พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ แม้ตำแหน่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่โดยตรง แต่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของราชการ
จำเลยรับราชการเป็นภารโรงในกองหนังสือสำคัญกรมที่ดิน มีหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาด ปิดเปิดประตูหน้าต่าง ดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของทางราชการโดยทั่วไปกองหนังสือสำคัญ จำเลยเลื่อนขึ้นรับเงินเดือนตำแหน่งเสมียน แต่ยังคงทำงานในหน้าที่ภารโรงตามเดิม จำเลยเป็นผู้ถือลูกกุญแจตู้ที่เก็บของ และถือลูกกุญแจห้องที่ไขตู้ด้วย เสมียนในกองหนังสือสำคัญเป็นผู้มอบทรัพย์ให้จำเลยดูแลรักษาตามคำสั่งหัวหน้ากอง จำเลยได้เอาทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ อันเป็นของใช้ในราชการกองหนังสือสำคัญไป ดังนี้ จำเลยย่อมมีผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 131.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกต้องระบุชัดว่าจำเลยขายทรัพย์สินที่รับมอบหมายหรือไม่ หากไม่ชัดเจนถือเป็นฟ้องไม่ถูกต้อง
คดีหาว่า จำเลยยักยอกแหวนของโจทก์ที่ฝากจำเลยขายนั้น คำฟ้องของโจทก์จะต้องปรากฎให้แจ้งชัดว่า จำเลยได้ขายแหวนที่ได้รับมอบหมายไปจากโจทก์แล้ว มิฉะนั้นจะกล่าวหาว่าจำเลยยักยอกแหวนมิได้.
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยรับแหวนไปแล้ว ไม่เอาแหวนหรือเงินมาให้โจทก์ ครั้นโจทก์ทวงถามกลับโต้เถียงว่าคืนให้แล้วนั้น เป็นแต่แสดงเหตุที่ทำให้โจทก์รู้สึกตัวว่าถูกโกงเท่านั้น หาใช่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ขายแหวนแต่ยักยอกเสีย อันเป็นองค์ความผิดฐานยักยอกแหวนให้แน่ชัดลงไปไม่ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ หรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้ เพราะฟ้องขาดข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ความผิด ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอแก้ฟ้อง ต้องพิพากษายกฟ้อง./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดจำนวนฝิ่นเกินจริงและการแก้ไขบัญชี การพิสูจน์เจตนาสำคัญต่อความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จดจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าต้องการซื้อจากรัฐบาล ลงในแบบ ฝ.1/23 โจทก์หาว่าจำเลยจดจำนวนฝิ่นเป็นความเท็จลงในแบบ ฝ.1/23 เกินจากจำนวนที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบถึงจำนวนฝิ่นที่ร้านค้าประสงค์จะซื้อ จึงลงโทษจำเลยฐานนี้ไม่ได้
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ
การที่จำเลยเขียนตัวเลขในบัญชีแบบ ฝ.1/23 ซึ่งจำเลยมีหน้าที่เป็นผู้ลงบัญชี โจทก์หาว่าจำเลยปลอมโดยแก้ไขข้อความ 2 แห่ง คือ ขีดฆ่าเลข 8 เขียนทับเป็นเลข 16 แห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งขีดฆ่าเลข 7 ออก เขียนเลข 15 ลงไปแทน การกระทำทั้งนี้ อาจเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือก็ได้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป และการกระทำลงไปโดยเจตนาปลอมให้ผู้อื่นหลงว่า เป็นของแท้ ถ้าการขีดฆ่าแก้ไขอยู่ในอำนาจของจำเลยที่จะกระทำลงไป จำเลยไม่เจตนาปลอม แล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นการปลอมหนังสือ การนำสืบไม่ปรากฏว่า การขีดฆ่าไม่อยู่ในอำนาจของจำเลย กลับปรากฏว่า การขีดฆ่าทำอย่างไม่เจตนาพลางใคร การกระทำของจำเลยจึงไม่ผิดฐานปลอมหนังสือ