คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 143 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างก่อสร้าง, ค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่อง, การหักกลบลบหนี้, การเพิ่มเติมงานต้องมีหลักฐาน
หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารนั้น เป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ฉะนั้น โจทก์จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการก่อสร้างชำรุดบกพร่องจำนวน 446,430 บาท ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่จำเลยจำนวน 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็นจำนวน 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ก็ตามแต่โจทก์ก็ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งที่ถูกเป็นเงินเพียง 77,240 บาท เท่านั้น จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งในจำนวนค่าเสียหายนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายส่วนชำรุดบกพร่องนี้จึงหายุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจแก้ไขคิดคำนวณใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเหมาค่าก่อสร้าง: การหักกลบลบค่าเสียหาย, ค่าวัสดุ, และการคิดค่าจ้างเพิ่มเติม
ข้ออ้างที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ก่อสร้างชำรุดบกพร่องแล้วไม่ยอมแก้ไข จำเลยจึงบอกเลิกสัญญานั้น เป็นเรื่องความรับผิดในความชำรุดบกพร่องที่โจทก์ในฐานะผู้รับจ้างจะต้องรับผิดชอบอยู่แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 595 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงไม่เป็นประเด็นสำคัญแห่งคดีที่ศาลจำต้องวินิจฉัยเสียก่อนและเมื่อฟังว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว กรณีเช่นนี้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ส่วนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว จำเลยต้องชดใช้คืนด้วยการใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นๆ และจำเลยมีสิทธิที่จะหักค่าเสียหายที่ต้องซ่อมแซมงานที่โจทก์ก่อสร้างชำรุดบกพร่องออกจากค่าจ้างที่ยังค้างชำระอยู่ได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของ ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ก่อสร้างเพิ่มเติมไปจากแบบแปลนที่ตกลงกันไว้เดิมได้ ไม่ต้องห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
สำหรับค่าจ้างในส่วนงานเพิ่มเติม เมื่อตามสัญญากำหนดไว้ว่าการเพิ่มเติมงานจะต้องคิดราคากันใหม่โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์กับจำเลยได้ตกลงเพิ่มเติมงานและราคากันใหม่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว จึงถือว่าโจทก์กับจำเลยไม่ได้มีสัญญาต่อกันในส่วนที่โจทก์ทำงานเพิ่มเติม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าจ้างในส่วนงานเพิ่มเติมจากจำเลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนการก่อสร้างชำรุดบกพร่องแก่จำเลย 77,240 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่จำเลย 102,080 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่าค่าเสียหายส่วนนี้ควรเป็น 151,040 บาท แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นคิดคำนวณรวมค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ถูกต้อง จึงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้แล้ว ฉะนั้น ค่าเสียหายในส่วนชำรุดบกพร่องจึงหายุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ ทั้งถือเป็นเรื่องแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3190/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาข้อผิดพลาดเนื้อที่ดิน: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้แม้คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ฟ้องโจทก์ระบุเนื้อที่ดินแต่ละแปลงของที่ดินทั้งสิบแปลงของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไว้ด้วย รวมแล้วมีเนื้อที่ทั้งหมด 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา แต่โจทก์ระบุว่ารวมแล้วเป็นเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ที่โจทก์รวมผิดพลาดดังกล่าวในฟ้อง ต่อมาในชั้นบังคับคดีทั้งโจทก์และจำเลยแถลงข้อเท็จจริงตรงกันว่า ที่ดินของโจทก์มีจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงเพียง 8 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยคิดจากจำนวนเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา อันเกิดจากการรวมเนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนผิดพลาดไปนั้น จึงเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยซึ่งไม่ใช่ข้อผิดพลาดในสาระสำคัญ แม้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองดังกล่าวจะถึงที่สุดไปแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เพราะการเพิ่มเติมแก้ไขคำพิพากษาในส่วนที่เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยตามบทกฎหมายดังกล่าวจะกระทำเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1680/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้ยืมเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขคำพิพากษาการบังคับจำนอง
สัญญากู้ยืมเงินระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุด ที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ความจริงตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ในทางปฏิบัติที่โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยภายหลังวันทำสัญญาไม่ถึงอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา เป็นการคิดดอกเบี้ยในขณะจำเลยปฏิเสธการชำระหนี้ตามสัญญา มิใช่คิดดอกเบี้ยในขณะทำสัญญา เมื่อดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกขณะทำสัญญาเกินอัตราตามประกาศของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) ดอกเบี้ยตามสัญญาจึงเป็นโมฆะ โจทก์ชอบที่จะได้ ดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ขณะโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ระบุหมายเลขโฉนดที่ดินซึ่งให้บังคับจำนองผิดพลาด โจทก์ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 แล้ว อำนาจที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวย่อมอยู่แก่ศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้วย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลงเข้าใหม่กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แก้ไขได้เฉพาะข้อผิดพลาดเล็กน้อย การเพิ่มโฉนดที่ดินใหม่ไม่ใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อย
เมื่อได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ย่อมผูกพันคู่ความตามนั้น และแม้สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาก็ตาม แต่การจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้ก็ต่อเมื่อเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคหนึ่งเท่านั้น แต่ข้อที่โจทก์หรือจำเลยทั้งสองขอเพิ่มนั้นเป็นการเพิ่มเติมหมายเลขโฉนดที่ดิน สำหรับที่ดินอีก 1 แปลง เข้ามาใหม่ กรณีจึงมิใช่ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่ศาลมีอำนาจแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดในการระบุความยาวทางภารจำยอม ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาตามมาตรา 143
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดิน ของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภารจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษา ของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม ทางจำเป็น ความถูกต้องของระยะทางในคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภาระจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, อากรแสตมป์, และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารพิพาท เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้วงเงินสินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิง หาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
of 2