พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของแนวเขต, การจ่ายค่าทดแทน, และการดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่างอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฏ.ฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหาร อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 18และมาตรา 19 (1) และ (2) (ง) การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพเทศบาลและการสมัครรับเลือกตั้งที่ไร้ผล
เมื่อได้มี พ.ร.ฎ จัดตั้งเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2538 เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลวารินชำราบเป็นเทศบาลเมืองวารินชำราบประกาศใช้ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน2538 ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2538 เป็นต้นไป เทศบาลตำบลวารินชำราบจึงเป็นอันพ้นจากสภาพแห่งเทศบาลเดิม ตาม พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 13 วรรคสอง การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ กำหนดวันรับสมัครตั้งแต่วันที่ 25กันยายน 2538 จึงเป็นอันสิ้นผลไปในตัว เมื่อโจทก์ทั้งสองสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบ ในวันที่ 25 กันยายน 2538 ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี แต่สภาเทศบาลตำบลวารินชำราบพ้นสภาพไปในวันนั้นแล้ว การสมัครของโจทก์ทั้งสองเป็นอันสิ้นผลไปด้วย ไม่มีทางที่จะทำให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลตำบลวารินชำราบไปได้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจจำเลยทั้งสามที่จะวินิจฉัยสั่งการยกเลิกหรือถอนการสมัครรับเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสองไว้โดยตรงหรือไม่ก็ตาม ความเสียหายของโจทก์ทั้งสองตามฟ้องก็หาเป็นผลมาจากการวินิจฉัยสั่งการของจำเลยทั้งสามเช่นนั้นไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขออนุญาตก่อสร้างและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีแบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงข้อจำกัดตามกฎหมาย
การขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและให้จำเลยออกใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารให้ เป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะเป็นผู้ขอรับใบอนุญาตไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่งซึ่งตามมาตรา 52 บัญญัติให้ผู้ขอรับใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ให้เสนอคดีต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ทันที จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาข้ามขั้นตอนของกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ 154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่ 17851 ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ 1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2502 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ตามประกาศดังกล่าวในข้อ 2 (2) กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดิน
การขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจงใจกระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์เสียหาย ซึ่งเป็นดังที่โจทก์อ้าง ถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิด และต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างคือที่ดินโฉนดเลขที่ 154651เป็นที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจากโฉนดเลขที่ 17851 ซึ่งแต่เดิมอยู่ติดซอยวิทยุ 1การปลูกสร้างอาคารบนที่ดินดังกล่าวต้องอยู่ในบังคับเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง กำหนดบริเวณซึ่งอาคารบางชนิดจะปลูกสร้างขึ้นไม่ได้ (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2502 และประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การผ่อนผันการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ฉบับลงวันที่ 5 ตุลาคม 2528 ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2517) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ตามประกาศดังกล่าวในข้อ 2 (2) กำหนดให้อาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ให้มีระยะร่นโดยรอบอาคารจากแนวเขตที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. และการวางเงินชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจ-กฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมิน, สิ่งปลูกสร้างหลังเวนคืน, และขอบเขตค่าทดแทนตามกฎหมาย
พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ (พ.ศ.2526) มิได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (2) คือ เงินค่าทดแทนจะต้องกำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาของทรัพย์สินตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ คือ วันที่ 29 พฤษภาคม 2517แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าในวันเวลาดังกล่าวที่ดินของโจทก์มีราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจำนวนเท่าใด ที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงมีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวาโจทก์ซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ.2521 ในราคา 11 ล้านบาทเศษ ถูกเวนคืนเพียง 3 ไร่2 งาน 48 ตารางวา การที่จำเลยนำบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งมีผลใช้บังคับใน พ.ศ.2524 มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เป็นเงิน 8,140,337 บาท อันเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับราคาที่ดินทั้งแปลงที่โจทก์ซื้อมา จำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงน่าจะไม่ต่ำกว่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวใช้บังคับ ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดจึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
การปรับปรุงที่ดิน การทำถนนและอาคารโครงเหล็กตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนล้วนแล้วแต่ได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากกรมทางหลวงก็ดี และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ดี ผู้ออกใบอนุญาตเช่นว่านั้น หาได้กระทำไปในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 74 (2)กำหนดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
การปรับปรุงที่ดิน การทำถนนและอาคารโครงเหล็กตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนล้วนแล้วแต่ได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากกรมทางหลวงก็ดี และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ดี ผู้ออกใบอนุญาตเช่นว่านั้น หาได้กระทำไปในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 74 (2)กำหนดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเวนคืนและค่าทดแทน: ผู้ว่าฯ กทม.มอบอำนาจได้, การพิสูจน์ราคาซื้อขายเพื่อกำหนดค่าทดแทน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 และ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ -แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 4 ดำเนินการสำรวจออกแบบและกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 64 (2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท ในการจ่ายค่าทดแทนหากจำเลยที่ 4 ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์กำหนดค่าทดแทนไม่ถูกต้อง ก็ต้องถือว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้
คดีที่ฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นการนำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงให้ประจักษ์เพื่อเป็นหลักในการกำหนดราคาทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คดีที่ฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย เพราะเป็นการนำสืบถึงราคาซื้อขายที่แท้จริงให้ประจักษ์เพื่อเป็นหลักในการกำหนดราคาทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2458/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: แม้ผู้ว่าฯ ทำหน้าที่แทน แต่จำเลยในฐานะนิติบุคคลต้องรับผิดชอบ
ทางหลวงที่จะสร้างตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมถนนสุขุมวิท 39 (พร้อมพงษ์) กับถนนเพชรบุรี พ.ศ.2524 เป็นทางหลวงเทศบาลอันเป็นเรื่องที่อยู่ในกิจการของกรุงเทพมหานครจำเลยจะต้องดำเนินการ แต่จำเลยเป็นนิติบุคคลการดำเนินการต่าง ๆ จึงต้องดำเนินการโดยผู้แทนทั้งหลายของจำเลย ดังนั้น การที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือบทกฎหมายกำหนดอำนาจไว้ให้เป็นของเจ้าหน้าที่ก็ดีนั้นก็เป็นการกำหนดตัวบุคคลผู้จะต้องปฏิบัติแทนนิติบุคคลนั้นในฐานะผู้แทนทั้งหลาย ในเมื่อการกระทำของผู้แทนทั้งหลายของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเวนคืนที่ดินต้องเป็นราคาตลาด ไม่ใช่ราคาประเมินของกรมที่ดิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ฯ ข้อ 23 วรรคสุดท้าย กำหนดให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษด้วยและ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยทางหลวงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือ ขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้นถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน บริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นทางพิเศษตามราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน พ.ศ. 2524 มิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับการกำหนดราคาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย