พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754-2755/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องคืนมันสำปะหลังที่ลักไปเท่านั้น ศาลไม่อนุญาตให้ชดใช้ด้วยการขุดมันสำปะหลังในไร่ของจำเลย
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์คือมันสำปะหลังให้โจทก์ร่วมหมายถึงมันสำปะหลังที่จำเลยลักเอาไปจากโจทก์ร่วมเท่านั้น แม้โดยสภาพมันสำปะหลังจะเป็นสังกมทรัพย์จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับโจทก์ร่วมไปขุดมันสำปะหลังจากไร่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่คืนมันสำปะหลังที่ลักเอาไปให้โจทก์ร่วมตามคำบังคับ โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์โดยการเบียดบังข้าวเปลือกของผู้รับฝาก แม้เป็นสังกมะทรัพย์ก็ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยทำสัญญาขายข้าวเปลือกซึ่งเก็บไว้ในยุ้งของ ส.ให้โจทก์ร่วม และทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกจำนวนนั้นไว้จากโจทก์ร่วม จะนำไปส่งมอบให้ภายหลังดังนี้เห็นได้ว่าข้าวเปลือกได้โอนไปเป็นของโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อจำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมโดยเก็บไว้ในยุ้งที่จำเลยเช่าไว้จึงเป็นผู้ครอบครองข้าวเปลือกซึ่งเป็นของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยขนเอาข้าวเปลือกไปเสีย และปฏิเสธฝืนพยานหลักฐานว่าไม่มีข้าวเปลือกของจำเลยอยู่ในยุ้งดังกล่าวและจำเลยไม่เคยขายและรับฝากข้าว เปลือกจากโจทก์ร่วม เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์แม้ข้าวเปลือกจะเป็นสังกมะทรัพย์ซึ่งอาจใช้ข้าวประเภทและชนิดเดียวกันมี ปริมาณจำกัดแทนกันได้แต่ก็มิใช่ว่าผู้รับฝากจะเอาไปเป็นประโยชน์สำหรับตนได้ทั้ง ๆ ที่ไม่มีสิทธิ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์จากสัญญาขายและรับฝาก: การเบียดบังข้าวเปลือกของผู้อื่นเป็นความผิดอาญา
จำเลยทำสัญญาขายข้าวเปลือกซึ่งเก็บไว้ในยุ้งของ ส. ให้โจทก์ร่วม และทำสัญญารับฝากข้าวเปลือกจำนวนนั้นไว้จากโจทก์ร่วมจะนำไปส่งมอบให้ภายหลังดังนี้เห็นได้ว่าข้าวเปลือกได้โอนไปเป็นของโจทก์ร่วมแล้วเมื่อจำเลยรับฝากข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมโดยเก็บไว้ในยุ้งที่จำเลยเช่าไว้ จึงเป็นผู้ครอบครองข้าวเปลือกซึ่งเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อจำเลยขนเอาข้าวเปลือกไปเสียและปฏิเสธฝืนพยานหลักฐานว่าไม่มีข้าวเปลือกของจำเลยอยู่ในยุ้งดังกล่าว และจำเลยไม่เคยขายและรับฝากข้าวเปลือกจากโจทก์ร่วมเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้เบียดบังเอาข้าวเปลือกของโจทก์ร่วมไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์แม้ข้าวเปลือกจะเป็นสังกมะทรัพย์ซึ่งอาจใช้ข้าวประเภทและชนิดเดียวกันมีปริมาณเท่ากัน แทนกันได้แต่ก็มิใช่ว่าผู้รับฝากจะเอาไปเป็นประโยชน์สำหรับตนได้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิทธิ การกระทำของจำเลยหาใช่เป็นผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือรายจ่ายต้องห้ามและเป็นการจำหน่ายกำไร
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทย ให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646-2649/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: ดอกเบี้ยส่งไปสำนักงานใหญ่ ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
ธนาคารสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทย เป็นนิติบุคคลเดียวกันกับธนาคารสำนักงานใหญ่ที่อยู่ต่างประเทศ แม้พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 จะบังคับให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศต้องมีทรัพย์สินในประเทศไทยให้ทำงบดุลต่างหาก ก็เป็นการบังคับไว้เพื่อให้ธนาคารดังกล่าวมีความมั่นคงในการดำเนินกิจการในประเทศไทย หาใช่รับรองให้มีสภาพบุคคลเป็นเอกเทศจากสำนักงานใหญ่ไม่
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
ธนาคารสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศหรือสาขาของธนาคารในต่างประเทศส่งเงินที่รับฝากจากลูกค้ามาลงทุนในธนาคารสาขาในประเทศไทย เงินนั้นเป็นสังกมะทรัพย์เมื่อรับฝากจากลูกค้าแล้วก็ย่อมเป็นเงินหรือทรัพย์ของธนาคารสำนักงานใหญ่หรือสาขา ถือได้ว่าสำนักงานใหญ่หรือสาขานั้นเป็นผู้ส่งมาลงทุน แม้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศมีพันธะผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากดอกเบี้ยนั้นก็เป็นรายจ่ายโดยแท้ของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ มิใช่รายจ่ายโดยตรงของธนาคารสาขาในประเทศไทยการที่ธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งดอกเบี้ยไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ จึงเป็นรายจ่ายเพื่อผ่อนภาระของสำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง และถือได้ว่าเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเอง ตามมาตรา 65 ตรี (9)(10)แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งตามมาตรา 65 ทวิ มิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ซึ่งถือได้ว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกำไร เมื่อธนาคารสาขาในประเทศไทยส่งเงินดังกล่าวออกไปให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ ก็เท่ากับเป็นการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย จึงต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 ทวิ อีกส่วนหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสคู่สมรสที่สมรสก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องใช้กฎหมายเดิม
คู่สมรสที่สมรสกันก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5การแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตามกฎหมายเดิม คือลักษณะผัวเมียบทที่ 68
ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย หากจำเลยส่งมาแบ่งไม่ได้ ก็ต้องชำระราคาแทนโดยคิดเอาราคาในขณะที่โจทก์ฟ้อง
ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย หากจำเลยส่งมาแบ่งไม่ได้ ก็ต้องชำระราคาแทนโดยคิดเอาราคาในขณะที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนและหลัง ป.พ.พ. บรรพ 5: ใช้กฎหมายเดิมเมื่อสมรสก่อน
คู่สมรสที่ สมรส-กันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสก็ต้องแบ่งตาม ก.ม.เดิม คือ ลักษณะผัวเมียบทที่ 68
ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งเป็นทรัพย์มฤดกของผู้ตาย หากจำเลยส่งมาแบ่งไม่ได้ ก็ต้องชำระราคาแทนโดยคิดเอาราคาในขณะที่โจทก์ฟ้อง
ฟ้องขอแบ่งข้าวเปลือกซึ่งเป็นทรัพย์มฤดกของผู้ตาย หากจำเลยส่งมาแบ่งไม่ได้ ก็ต้องชำระราคาแทนโดยคิดเอาราคาในขณะที่โจทก์ฟ้อง