พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิในการรับค่าทำขวัญ, การหักราคาที่ดินที่สูงขึ้น, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ กรณีนี้พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะ มาตรา 42 บัญญัติให้บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งมาตรา 14บัญญัติให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักกับค่าทดแทน จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำราคาที่ดินที่ทวีขึ้นเพราะการตัดถนนตามพระราชบัญญัติเวนคืนมาหักกับเงินค่าทำขวัญซึ่งจะจ่ายแก่โจทก์ได้
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การเรียกเงินค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 กับการขอรับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เป็นคนละกรณีกัน เพราะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 นั้น เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ แม้จะยังไม่ได้ชำระค่าทำขวัญ และการกำหนดค่าทำขวัญ มาตรา 53 ก็ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แต่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อได้ใช้เงินหรือวางเงินทดแทน การกำหนดค่าทดแทนก็ให้ตกลงราคากันก่อนตามมาตรา 22 หากตกลงกันไม่ได้ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือกำหนดราคาเด็ดขาดไปให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบตามมาตรา 23 ถ้าไม่มีคำสนองรับจากเจ้าของที่ดิน แต่ละฝ่ายจึงมีสิทธิขอเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการ ถ้าผู้มีสิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนไม่เสนอขอตั้งอนุญาโตตุลาการดังกล่าวภายในหกเดือน จึงให้ถือราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นค่าทดแทนตามมาตรา 24 การกำหนดค่าทดแทนมีวิธีการเป็นลำดับดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นคนละอย่างกับวิธีการเรียกเงินค่าทำขวัญ ฉะนั้น ในการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล จึงต้องบังคับตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2482 จะนำบทบัญญัติมาตรา 23 และ 24 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 มาใช้บังคับหาได้ไม่
การเรียกดอกเบี้ยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 นั้น เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ค่าทดแทน จะนำมาบังคับในกรณีเรียกค่าทำขวัญมิได้ แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทำขวัญที่ดินจากจำเลยและโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามกำหนดเวลาให้จำเลยชำระเงินแล้ว จำเลยไม่ยอมชำระ จึงเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ย่อมคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกภาพ ส.ส.ท. เริ่มเมื่อประกาศผลเลือกตั้ง เงินค่าป่วยการเริ่มเมื่อเข้ารับหน้าที่ (ปฏิญาณตน)
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้ได้รับเลือกตั้งนั้นเริ่มแต่วันที่เทศบาลประกาศผลของการเลือกตั้ง มิใช่เริ่มแต่วันปฏิญาณตนเข้ารับหน้าที่
เงินค่าป่วยการซึ่งจะจ่ายให้แก่สมาชิกสภาเทศบาลตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ นั้น มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาล มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าป่วยการจึงเริ่มแต่วันเข้ารับหน้าที่เป็นต้นไป มิใช่วันเริ่มสมาชิกภาพ
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 17 สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลก่อนเข้ารับหน้าที่ จึงต้องถือว่าสมาชิกสภาเทศบาลเข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันปฏิญาณตน และมีสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการตามส่วน นับแต่วันดังกล่าวโดยคำนวณจากเงินค่าป่วยการรายเดือน
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินค่าป่วยการฯ ที่ว่าให้สมาชิกสภาเทศบาลได้รับเงินค่าป่วยการเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงกำหนดเวลาจ่ายเงินค่าป่วยการไว้ว่าให้จ่ายเป็นเดือน ๆ ไป หาได้หมายความเลยไปถึงว่า แม้ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลก็มีสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการ (เต็มทั้งเดือน) ด้วยไม่
เงินค่าป่วยการซึ่งจะจ่ายให้แก่สมาชิกสภาเทศบาลตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยฯ นั้น มีลักษณะเป็นเงินตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาเทศบาล มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าป่วยการจึงเริ่มแต่วันเข้ารับหน้าที่เป็นต้นไป มิใช่วันเริ่มสมาชิกภาพ
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 17 สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลก่อนเข้ารับหน้าที่ จึงต้องถือว่าสมาชิกสภาเทศบาลเข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันปฏิญาณตน และมีสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการตามส่วน นับแต่วันดังกล่าวโดยคำนวณจากเงินค่าป่วยการรายเดือน
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินค่าป่วยการฯ ที่ว่าให้สมาชิกสภาเทศบาลได้รับเงินค่าป่วยการเป็นรายเดือนนั้น เป็นเพียงกำหนดเวลาจ่ายเงินค่าป่วยการไว้ว่าให้จ่ายเป็นเดือน ๆ ไป หาได้หมายความเลยไปถึงว่า แม้ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลก็มีสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการ (เต็มทั้งเดือน) ด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 763-766/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การ ‘ตั้งบ้านเรือน’ ตามกฎหมายเทศบาล พิจารณาจาก ‘ที่อยู่เป็นปกติ’ ในเขตเทศบาล แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน
คำว่า ตั้งบ้านเรือนตามความหมายของ พ.ร.บ.เทศบาล 2486 หรือ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2492 นั้น ต้องตีความว่า มีความหมายตลอดไปถึงบุคคลที่อยู่ในเคหะสถานบ้านเรือนของผู้อื่นด้วย จะหมายเฉพาะแต่ผู้เป็นเจ้าของบ้านของตนเองเท่านั้นหาได้ไม่ ฉะนั้นการตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลตามกฎหมายเกี่ยวกับเทศบาล จึงมีความหมายเกียวกับการเทศบาล จึงมีความหมายถึงการที่บุคคลมีที่อยู่เป็นปรกติในเคหะสถานใด ๆ ในเขตเทศบาลนั่นเอง ซึ่งย่อมตรงกับคำว่าเจ้าบ้านและผู้อยู่ในบ้าน ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาล พ.ศ.2479
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่า ผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฎในทะเบียนราษฎรเป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิศูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้ จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่
การที่มีชื่อผู้ใดเป็นผู้อยู่ในบ้านตามทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลนั้น ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่า ผู้นั้นได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตเทศบาลนั้น ฉะนั้นเพียงแต่ได้ความว่า ผู้นั้นไปได้ภรรยาที่ตำบลอื่นหรือไปมีบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลอื่นโดยมิได้ความว่าผู้นั้นได้ละทิ้งที่อยู่เดิมในเขตเทศบาลตามที่ปรากฎในทะเบียนราษฎรเป็นที่อยู่ต่อไปแล้ว ก็จะฟังเป็นข้อพิศูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วไม่ได้ จึงต้องฟังว่าผู้นั้นยังมีที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1810/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัดให้เรียกประชุมสมาชิกเทศบาลเป็นอันไร้ผลเมื่อข้าหลวงฯ ย้ายไปแล้ว
สมาชิกเทศบาลฟ้องข้าหลวงประจำจังหวัด นั้นโดยระบุชื่อข้าหลวงประจำจังหวัดในฐานะข้าหลวงประจำจังหวัดนั้นเป็นจำเลยขอให้ศาลสั่งให้จำเลยเรียกประชุมสมาชิกเทศบาลตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2486 มาตรา 33 เมื่อปรากฎว่าข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นย้ายไปจังหวัดอื่นเสียแล้วแม้ฟ้องดังกล่าวศาลจะรับวินิจฉัยได้ ก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ข้าหลวงประจำจังหวัดผู้นั้นจัดให้มีการประชุมตามคำขอของโจทก์ได้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นอันไร้ผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: โอนจากสภาฯสู่เทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดไม่มีอำนาจ
ที่ดินซึ่งอยู่ในความครอบครองจัดการของสภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตวันตก ซึ่งต่อมาได้มีกฎหมายโอนกิจการอำนาจและหน้าที่ของสภานี้ให้แก่เทศบาลนั้น การฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินแปบงนี้ เช่นฟ้องขับไล่ผู้ที่อาศัยอยู่ในแปลงนี้ ย่อมตกเป็นอำนาจและหน้าที่ของเทศบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหามีอำนาจฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ก่อสร้างอาคารล้ำหลังคา และสิทธิในการฟ้องร้องเมื่อไม่ละเมิดสิทธิ
การที่ยอมให้ผู้ครอบครองที่ดินใกล้เคียงปลูกอาคาร หลังคาเหลื่อมล้ำคลุมหลังคาเรือนของตนบางส่วนเช่นนี้ ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องขอให้รื้อถอนไป และแม้ผู้ปลูกสร้างอาคารในที่ดินใกล้เคียงจะปลูกผิดเทศบัญญัติก็ดี หากมิได้ละเมิดสิทธิโจทก์ ๆ ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 284/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศมนตรีลักทรัพย์ของเทศบาล แม้คืนเงินก็ยังเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
เทศมนตรีไปที่โรงเก็บของของเทศบาล บอกแก่ผู้เก็บรักษาว่าจะเอาไปซ่อม แล้วเอาของนั้นไปโดนเจตนาทุจจริตนั้น เป็นผิดฐานลักทรัพย์
เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปขายโดยเจตนาทุจจริต แม้จะเอาเงินมา+ให้เจ้าของบ้าง ก็คงเป็นผิดฐานลักทรัพย์
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเทศมนตรีเอาทรัพย์ของเทศบาลไปขายโดยเจตนาทุจจริต อันเป็นผิดตามมาตรา 132 นั้น ถ้ามิได้ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับของนั้นอย่างไรแล้ว จะลงโทษตาม ม.132ไม่ได้
ในการกระทำอันเดียวกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์และฐานเจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ ศาลชั้นต้นยกข้อหาฐานลักทรัพย์ แต่ให้ลงโทษฐานทุจจริตต่อหน้าที่ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาฝ่ายเดียว เมื่อศาลสูงเห็นว่าการกระทำนั้น ไม่เป็นผิดฐานทุจจริตต่อหน้าที่ แต่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ ดังนี้ย่อมลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้
เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปขายโดยเจตนาทุจจริต แม้จะเอาเงินมา+ให้เจ้าของบ้าง ก็คงเป็นผิดฐานลักทรัพย์
ฟ้องว่าจำเลยเป็นเทศมนตรีเอาทรัพย์ของเทศบาลไปขายโดยเจตนาทุจจริต อันเป็นผิดตามมาตรา 132 นั้น ถ้ามิได้ระบุว่าจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับของนั้นอย่างไรแล้ว จะลงโทษตาม ม.132ไม่ได้
ในการกระทำอันเดียวกัน โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์และฐานเจ้าพนักงานทุจจริตต่อหน้าที่ ศาลชั้นต้นยกข้อหาฐานลักทรัพย์ แต่ให้ลงโทษฐานทุจจริตต่อหน้าที่ จำเลยอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาฝ่ายเดียว เมื่อศาลสูงเห็นว่าการกระทำนั้น ไม่เป็นผิดฐานทุจจริตต่อหน้าที่ แต่เป็นผิดฐานลักทรัพย์ ดังนี้ย่อมลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ได้