คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 455

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การปกปิดเจตนาโกงและการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์ มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝาก ที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แล้ว เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรมถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา 456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456 ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นแต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยนิติกรรม โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่าง จำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริตเมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมซื้อขายที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิ, การบอกล้าง/สัตยาบัน, และความรับผิดของคู่กรณี
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า การทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คขีดคร่อมสั่งจ่ายเงินลงวันที่วันเดียวกับที่จดทะเบียนขายเพื่อชำระหนี้ค่าที่ดินแก่โจทก์ ปรากฏว่าเมื่อโจทก์นำเช็คดังกล่าวเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน พร้อมทั้งระบุว่าจำเลยที่ 1 ไม่คิดจะชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์และเจตนาตั้งใจจะโกงโจทก์มาตั้งแต่ต้น และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนขายฝากที่ดินดังกล่าวให้จำเลยที่ 2ทันที โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย แม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่า การแสดงเจตนาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลก็ตามแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1เกิดขึ้นเพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 โกงหรือใช้อุบายหลอกลวงโจทก์โดยปกปิดความจริงมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์โดยเจตนาไม่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์พร้อมทั้งจัดการติดต่อขายฝากที่ดินดังกล่าวที่ซื้อจากโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันจดทะเบียนขายข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ปกปิดนี้ล้วนเป็นสาระสำคัญในคุณสมบัติของจำเลยที่ 1 และถึงขนาดที่ถ้ามิได้มีการปกปิดเช่นนั้น การทำนิติกรรมขายที่ดินดังกล่าวนั้นก็คงจะมิได้กระทำทำขึ้นฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นโมฆียะ ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว
เมื่อกรณีเป็นทั้งการโต้แย้งสิทธิการทำนิติกรรมและการผิดสัญญาซื้อขาย โจทก์ย่อมมีอำนาจจะฟ้องจำเลยที่ 1 โดยเลือกฟ้องกรณีใดกรณีหนึ่งก็ได้ตามหลักของโมฆียะกรรม ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการทำนิติกรรมเพื่อให้เพิกถอนนิติกรรม ถือว่าโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมนั้น แต่ถ้าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายเพื่อให้ใช้ราคาที่ดินดังกล่าวตามสัญญาซื้อขาย ถือว่าโจทก์ให้สัตยาบันโมฆียะกรรมนั้น มิใช่โจทก์ตั้งรูปประเด็นฟ้องผิดจากข้อเท็จจริงตามฟ้อง
แม้การซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วก็ตาม แต่ ป.พ.พ.มาตรา 455 เป็นบทบัญญัติที่ระบุถึงสัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์มีความหมายเกี่ยวโยงไปถึงในเรื่องการให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 454 ส่วนมาตรา456 เป็นเรื่องแบบการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะต้องทำตามแบบที่บัญญัติไว้ในมาตรา 456 ถ้าไม่ทำตามแบบเป็นโมฆะ และแม้จะทำตามแบบตามมาตรา 456ก็ยังถือไม่ได้ว่าการซื้อขายสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมาตรา 456 มิได้บัญญัติไว้เช่นนั้น แต่การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง การซื้อขายดังกล่าวจะสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ป.พ.พ.ลักษณะ 4ว่าด้วยนิติกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในการขายฝากที่ดินแปลงพิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองเป็นการสมคบกันโดยเจตนาไม่สุจริต เมื่อเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินแปลงดังกล่าวซึ่งได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนขายอันเป็นโมฆียะโดยจำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยไม่สุจริตนั้น ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์หากยังมิได้จดทะเบียน แม้ชำระราคาและครอบครองแล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้
การซื้อขายที่ดินมีโฉนด แม้ผู้ซื้อจะชำระราคาเรียบร้อยและเข้าครอบครองที่ดินแล้วก็ตาม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อขายย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ซื้อที่ดินโฉนดพิพาทส่วนหนึ่งตามกรณีข้างต้นนี้ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินส่วนของผู้ซื้อซึ่งถูกโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ขายนำยึดบังคับชำระหนี้ เพราะแม้แต่การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังมีสิทธิยึดได้ทั้งแปลงแต่คดีนี้ผู้ร้องยังไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่โจทก์นำยึด จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์หากยังมิได้จดทะเบียน การยึดที่ดินทำได้แม้มีเจ้าของร่วม
การซื้อขายที่ดินมีโฉนด แม้ผู้ซื้อจะชำระราคาเรียบร้อยและเข้าครอบครองที่ดินแล้วก็ตาม. ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์. การซื้อขายย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย. ฉะนั้น ผู้ซื้อที่ดินโฉนดพิพาทส่วนหนึ่งตามกรณีข้างต้นนี้ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินส่วนของผู้ซื้อซึ่งถูกโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ขายนำยึดบังคับชำระหนี้. เพราะแม้แต่การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวมโดยยังมิได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ยังมีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง.แต่คดีนี้ผู้ร้องยังไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่โจทก์นำยึด จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะจดทะเบียน การยึดที่ดินของผู้ขายย่อมชอบด้วยกฎหมาย
การซื้อขายที่ดินมีโฉนด แม้ผู้ซื้อจะชำระราคาเรียบร้อยและเข้าครอบครองที่ดินแล้วก็ตาม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ การซื้อขายย่อมยังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ฉะนั้น ผู้ซื้อที่ดินโฉนดพิพาทส่วนหนึ่งตามกรณีข้างต้นนี้ย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยที่ดินส่วนของผู้ซื้อซึ่งถูกโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ขายนำยึดบังคับชำระหนี้ เพราะแม้แต่การยึดที่ดินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษากับผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์รวมโดยยังไม่ได้แบ่งกันเป็นส่วนสัดนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถึงยังมีสิทธิยึดได้ทั้งแปลง แต่คดีนี้ผู้ร้องยังไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่โจทก์นำยึด จึงไม่มีสิทธิ์ร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซื้อขาย: การชำระราคาและการโอนกรรมสิทธิ์, สิทธิเรียกร้องของผู้ขายเมื่อผู้ซื้อผิดสัญญา
ข้อตกลงในวิธีการชำระราคาและข้อตกลงให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอดๆ ไม่ใช่ในท้องตลาดแม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1329 และ 1332 ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกัน ให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้ว ให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้ เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรกซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้น หาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิ์ในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในทรัพย์สิน การซื้อขายผ่อนส่ง และผลกระทบต่อผู้ซื้อต่อจากผู้ผิดสัญญา
ข้อตกลงในวิธีการชำระราคา+ข้อตกลงให้กรรมสิทธิในทรัพย์ที่ซื้อขายให้โอนไปเมื่อใดนั้น ไม่ใช่ข้อตกลงพิเศษนอกเหนือสัญญาและไม่มีข้อกฎหมายบังคับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเช่นว่านั้นมีผลใช้บังคับได้ ดังนั้นเมื่อบุคคลอื่นได้ทรัพย์นี้ไปและทรัพย์นั้นได้มาระหว่างกันเป็นทอด ๆ ไม่ใช่ในท้องตลาด แม้จะได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็ตาม ก็หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1320 และ 1332 ไม่
โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์กู้เงินจากคนภายนอกมาซื้อโต๊ะบิลเลียดและเครื่องอุปกรณ์มอบให้จำเลยไปแล้วให้จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยรับชำระหนี้เงินกู้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์ จำเลยชำระหนี้เสร็จและได้รับสัญญากู้คืนมาเมื่อใดให้โต๊ะบิลเลียดตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยผ่อนส่งตต้นเงินแทนโจทก์ไปบ้างแล้วคงค้างอีก 6,000 บาท จำเลยจะอ้างว่าราคาโต๊ะอีก 6,000 บาทที่ค้างนี้ได้แปลงเป็นหนี้เงินกู้แล้วไม่ได้เพราะหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ที่โจทก์กู้มาแต่แรก ซึ่งจำเลยเพียงแต่รับปากว่าจะชำระแทนโจทก์เท่านั้นหาใช่ว่าได้แปลงหนี้ค่าโต๊ะบิลเลียดกับเครื่องอุปกรณ์มาเป็นสัญญากู้ยืมเงินให้จำเลยต้องรับผิดต้องชำระเงินกู้นั้นไม่ กรรมสิทธิในโต๊ะยังอยู่กับโจทก์ ๆ มีสิทธิติดตามเอาคืนมาได้ตาม ป.พ.พ.ม.1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายเรือนเพื่อรื้อถอน ไม่ต้องจดทะเบียนก็สมบูรณ์ หากผู้ซื้อสุจริตและเจ้าของร่วมยินยอม
ซื้อเรือนเพื่อรื้อไป ไม่จำต้องทำสัญญาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็สมบูรณ์
เจ้าของร่วมคนหนึ่งทำสัญญาขายทรัพย์ให้แก่เขา เขาซื้อไว้โดยสุจริตเมื่อปรากฏว่าเจ้าของร่วมคนอื่นๆ ได้รู้เห็นยินยอมในการซื้อขายนั้นด้วยการซื้อขายย่อมสมบูรณ์และผู้ซื้อได้ทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์