คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 95 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และอายุความความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน
จำเลยใช้อาวุธปืนแก๊ปยิงผู้เสียหายขณะขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวเข้าปากซอยทางเข้าบ้านในระยะห่างไม่เกิน 5 เมตร กระสุนปืนถูกผู้เสียหายเป็นแผลทะลุบริเวณต้นขาขวา บาดแผลผู้เสียหายมีเลือดออกเป็นจำนวนมากย่อมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของอาวุธปืนและความรุนแรงของกระสุนปืน หากกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกอวัยวะสำคัญของร่างกาย ก็อาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แต่เนื่องจากจำเลยยิงขณะผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวปากซอยทางเข้าบ้าน ทำให้ยิงไม่แม่นยำกระสุนปืนจึงไม่ถูกอวัยวะสำคัญของร่างกาย ดังนี้ กรณีหาใช่การกระทำของจำเลยไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุอาวุธปืนที่เป็นปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตา 81 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80
ความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองและฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง กับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอายุความ 10 ปี และ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และ (5) ตามลำดับ คดีนี้จำเลยที่กระทำความผิดวันที่ 14 กรกฎาคม 2539 นับถึงรับฟ้องคือวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 เกิน 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์ในความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8616/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดพาอาวุธปืน, การลงโทษกรรมเดียวความผิดหลายบท, และอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต
ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง กฎหมายบัญญัติระวางโทษไว้ในมาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โจทก์มิได้ฟ้องและได้ตัวจำเลยมายังศาลภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด คดีของโจทก์ในความผิดฐานนี้จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) ศาลต้องยกฟ้องในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ไม่ได้ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีและใช้อาวุธปืนอาก้าซึ่งเป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามฟ้อง ซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง วรรคสาม และการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวไปปล้นทรัพย์ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลยเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง เพียงบทเดียว และเรียงกระทงลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และมิได้เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8615/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้บังคับอายุความอาญาเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
คดีนี้โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยกล่าวหาว่าจำเลยเอาความอันเป็นเท็จฟ้องโจทก์ทั้งสองต่อศาล โดยประสงค์จะให้โจทก์ทั้งสองรับโทษทางอาญา ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายเพราถูกฟ้องคดีอาญา จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ส่วนคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ. จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ เมื่อคดียังมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด ซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
อนึ่ง อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 268 และ 341 มีอายุความฟ้อง 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) จำเลยกระทำความผิดระหว่างต้นเดือนมกราคม 2537 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 14 มีนาคม 2548 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดต่อเนื่อง และไม่ขาดอายุความ
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินโดยไม่ได้รับอนุญาตย่อมมีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์อยู่ เมื่อปรากฏว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ ดังนั้น แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน 10 ปี คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดทางการแพทย์: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงละเมิด ไม่ใช่เมื่อรู้ผลสอบสวน
หลังจากโจทก์ที่ 3 คลอดโจทก์ที่ 1 และเกิดเหตุละเมิดจากการทำคลอดของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ได้พยายามให้โจทก์ที่ 1 ได้รับการรักษาทั้งจากจำเลยทั้งสามและโรงพยาบาลอื่น และได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบกับร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผล วันที่ 9 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกต่อแพทยสภาย่อมชี้ชัดว่า โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เยาว์ และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ได้รู้ถึงการละเมิดกับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2537 มิใช่ตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากแพทยสภา โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ล่วงเลยกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจเงินทุนฯ แม้ไม่ได้ปฏิบัติงานประจำ และประเด็นอายุความ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทและเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทดังกล่าวจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบใน แต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแก่บริษัทที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบได้ไม่
ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 79 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ มิใช่เป็นบทบังคับให้ คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ทั้งการที่คณะกรรมการดังกล่าวไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 144 ไม่ เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก ซึ่งเป็นกรรมการให้รับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัท ตามบทมาตราต่าง ๆ และมาตรา 75 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมาตรา 75 วรรคหนึ่งบัญญัติให้รับผิดมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ส่วนวรรคสอง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองถึงห้าปี และตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) บัญญัติถึงความผิดที่ต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปีให้มีอายุความสิบปีนับแต่วันกระทำความผิด ดังนี้ เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2531 โดยโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2539 ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ใช้หลัก ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์อาศัยมูลคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดทางแพ่งฐานละเมิด จึงเป็นฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้โจทก์เคยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในความผิดฐานบุกรุกและฐานทำให้เสียทรัพย์ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าวมาแล้ว ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้คำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการดังกล่าว มีผลกระทบกระเทือนถึงอายุความในการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของผู้เสียหายแต่อย่างใด เมื่อมูลคดีนี้ไม่มีผู้ใดฟ้องจำเลยทางอาญา กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง มาใช้บังคับ มิใช่ถือเอาอายุความ 1 ปี ฐานละเมิดตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา และอายุความความผิดต่อเนื่อง
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขตติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าเมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่าตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครองที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้อง
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 9(1)ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครองโดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าวไว้ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาอันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมา จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะ ตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดครองที่ดินสาธารณะโดยเจตนา ศาลพิพากษาลงโทษปรับและให้รอการลงโทษ
ที่ดินที่จำเลยซื้อจาก พ. เป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีรูปแผนที่แสดงอาณาเขตและเขต ติดต่อไว้อย่างชัดแจ้ง การซื้อขายได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมทราบเป็นอย่างดีว่าที่ดินที่ซื้อ ด้านทิศตะวันตกติดทางสาธารณประโยชน์ มิใช่ที่รกร้างว่างเปล่า เมื่อจำเลยปลูกสร้างบ้านและอาคารโรงงานล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์ จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาเพื่อจะยึดถือครอบครองทางสาธารณประโยชน์เป็นของตนเอง จึงมีความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1), 108 ทวิ
ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณารับฟังได้ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุในฟ้องจำเลยยังยึดถือครอบครอง ที่พิพาทอันเป็นความผิดอยู่ ย่อมเป็นข้อเท็จจริงที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ หาใช่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาแตกต่างจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันเป็นสาระสำคัญที่จะต้องพิพากษายกฟ้องไม่
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐหลังจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับแล้ว ซึ่ง ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ บัญญัติให้การเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ เป็นความผิดในทันทีที่เข้าไปยึดถือครอบครอง โดยไม่จำต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายข้อความดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิด
จำเลยเริ่มเข้ายึดถือครอบครองที่พิพาทตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา อันถือเป็นวันเริ่มต้นกระทำความผิด เมื่อปรากฏว่าหลังจากนั้นจำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทตลอดมาจนถึงวันฟ้อง จึงเป็นความผิดต่อเนื่องอยู่ทุกขณะตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทอยู่ คดีจึงไม่ขาดอายุความ
of 5