คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นิพนธ์ พิชยพาณิชย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4605/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อผู้ถือหุ้นแทน, อำนาจฟ้องโอนหุ้น, และการบังคับแก้ไขสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้ลงทุนในบริษัทจำเลยที่ 1 ย่อมต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 มาตรา 1015 ซึ่งกำหนดว่า บริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติลักษณะดังกล่าวแล้ว จัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งรวมเข้ากันเป็นบริษัทนั้น โดยบทบัญญัติดังกล่าวมีลักษณะเป็นบทบังคับโดยเด็ดขาด มิได้มีลักษณะเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นตามกฎหมาย ที่จะสามารถนำสืบเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จากบทบัญญัติดังกล่าวบริษัทจึงมีสิทธิหน้าที่แยกต่างหากจากบรรดาผู้ถือหุ้น สามารถมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของตนเอง ทรัพย์สินของบริษัทจึงแยกต่างหากจากทรัพย์สินของบรรดาผู้ถือหุ้น หากบริษัทก่อหนี้สินก็ต้องถูกบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของบริษัท
โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นที่แท้จริงในบริษัทจำเลยที่ 1 โดยบรรดาผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือหุ้นแทนโจทก์ หากเป็นจริงดังที่กล่าวอ้าง โจทก์ก็มีสถานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้ที่เป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่ได้เป็นกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้แทนนิติบุคคลของบริษัท จะมีสิทธิแต่เพียงควบคุมการดำเนินงานของกรรมการบริษัทบางประการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น หาอาจก้าวล่วงเข้าไปจัดการงานของบริษัทเสียเองได้ไม่ หรือหากกรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท ซึ่งบริษัทมีสิทธิจะฟ้องร้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่กรรมการแล้วบริษัทไม่ยอมฟ้องร้อง ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามมาตรา 1169 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้สิทธิของบริษัทเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่ผู้ถือหุ้นหาอาจจะเข้ามาดำเนินการฟ้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาที่กรรมการบริษัทกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้นิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายทรัพย์สินตามฟ้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นโมฆะ และให้โอนทรัพย์สินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม หากไม่สามารถกระทำได้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันชำระเงินแทน ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมา ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ต้องผ่านมติคณะกรรมการก่อน
คำว่า "กรรมการ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1172 วรรคหนึ่ง หมายถึงคณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน การจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือไม่ กรรมการคนหนึ่งคนใดชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1162 มติของคณะกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1161 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองเรียกประชุมใหญ่โดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าว ดังนั้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8906/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิด: เจ้าของกรรมสิทธิ์/ครอบครองจริง แม้กรรมสิทธิ์จะเปลี่ยนมือ แต่ยังคงครอบครองและใช้ประโยชน์
โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่า ช. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 72398 ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งบ้านเลขที่ 110/1 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินดังกล่าว ต่อมา ช. รื้อบ้านหลังดังกล่าวและปลูกสร้างเป็นอาคาร 2 หลัง แทนหลังเดิมและขอเลขที่บ้านเป็น 3 หลัง ให้ ส. ภริยาและบุตร 4 คน พักอาศัยอยู่ร่วมกันในที่ดินแปลงเดิม แบ่งเป็นบ้านเลขที่ 110/1 ให้ ส. ป. และ ก. พักอาศัย บ้านเลขที่ 110/4 ให้โจทก์ที่ 2 พักอาศัยและบ้านเลขที่ 110/5 ให้ ณ. พักอาศัย แสดงให้เห็นเจตนาและความประสงค์ให้บุตรและภริยาได้พักอาศัยเป็นสัดส่วน ช. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ ป. และ ก. โดยเสน่หา แต่โจทก์ที่ 2 ยังคงพักอาศัยในบ้านและที่ดินดังกล่าวมาโดยตลอดไม่ได้ปล่อยให้ ป. และ ก. ครอบครองเพียงฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ที่ 2 แต่งงานกับโจทก์ที่ 1 แล้วย้ายไปพักอาศัยที่อื่น ก็นำบ้านหลังดังกล่าวให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่มีบุคคลใดโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของและครอบครองบ้านเลขที่ 110/4 เมื่อโจทก์ทั้งสองอ้างว่า ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งหกและจำเลยร่วมอันเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
ส่วนการยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) ต้องแสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นนั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน โดยต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องหรือคำให้การ ถ้ายื่นภายหลังนั้นต้องแสดงเหตุให้เป็นที่พอใจของศาลว่าไม่สามารถยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นได้แต่ต้องยื่นก่อนมีคำพิพากษา การที่จำเลยที่ 6 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีพร้อมกับคำให้การได้โดยจำเลยที่ 6 แสดงเหตุอันสมควรที่จำเลยที่ 6 ไม่สามารถยื่นคำร้องได้เนื่องจากจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันขอตรวจสอบความเสียหายและเจรจากับโจทก์ทั้งสองก่อน จนกระทั่งจำเลยร่วมปฏิเสธไม่รับผิด จำเลยที่ 6 จึงยื่นคำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีภายหลังจากที่จำเลยที่ 6 ยื่นคำให้การแล้ว แต่เป็นระยะเวลาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้หมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี คำร้องขอหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 6 จึงชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการประกันชีวิตผิดกฎหมาย: การจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ทำสัญญาบริการกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ตกลงรับจ้างให้บริการสรรหาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อเป็นตัวแทน 25 คน และผู้บริหารงานขาย 5 คน ในการเป็นตัวแทนของโจทก์ทำหน้าที่หาลูกค้าเข้าทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ให้ได้ผลงานเป็นเบี้ยประกันภัยรับปีแรก 5,000,000 บาท ภายในรอบระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2554 ซึ่งโจทก์ได้ค่าตอบแทน 1,000,000 บาท ให้จำเลยที่ 1 ไปรับแล้วเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 หากบุคลากรทำผลงานให้โจทก์ไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำเลยที่ 1 ต้องคืนเงินตามวิธีคิดคำนวณที่กำหนดไว้ ต่อมาจำเลยที่ 1 กระทำไม่ได้เบี้ยประกันภัยได้ตามจำนวนที่กำหนดไว้ แต่การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวน 1,000,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2553 แสดงว่าโจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนที่จะครบรอบการผลิตผลงานให้แก่โจทก์ในวันที่ 31 มกราคม 2554 เป็นการจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นค่าตอบแทนสำหรับงานที่ทำให้แก่โจทก์ จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) ซึ่งห้ามมิให้บริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามพระราชบัญญัตินี้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท และบริษัทที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 35 (7) ดังกล่าวต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 93 บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการควบคุมบริษัทประกันชีวิตให้จ่ายเงินหรือค่าตอบแทนภายในขอบเขตตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ การทำสัญญาบริการระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นสัญญาที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 ถือเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย มีผลทำให้สัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โจทก์จึงไม่อาจนำสัญญาบริการมาฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยทั้งสามได้ การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าเป็นค่าตอบแทนสำหรับงานที่ทำให้โจทก์แก่จำเลยที่ 1 เป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกคืนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10489/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการบังคับคดีตามคำพิพากษา: โจทก์/กรมป่าไม้มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยและมีคำขอบังคับให้จำเลยออกไปจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงถือเป็นผู้เสียหายในคดี และถือเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนคำขอส่วนแพ่งที่ขอให้จำเลยออกไปจากป่าสงวน กรมป่าไม้ย่อมสามารถที่จะทำการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50 แต่เนื่องจากคดีนี้เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งในส่วนแพ่งและส่วนอาญา โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ เมื่อโจทก์ในฐานะคู่ความได้มีคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีแล้ว และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีระบุให้โจทก์หรือผู้แทนโจทก์เป็นผู้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมาย จึงเป็นการออกหมายบังคับคดีที่ชอบแล้ว ทั้งในหมายบังคับคดีก็ระบุให้โจทก์ตั้งผู้แทนโจทก์ไปดำเนินการบังคับคดีแทนได้ ในกรณีที่โจทก์ไม่ประสงค์จะไปดำเนินการบังคับคดีด้วยตนเอง แต่ก็ขึ้นอยู่กับโจทก์ว่าโจทก์เห็นควรตั้งบุคคลใดที่มีส่วนได้เสียกับการบังคับคดีแทนโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ โจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีแทนย่อมทราบว่าควรให้บุคคลใดเป็นผู้แทนโจทก์ในการนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่ที่จำเลยครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีดังกล่าว จึงสามารถดำเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายไม่มีเหตุเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีซ้ำซ้อนหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีซ้ำ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า เนื่องจากคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ตลอดชีวิต แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะไม่อุทธรณ์ ส่วนโจทก์ร่วมอุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจในการลงโทษของศาลชั้นต้น แต่ก็พอถือได้ว่าความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนมายังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อวินิจฉัยไปพร้อมกับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง กรณีจึงถือได้ว่า คดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้มีการพิจารณาตามอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองแล้ว และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าว คดีเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ จากประกาศ คสช. และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีไม้พะยูง
คดีนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ซึ่งได้ประกาศและให้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และความในลำดับที่ 53 ในช่องประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดาของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 และให้ใช้บทบัญญัติตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับไม้พะยูงตามฟ้อง ฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป นับตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ต้องถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งความผิดทั้งสองฐานต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเดิม และพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ให้จำคุกกระทงละ 3 เดือน และปรับกระทงละ 5,000 บาท จึงเป็นโทษที่ต่ำกว่าอัตราโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยโดยปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 โดยไม่รอการลงโทษแก่จำเลย อันเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายและลงโทษจำเลยตามฟ้องเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด และมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท สูงกว่าระวางโทษตามบทกฎหมายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบที่จะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้
การที่จำเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ลักษณะความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้หวงห้ามที่มีราคาแพงมีความต้องการในตลาดสูง แม้มีจำนวนไม่มากแต่ก็เป็นการทำลายทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลาย ประกอบกับปัจจุบันปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนมีมากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถอนจำนอง: การโอนสิทธิทำให้จำเลยไม่ใช่ผู้รับจำนอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะมีชื่อเป็นผู้รับจำนอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องและสิทธิการรับจำนองที่ดินพิพาทให้แก่ บสท. ส. จำกัด ดังนั้น จำเลยไม่ใช่ผู้รับจำนองแล้ว โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยให้ถอนจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยว่า ขณะโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และยื่นฟ้องคดีนี้นั้น จำเลยไม่ใช่เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิในการรับจำนองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ชอบแล้ว และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้เงินโดยใช้เอกสารปลอมและการรับเงินโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดในฐานลาภมิควรได้
แม้ลายมือชื่อจำเลยในการทำนิติกรรมยื่นขอกู้และทำสัญญากู้ไว้แก่โจทก์จะเป็นลายมือชื่อปลอมที่ภริยาจำเลยเป็นผู้ดำเนินการให้แทน แต่จำเลยได้รับเงินกู้จากโจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยได้รับเงินจากการกู้ยืมที่มีลายมือชื่อปลอมจึงเป็นการรับเงินกู้ไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จำเลยต้องคืนเงินแก่โจทก์ในฐานลาภมิควรได้
of 2