คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้เข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เนื่องจากอาจทำให้พยานหลักฐานเสียหาย
โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยอาจทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียหายได้จึงไม่เป็นการสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5139/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ภริยาจำเลยไม่อาจเป็นผู้ดำเนินคดีได้เนื่องจากอาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตาย ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลย อาจทำให้พยานหลักฐานโจทก์เสียหายได้ จึงไม่เป็นการสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์คดีแพ่ง-อาญา, ผู้เสียหาย, การผูกพันตามคำพิพากษา, และการพิจารณาพยานหลักฐานใหม่
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลผู้ตายค่าปลงศพผู้ตายรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆและค่าขาดไร้อุปการะเนื่องจากเหตุที่ผู้ตายได้รับอันตรายแก่ร่างกายและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมานั้นเป็นปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายหรือไม่อันเป็นประเด็นในคดีอาญาที่พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4),5(2)ในส่วนนี้จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46แม้โจทก์จะมิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วยโจทก์ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญานั้น โจทก์ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการที่ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโดยพิจารณาตามคำฟ้องที่ได้บรรยายว่าผู้ตายได้กระทำผิดด้วยโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์เป็นการวินิจฉัยว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องนั้นได้หรือไม่มิใช่เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีที่จะถือเป็นยุติว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายดังนั้นในข้อหาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่ากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายอันเป็นประเด็นโดยตรงที่จำเลยถูกฟ้องยังต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายตามนัยบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นการที่โจทก์มิได้เข้าเป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่เกิดผลที่จะให้ศาลในคดีส่วนแพ่งไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ส่วนในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์ของโจทก์เป็นเงิน20,113บาทกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางของโจทก์เพื่อติดต่อสอบถามดำเนินการอันเนื่องมาจากเหตุรถชนกันเป็นเงิน5,000บาทนั้นเป็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทำละเมิดต่อตัวทรัพย์ของโจทก์หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา291ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจำเลยโดยเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับข้อหาที่จำเลยถูกฟ้องตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,157ที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายดังนั้นในส่วนนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่เป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่จากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบกันมาในสำนวนคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1833/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น ต้องมีคำขอตั้งแต่ในฟ้อง หรือก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เกี่ยวกับกำหนดเวลาจำคุกผู้กระทำผิดตามคำพิพากษานั้นกฎหมายอาญา มาตรา 72 บัญญัตินับแต่วันต้องคุมขัง เว้นแต่ในคำพิพากษาจะสั่งเป็นอย่างอื่น เช่นสั่งให้นับแต่วันคดีถึงที่สุดเป็นต้น
แต่ถ้าจะสั่งให้นับต่อจากคดีเรื่องอื่นก็จำต้องมีคำขอเช่นนั้น ซึ่งโดยปกติโจทก์ต้องขอมาในฟ้อง ถ้าจะขอภายหลังก็ต้องขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 แม้ มาตรา 215 จะให้นำบทบัญญัติที่ว่าด้วยการพิจารณาและว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นมาบังคับในชั้นศาลอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลมก็ดี มาตรา 163 ก็อยู่ในลักษณะฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้องหาได้อยู่ในลักษณะการพิจารณาไม่ จึงอาศัยความในมาตรานี้นับโทษต่อให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1833/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกต่อจากคดีอื่น ต้องมีคำขอในฟ้องหรือก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เกี่ยวกับกำหนดเวลาจำคุกผู้กระทำผิดตามคำพิพากษานั้น ก.ม.อาญา ม.32 บัญญัตินับแต่วันต้องคุมขัง เว้นแต่ในคำพิพากษาจะสั่งเป็นอย่างอื่น เช่นสั่งให้นับแต่วันคดีถึงที่สุดเป็นต้น
แต่ถ้าจะสั่งให้นับต่อจากคดีเรื่องอื่นก็จำต้องมีคำขอเช่นนั้น ซึ่งโดยปกติโจทก์ต้องขอมาในฟ้อง ถ้าจะขอภายหลังก็ต้องขอก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม ป.วิ.อาญา ม.163 แม้ ม.215 จะให้นำบทบัญญัติที่ว่าด้วยการพิจารณาและว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นมาบังคับในชั้นศาลอุทธรณ์ด้วยโดยอนุโลมก็ดี ม.163 ก็อยู่ในลักษณะฟ้องคดีอาญาและไต่สวนมูลฟ้องหาได้อยู่ในลักษณะการพิจารณาไม่ จึงอาศัยความในมาตรานี้นับโทษต่อให้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีอื่น ต้องมีหลักฐานแสดงว่าจำเลยต้องรับโทษในคดีนั้นจริง
โจทก์ขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อคดีดำคดี+นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องรับโทษอยู่ในคดีดังกล่าวนั้นหรือไม่ ดังนี้ศาล+นับโทษต่อให้มิได้
การขอให้นับโทษต่อจากคดีอื่น จะต้องระบุคดีนั้นในใบระบุพะยานด้วย