษ จะเป็นโดยจำเลยแจ้งเพื่อบรรเทาผลร้ายหรือแม้จะเพราะโกรธเคืองกันเอง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้กระทำผิดร่วมที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยแจ้งความต่อตำรวจโดยไม่ได้ร้องขอให้จับกุม เป็นการแล้วแต่ตำรวจจะสอบสวนพิจารณาเหตุผลเอาเอง ข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งว่ามีการลงบัญชีเท็จก็เป็นจริงดังที่จำเลยแจ้งความได้มีการสอบสวนใช้เวลาอีกหลายเดือน ตำรวจจึงได้เรียกโจทก์ไปแจ้งข้อหา หากโจทก์จะเสียหายที่ต้องไปสถานีตำรวจและต้องหาประกันที่โจทก์ว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงจากการวินิจฉัยของตำรวจเอง การที่ตำรวจหรืออัยการไม่ฟ้องโจทก์ต่อศาลก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด แต่เห็นว่าจำเลยไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหากฎหมาย ไม่ใช่เพราะข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งไม่เป็นความจริง เช่นนี้จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198-1199/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จโดยผู้ร่วมกระทำผิด การละเมิด และอำนาจแจ้งความ
การที่ผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันมาแจ้งความต่อตำรวจ เปิดเผยการกระทำอันไม่บริสุทธิ์โดยไม่แจ้งว่าตนได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย และเนื่องจากการแจ้งความเปิดเผยเช่นนี้ ทำให้กรมสรรพากรทราบจนบริษัทต้องถูกปรับค่าภาษีถึงห้าแสนบาทเศษ จะเป็นโดยจำเลยแจ้งเพื่อบรรเทาผลร้ายหรือแม้จะเพราะโกรธเคืองกันเอง ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้กระทำผิดร่วมที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
จำเลยแจ้งความต่อตำรวจโดยไม่ได้ร้องขอให้จับกุม เป็นการแล้วแต่ตำรวจจะสอบสวนพิจารณาเหตุเอาเอง ข้อเท็จจริงที่จำเลยแจ้งว่ามีการลงบัญชีเท็จก็เป็นจริงดังที่จำเลยแจ้งความ ได้มีการสอบสวนใช้เวลาอีกหลายเดือน ตำรวจจึงได้เรียกโจทก์ไปแจ้งข้อหา หากโจทก์จะเสียหายที่ต้องไปสถานีตำรวจและต้องหาประกันที่โจทก์ว่าทำให้โจทก์เสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงจากการวินิจฉัยของตำรวจเอง การที่ตำรวจหรืออัยการไม่ฟ้องโจทก์ต่อศาลก็ไม่ใช่เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิด แต่เห็นว่าจำเลยไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหากฎหมาย ไม่ใช่เพราะข้อเท็จจริง ที่จำเลยแจ้งไม่เป็นความจริง เช่นนี้ จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งกำไรจากการค้าไม่เข้าข่ายสัญญาให้โดยเสน่หา ไม่ต้องจดทะเบียน และฟ้องร้องได้
จำเลยทำสัญญายินยอมแบ่งกำไรเนื่องจากการค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดามาช่วยค้าขาย ตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้สัญญานั้นไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินตามข้อตกลงนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งกำไรจากการค้า ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา ไม่ต้องจดทะเบียน ฟ้องเรียกเงินได้
จำเลยทำสัญญายินยอมแบ่งกำไรเนื่องจากการค้าให้โจทก์ซึ่งเป็นมารดามาช่วยค้าขายตามที่ตกลงกันไว้ ดังนี้ สัญญานั้นไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเงินตามข้อตกลงนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่า: ปืนมีกระสุนแต่ด้าน ไม่ถือเป็นเหตุที่ไม่สามารถบรรลุผลได้
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 81 นั้น เกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไรๆ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดั่งนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออก ซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้น กรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81 และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าด้วยอาวุธที่มีกระสุน หากกระสุนด้านแต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตราย ต้องลงโทษตามมาตรา 80 ไม่ใช่ 81
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 นั้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไรๆ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดั่งนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออกซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นกรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอม vs. ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาด
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วยเช่นนี้ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตร และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรคสอง คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ "ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วยซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ(เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู)ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น
of 19