พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีค้ามนุษย์: จำเลยมีหน้าที่เพียงแนะนำลูกค้า ไม่ใช่ผู้ดูแลสถานการค้าประเวณี
จำเลยเป็นเพียงพนักงานคนหนึ่งในร้านที่เกิดเหตุที่ช่วยแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับหญิงที่ค้าประเวณีเท่านั้น ไม่ได้ดูแลกิจการของร้านที่เกิดเหตุทั้งหมดและไม่มีอำนาจสั่งการหรือกำหนดกฎเกณฑ์ให้หญิงค้าประเวณีปฏิบัติเพื่อกิจการการค้าประเวณี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดูแลสถานการค้าประเวณีและเป็นผู้ควบคุมผู้กระทำการค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3377/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาและสถานการค้าประเวณี ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ลงโทษเฉพาะความผิดฐานเป็นธุระจัดหา
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นและเพื่อการอนาจารและความผิดฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อกระทำการค้าประเวณีนั้น กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้ที่เป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจารหรือเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าการเป็นธุระจัดหาดังกล่าวกระทำขึ้นโดยวิธีการใด ส่วนความผิดฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณีนั้น กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้จัดการกิจการหรือสถานที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าประเวณีหรือเพื่อใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลเพื่อกระทำการค้าประเวณีเป็นการเฉพาะ ดังนี้ เมื่อสภาพแห่งความผิดทั้งสองอย่างดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้เกิดผลต่อผู้กระทำความผิดที่มีเจตนากระทำความผิดแตกต่างกันจึงเป็นความผิดต่างกรรม มิใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษา แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษทั้งสองบทในความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่นเพื่อการอนาจารและฐานเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณีตามจำนวนผู้เสียหาย รวม 4 กระทง กับฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณี อีก 1 กระทง ต่างหากได้ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี: จำเลยมีปัจจัยอื่นเพียงพอ จึงไม่ถือว่าดำรงชีพจากรายได้ดังกล่าว
จำเลยเป็นเจ้าของสถานค้าประเวณีโดยเปิดเป็นร้านอาหารอยู่ด้วย มีสุรา อาหารและเครื่องดื่มบริการขายแก่ลูกค้า และมีหญิงค้าประเวณีกินอยู่หลับนอนกับจำเลยในสถานที่ดังกล่าว แม้พึงคาดหมายได้ว่าจำเลยจะต้องได้รับเงินจากการค้าประเวณีซึ่งมีหญิงโสเภณีเป็นองค์ประกอบในการดำเนินกิจการของจำเลย รายได้ของจำเลยจึงได้จากลูกค้าที่มาเที่ยวมิใช่ได้จากหญิงที่ค้าประเวณีโดยตรง ประกอบกับจำเลยเป็นหญิงมีสามี สามีจำเลยประกอบกิจการขนส่งมีรถยนต์บรรทุกสิบล้อใช้ในกิจการถึง 3 คัน ซึ่งแม้จำเลยจะไม่มีรายได้จากกิจการค้าประเวณี ก็สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยสามี กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นหรือไม่มีปัจจัยอันเพียงพอสำหรับดำรงชีพ การกระทำของจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยดำรงชีพแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: เจ้าของสถานค้าประเวณีจัดหาหญิงเพื่ออนาจาร ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่า 18 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก กับฐานเป็นเจ้าของกิจการผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 9 เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทั้งเจ้าของกิจการร้านอาหารอันเป็นสถานการค้าประเวณีและเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีฯมาตรา 4 คำว่า จัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ก็หมายถึงการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงตาม ป.อ.มาตรา 282วรรคแรก ทั้งการตั้งสถานการค้าประเวณีก็เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี