พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องเพิกถอนมติสภาเทศบาล: ต้องมีกฎหมายบัญญัติอำนาจไว้ชัดเจน
การที่บุคคลจะใช้สิทธิทางศาลได้จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ แต่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มิได้บัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลในเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนการประชุมสภาเทศบาลและมติของที่ประชุมสภาเทศบาลไว้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำคดีมาสู่ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 เมื่อพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสภาเทศบาลไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำบทบัญญัติ มาตรา 1195 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีแต่งตั้งเทศมนตรี: สิทธิสมาชิกสภาเทศบาลและการขาดบทบัญญัติทางกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีก็โดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาลส่วนใหญ่ในที่ประชุมสภาเทศบาล จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งของโจทก์ที่ 3 ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ทั้งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลขอให้บังคับผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไว้แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้นโจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องการแต่งตั้งเทศมนตรี: ต้องมีสิทธิหรือหน้าที่ถูกละเมิด หรือมีกฎหมายรองรับการใช้สิทธิทางศาล
เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง จำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ก็โดยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาลส่วนใหญ่ในที่ประชุมสภาเทศบาลจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งของโจทก์ที่ 3ในฐานะที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ทั้งตามพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 หาได้มีบทบัญญัติให้บุคคลใช้สิทธิทางศาลขอให้บังคับผู้ว่าราชการจังหวัดเพิกถอนการแต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีไว้แต่อย่างใดไม่ ฉะนั้น โจทก์ที่ 3 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐร่วมกันแก้ไขคุณสมบัติผู้สมัครสอบครู ทำให้ผู้สอบได้รายอื่นเสียประโยชน์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกันออกประกาศเพิ่มเติมคุณวุฒิของผู้สมัครสอบแข่งขันภายหลังครบระยะเวลารับสมัคร เพื่อแสดงว่า ส.มีวุฒิตามประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานครูเทศบาล ซึ่งตามประกาศเดิมแล้ว ส.มีวุฒิไม่ตรงตามที่ทางราชการกำหนด เมื่อ ส. สอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุได้รับความเสียหายการกระทำของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนอำนาจชี้ขาดประเมินภาษีโรงเรือนฯ จากอธิบดีกรมสรรพากร มาเป็นคณะเทศมนตรี ตามกฎหมายเทศบาล
อำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม มาตรา 25 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475ซึ่งเป็นของอธิบดีกรมสรรพากรตกมาเป็นของคณะเทศมนตรีตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และ พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเช่าที่ดิน, การเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลของหน่วยงานรัฐ, และการประวิงคดี
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้ เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวงประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวงเทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบยกเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โดยได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่า, นิติสัมพันธ์เทศบาล/กรุงเทพมหานคร, การประวิงคดี และค่าเสียหายจากการ占ครองพื้นที่
การที่จำเลยเช่าที่ดินบริเวณสวนลุมพินีกับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์คราวละ 1 ปีนั้น เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ หากเช่าเกินกว่า 1 ปี ต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยก่อน เช่นนี้เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่ากระทรวงมหาดไทยให้โจทก์มีอำนาจให้เช่าที่พิพาทได้คราวละ 1 ปี โจทก์จึงมีสิทธิให้จำเลยเช่าที่พิพาทได้เมื่อโจทก์มีสิทธิให้เช่าแล้วโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้เช่าตามสัญญาได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
เดิมเทศบาลนครกรุงเทพเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย แต่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรี จัดตั้งเป็นเทศบาลนครหลวง ประกาศของคณะปฏิวัติมีสภาพเป็นกฎหมายและตามประกาศฉบับนี้ข้อ 6 ให้เทศบาลนครหลวงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล และข้อ 13 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยเทศบาล กฏกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งเกี่ยวกับเทศบาลมาใช้บังคับแก่เทศบาลนครหลวงโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับประกาศของ คณะปฏิวัติฉบับนี้ และคำว่าเทศบาลในกฎหมายดังกล่าวให้หมายรวมถึงเทศบาลนครหลวงด้วย เช่นนี้ตามข้อบัญญัติแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวย่อมแปลได้ว่าเทศบาลนครหลวงเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 เมื่อรวมเทศบาลกรุงเทพ เทศบาลธนบุรี เป็นเทศบาลนครหลวงแล้วสิทธิและหน้าที่ของเทศบาลนครกรุงเทพที่ได้ทำไว้แต่เดิมจึงเปลี่ยนมาเป็นของเทศบาลนครหลวง เทศบาลนครหลวงจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครกรุงเทพได้ อนึ่ง ปรากฏต่อมาว่าขณะที่คดีนี้ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบเลิกไปโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ได้มีการจัดระเบียบบริหารใหม่ให้เป็นกรุงเทพมหานคร และให้ถือเป็นจังหวัดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 48 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยให้โอนกิจการทรัพย์สิน หนี้ ฯลฯ ของเทศบาลนครหลวงไปเป็นของกรุงเทพมหานครซึ่งมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารตามนโยบายของรัฐบาล ฯลฯ จึงถือได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานครโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงมีสิทธิดำเนินคดีต่อจากเทศบาลนครหลวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจให้เช่าทรัพย์สาธารณะ & ความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญาแม้ห้างเลิก & เจตนาปิดบัง
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชนอยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513 จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้วก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513 จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้วก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินสาธารณะ สัญญาประนีประนอมยอมความ และความรับผิดของผู้ลงชื่อสัญญา แม้บริษัทเลิกกิจการ
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของสวนลุมพินีซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกให้เป็นวนะสาธารณ์สำหรับประชาชน อยู่ในความดูแลรักษาของกรมนคราทร กระทรวงมหาดไทย เทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาให้เป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนพักผ่อนหย่อนใจดังนั้นเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ย่อมมีสิทธิเอาที่พิพาทให้เช่าเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายปรับปรุงสวนลุมพินีให้อยู่ในสภาพเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิมได้ ไม่ขัดพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นคู่สัญญาเช่ากับเทศบาลนครกรุงเทพโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1จดทะเบียนเลิกห้างฯ โดยไม่มีการชำระบัญชีแต่ในการต่อสัญญาปีต่อ ๆ มา จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วก็ยังใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเหล่านั้นในฐานะผู้จัดการและดำเนินกิจการค้าและใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เดิมตลอดมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาในปี 2513จำเลยที่ 2 ก็ได้ติดต่อกับโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า และทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และอาศัยชื่อจำเลยที่ 1เป็นคู่สัญญากับโจทก์ และจำเลย ที่ 2 เป็นผู้ลงชื่อในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1 อยู่เช่นเดิม หาได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าห้างฯ จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯแล้วไม่พฤติการณ์ดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาปิดบังแอบอ้างอาศัยใช้ชื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญากับโจทก์เพื่อกิจการค้าของจำเลยที่ 2 หรือเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 เองดังนั้นแม้ว่าสัญญาประนีประนอมยอมความจะไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างฯ แล้ว ก็ตามแต่สัญญานั้นก็ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นผู้ลงชื่อในสัญญานั้นจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยคำสั่งรื้ออาคาร กรณีจำเลยอ้างเป็นเพียงผู้รับเหมา
การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารที่สร้างขึ้นผิดเทศบัญญัติและจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นเพียงรับเหมาก่อสร้าง เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มอบอาคารให้เจ้าของ มีผู้เช่าเต็ม ดังนี้ แม้จะฟังว่าการสร้างอาคารไม่มีอนุญาตจริง ก็ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยต่อสู้ไว้เสียก่อนที่จะวินิจฉัยถึงปัญหาอื่นว่าจะสั่งให้รื้อหรือไม่