คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณประโยชน์ & ภารจำยอม: การอุทิศที่ดินโดยปริยาย, การละเมิด, ค่าเสียหาย
บรรยายฟ้องว่าทางเดินตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์และตอนต่อไปบรรยายว่าทางเดินนี้ตกเป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะทางเดินอาจตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินรายอื่น และก็อาจกลายสภาพเป็นทางสาธารณะได้ ซึ่งเมื่อเป็นทางเดินสาธารณะแล้วสิทธิในภารจำยอมของเจ้าของที่ดินรายอื่นก็ย่อมถูกกลืนหมดสภาพไปในตัว
พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
รับซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมได้อุทิศบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปโดยปริยายแล้ว แม้ที่ดินส่วนนั้นจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินที่รับซื้อไว้ ผู้ซื้อที่ดินนั้นก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาเป็นของตนได้ และแม้จะมีผู้ทำหลังคาและชายคารุกล้ำที่ดินส่วนนั้น ผู้ซื้อที่ดินก็มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องให้ตัดหลังคาและชายคาได้
กั้นรั้วสังกะสีปิดหน้าบ้านของโจทก์จนโจทก์ไม่มีทางที่จะออกไปสู่ทางสาธารณประโยชน์ และทำการค้าขายไม่ได้ตามที่เคย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของจำเลยตั้งแต่วันฟ้องซึ่งศาลพิพากษาบังคับให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(4) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางสาธารณประโยชน์ & ภารจำยอม: การอุทิศที่ดินโดยปริยาย & การละเมิดสิทธิในการใช้ทาง
บรรยายฟ้องว่าทางเดินตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ และตอนต่อไปบรรยายว่าทางเดินนี้ตกเป็นทางสาธารณะประโยชน์แล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะทางเดินอาจตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินรายอื่น และก็อาจกลายสภาพเป็นทางสาธารณได้ ซึ่งเมื่อเป็นทางเดินสาธารณะแล้ว สิทธิ์ในภารจำยอมของเจ้าของที่ดินรายอื่นก็ย่อมถูกกลืนหมดสภาพไปในตัว
พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยาย
รับซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมได้อุทิศบางส่วนให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ไปโดยปริยายแล้ว แม้ที่ดินส่วนนั้นจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินที่รับซื้อไว้ ผู้ซื้อที่ดินนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดถือเอาเป็นของตนได้ และแม้จะมีผู้ทำหลังคาและชายคารุกล้ำที่ดินส่วนนั้นผู้ซื้อที่ดินก็มิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องให้ตัดหลังคาและชายคาได้
กั้นรั้วสังกะสีปิดหน้าบ้านของโจทก์จนโจทก์ไม่มีทางที่จะออกไปสู่ทางสาธารณประโยชน์และทำการค้าขายไม่ได้ตามที่เคย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดของจำเลยตั้งแต่วันฟ้อง ซึ่งศาลพิพากษาบังคับให้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (4) ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตึกที่ไม่ได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ และผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วนั้น เป็นสัญญาที่มีผลผูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญา สัญญานั้นจึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับจำเลยเมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกรายพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้ ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับๆละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียวมีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้วโดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่1593/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857-859/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้เช่าเมื่อสัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับผู้ให้เช่ารายใหม่สิ้นสุด และผลของการไม่จดทะเบียนสัญญาเช่า
สัญญาที่เจ้าของที่ดินให้ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกรายพิพาท แล้วให้ตึกพิพาทตกเป็นของเจ้าของที่ดินแต่ให้ผู้เช่าที่ดินเอาตึกไปให้ผู้อื่นเช่าได้มีกำหนดระยะเวลา 6 ปี สัญญานี้ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว นั้น เป็นสัญญาที่มีผลพูกพันเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินเท่านั้น ส่วนจำเลยที่มีสิทธิเข้ามาอยู่ในตึกรายพิพาทได้ก็โดยอาศัยสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินที่ปลูกตึกพิพาทต่างหาก จำเลยจะมีสิทธิอยู่ในตึกรายพิพาทได้แค่ไหนเพียงใดนั้น ย่อมจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดที่จะยกเอาสัญญาที่เจ้าของที่ดินทำกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมายันเจ้าของที่ดินได้เพราะจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาสัญญานั้น จึงไม่มีข้อผูกพันเกี่ยวข้องกับเลย เมื่อสัญญาปลูกสร้างตึกพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทระงับไปแล้ว เจ้าของที่ดินซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในตึกพิพาทย่อมจะรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีอยู่ตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย จำเลย 3 สำนวนนี้
ได้ทำสัญญาเช่าตึกรายพิพาทแต่ละห้องไว้กับผู้เช่าที่ดินปลูกตึกพิพาทมีกำหนดเวลาเช่า 6 ปี จะทำสัญญาเช่าเป็น 2 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี หรือจะทำเป็นฉบับเดียว มีกำหนด 6 ปี ก็ตาม เมื่อไม่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่านั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วสัญญาเช่านั้นก็คงใช้ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น เมื่อจำเลยผู้เช่ามาครบกำหนด 3 ปีแล้วและห้องเช่าไม่ใช่เคหะที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ และเจ้าของที่ดินได้บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้ว เจ้าของที่ดินก็ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องขอเรียกเป็นค่าเช่า แต่ถ้าตามสภาพของคำฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยยังคงขืนอยู่ในห้องของโจทก์ในเมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวแล้ว โดยชอบ ให้จำเลยคืนห้องให้โจทก์ ศาลก็ย่อมให้จำเลยชดใช้เป็นค่าเสียหายได้ (อ้างฎีกาที่ 1593/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายต่อเนื่องจากการผิดสัญญา คดีเข้าข่าย ม.142(4) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ค่าธรรมเนียมไม่จำกัดสิทธิเรียกร้อง
โจทก์ฟ้องและเรียกนาคืนและค่าเสียหายเป็นรายปี ตั้งแต่ปีที่ฟ้องจำเลยจนกว่าจะส่งคืน โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าเสียหายในปีที่ฟ้องเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายรายปีต่อไประหว่างที่ยังไม่ส่งคืน ไม่ต้องเสียเพราะคดีเข้าลักษณะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการบังคับชำระค่าเช่าและการยกเว้นความรับผิดเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย คำนวนถึงวันฟ้อง+เห็นสมควร ศาลจะพิพากษา+ค่าเช่าหรือค่าเสียหาย+ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษา +ป.วิ.แพ่ง ม.142(4) ให้อำนาจศาลไว้สำหรับจะบังคับ+ศาลเห็นสมควรเท่านั้น ถ้ามีกรณีเห็นไม่สมควร ศาลก็ย่อมมีอำนาจบังคับให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการบังคับชำระค่าเช่าหลังวันฟ้อง และขอบเขตความรับผิดของจำเลยในสถานการณ์พิเศษ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าหรือค่าเสียหาย คำนวณถึงวันฟ้องเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้ชำระค่าเช่าหรือค่าเสียหายถึงวันที่ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(4) นั้นได้ให้อำนาจศาลไว้สำหรับจะบังคับให้เมื่อศาลเห็นสมควรเท่านั้น ถ้ามีกรณีที่ศาลเห็นไม่สมควรศาลก็ย่อมมีอำนาจที่ไม่บังคับให้
of 2