คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 4 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลย, อำนาจฟ้อง, สัญญาบัญชีเดินสะพัด, เบิกเกินบัญชี, ดอกเบี้ย
ปัญหาว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาหรือไม่นั้นแม้จำเลยจะมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาวินิจฉัยให้
บ้านที่จังหวัดสระบุรีซึ่งเป็นที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องนั้น บุตรและภริยาจำเลยอาศัยอยู่ และยังคงใช้ชื่อยี่ห้อบ้านหลังดังกล่าวเป็นยี่ห้อร้านของจำเลย จำเลยไปมาระหว่างกรุงเทพมหานครกับบ้านหลังนี้ แสดงว่าบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ และการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องยังบ้านที่อยู่ของจำเลยตามฟ้องก็ถือได้ว่าได้ส่งยังภูมิลำเนาของจำเลยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อรับฟ้องคดีแพ่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยรับฟ้องจากข้อมูลที่ปรากฏในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 518/4อาคารสิริณี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวันกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตศาลแพ่งและเมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลแพ่งก็ระบุภูมิลำเนาของจำเลยที่เดียวกันกับที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ดังนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงไว้ก่อนว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อยู่ในเขตศาลแพ่ง โจทก์ชอบที่จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งได้ตามนัยแห่งป.วิ.พ. มาตรา 4(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยต่างประเทศ: ศาลรับฟ้องได้หากระบุชัดเจนในฟ้องและปรากฏในคดีอื่น
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงภูมิลำเนาของจำเลยไว้ชัดแจ้งแล้วว่าอยู่ในเขตศาลแพ่ง ทั้งตามฟ้องที่จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น จำเลยก็ระบุว่าตนมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่เดียวกัน ในชั้นนี้จึงฟังข้อเท็จจริงไว้ก่อนว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งตามที่โจทก์บรรยายฟ้องชอบที่จะต้องรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาจำเลยต่างประเทศ: ศาลรับฟ้องเมื่อจำเลยระบุภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง ทั้งในคำฟ้องและคดีอื่น
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องถึงภูมิลำเนาของจำเลยไว้ชัดแจ้งแล้วว่าอยู่ในเขตศาลแพ่ง ทั้งตามฟ้องที่จำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นจำเลยต่อศาลแพ่งเป็นอีกคดีหนึ่งนั้น จำเลยก็ระบุว่าตนมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่เดียวกัน ในชั้นนี้จึงฟังข้อเท็จจริงไว้ก่อนว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งตามที่โจทก์บรรยายฟ้องชอบที่จะต้องรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลสิทธิสัญชาติ: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับคำร้องและพิจารณาคดีใหม่ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยไว้ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) เรื่องเขตอำนาจศาลศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นและมีคำสั่งใหม่ได้ตามมาตรา 27
ตามพระราชบัญญติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาล คำคัดค้านของพนักงานอัยการจึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลและการมีส่วนร่วมของพนักงานอัยการในคดีสัญชาติ: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิม และคำคัดค้านของอัยการชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องมีสัญชาติไทยไว้ ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) เรื่องเขตอำนาจศาล ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นและมีคำสั่งใหม่ได้ตามมาตรา 27
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ให้อำนาจแก่พนักงานอัยการที่จะโต้แย้งคัดค้านในกรณีที่มีผู้ร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาล คำคัดค้านของพนักงานอัยการจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ เอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยดำเนินการในเรื่องคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธคำฟ้องที่ว่าจำเลยตั้ง ป.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในเรื่องนี้ จึงต้องฟังดังที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยโดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทน ตามที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป.ตัวแทนของจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 ดังนั้น โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป.ตัวแทนของจำเลยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
กรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เช่นเดียวกันถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ดุลพินิจอนุญาตฟ้องจำเลยต่อศาลที่เกิดเหตุ พิจารณาความสะดวกเป็นหลัก
กฎหมายบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นได้ต่อเมื่อการพิจารณาคดีในศาลนั้นจะเป็นการสะดวกเป็นข้อสำคัญหาใช่พิจารณาการเดินทางของจำเลยว่าไกลหรือใกล้เป็นข้อสำคัญไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การอนุญาตฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิด พิจารณาความสะดวกในการพิจารณาคดีเป็นหลัก
กฎหมายบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิขอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องจำเลยต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลนั้นได้ต่อเมื่อการพิจารณาคดีในศาลนั้นจะเป็นการสะดวกเป็นข้อสำคัญหาใช่พิจารณาการเดินทางของจำเลยว่าไกลหรือใกล้เป็นข้อสำคัญไม่.
of 8