พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงและแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายและฐานความผิด
จำเลยเอาที่ดินของโจทก์ไปจำนองไว้กับสหกรณ์โดยจำเลยใช้อุบายหลอกลวงกล่าวเท็จกับพนักงานสหกรณ์ว่าเป็นที่ดินของจำเลย พนักงานสหกรณ์หลงเชื่อจึงยอมรับจำนองที่ดินไว้ และจ่ายเงินแก่จำเลยไป ดังนี้ เป็นเรื่องจำเลยฉ้อโกงสหกรณ์ โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ถูกหลอกลวงฉ้อโกง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงได้ แต่ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต่อพนักงานสหกรณ์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายเหมือนกัน โจทก์จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความเท็จ ต่อเจ้าพนักงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้สินบลไม่มีสิทธิฟ้องผู้รับสินบล แม้ถูกบังคับให้จ่ายเงิน
ความผิดฐานรับสินบลตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 138 นั้น ผู้ให้สินบลไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้ลงโทษผู้รับสินบลในฐานะเป็นผู้เสียหายได้.
(อ้างฎีกาที่ 968/2479)
(อ้างฎีกาที่ 968/2479)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ถูกหลอกลวงมีอำนาจร้องทุกข์ แม้เงินที่จ่ายไปมิใช่ของตนเอง
ในคดีฉ้อโกงเงินนั้น เมื่อผู้ถูกหลอกลวงเชื่ออุบายจำเลยได้จ่ายเงินให้แก่ฝ่ายจำเลย จะเป็นเงินของผู้ถูกหลอกลวงเองหรือหยิบยืมมาจากใคร จะทำเป็นหนังสืออย่างใด หรือไม่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่าผู้ถูกหลอกลวงเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจที่จะร้องทุกข์ได้ตามกฎหมาย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิไม่เป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง หากไม่ได้ถูกหลอกลวงโดยตรง
องค์สำคัญแห่งความผิดตาม ก.ม.อาญามาตรา 306 คือ การฉ้อโกงซึ่งตามมาตรา 304 ว่าต้องมีการหลอกลวง ฯลฯ ผู้ที่ถูกหลอกลวงตามมาตรา 306(4) ก็คือ ผู้ซื้อ ผู้รับทรัพย์ ไว้เป็นประกัน ผู้รับจำนำ ผู้รับจำหน่าย เจ้าของกรรมสิทธิในทรัพย์ หาได้ถูกหลอกลวงไม่ ฉะนั้นเจ้าของกรรมสิทธิจึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องผู้ฉ้อโกงเป็นคดีอาญา.