คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 183 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับสัญญากู้ยืมเงินและขอบเขตความรับผิดของตัวการ-ตัวแทน
จำเลยที่ 1 ผิดนัดภายหลังวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 มีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ที่ 1 ผู้เป็นเจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 5 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2559 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ผิดนัด เนื่องจากไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใดเจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อนที่หนังสือบอกกล่าวจะไปถึงผู้ค้ำประกันมิได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 5 และที่ 7 ผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว ทำให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 5 และที่ 7 ชำระหนี้ ไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าหนี้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลาหกสิบวันหรือพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันอันต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบอำนาจให้ บ. ดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์ทั้งสองไม่ได้มอบอำนาจดังกล่าวไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่โจทก์ทั้งสองจะต้องนำสืบหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอีกว่าถูกต้องหรือไม่ และข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่คู่ความรับกันแล้วว่า โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ให้การยอมรับว่าลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินจริง เพียงแต่อ้างว่าไม่มีมูลหนี้ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนกับจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวกันจริงหรือไม่
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่าสัญญากู้ยืมเงินสมบูรณ์มีผลบังคับได้ตามกฎหมายและผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะตัวการ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้ฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงในส่วนนี้ กรณีจึงไม่จำต้องใช้สัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานและไม่ต้องพิจารณาปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ว่า สัญญากู้ยืมเงิน ไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะรับฟังได้หรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทโดยศาล ชอบธรรมหากประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นเดิม
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อ 1 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินและค้างชำระค่าเช่าที่ดินโจทก์หรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 โจทก์บอกเลิกการเช่าที่ดินโดยชอบหรือไม่ ข้อ 3 โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด ต่อมาศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นว่า ข้อ 1 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ และข้อ 2 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จากโจทก์ที่ 2 และค้างชำระค่าเช่าหรือไม่ และค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด เป็นเรื่องที่ศาลต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ เมื่อฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงจะมาพิจารณาต่อว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ หากฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไปในเรื่องการเช่าและค่าเสียหายอีก จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่เคยขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีการเช่าที่ดินพิพาท อันเป็นการนำสืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 เดิม และขณะเดียวกันก็สืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 และข้อ 2 ใหม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ภายหลังไม่มีผลต่อการนำสืบและรับฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนการชี้สองสถานเดิมและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ โดยมีเนื้อหาหรือข้อตามที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น แต่ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดใหม่ยังคงมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นเดิมจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และผลของการไม่ปฏิเสธคำพิพากษา
จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ แต่มีการกรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นภายหลัง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอม หนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอม แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวน 30,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกทั้งจำเลยฎีกาขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ 230,000 บาท เป็นให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่มีการแก้ไขภายหลัง และผลของการไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ แต่มีการกรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นภายหลัง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมหนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอม แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวน 30,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกทั้งจำเลยฎีกาขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ 230,000 บาท เป็นให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาคดีตามประเด็นที่กำหนดในชั้นชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดี: ศาลต้องตัดสินตามประเด็นที่กำหนด ห้ามวินิจฉัยนอกฟ้อง
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้ว ศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็น เมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้อง ทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นที่กำหนดในการชี้สองสถาน การวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นเหตุให้ศาลต้องกลับคำพิพากษา
ในการชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าสามีจำเลยขายรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ และได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากโจทก์แล้วผิดสัญญาหรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด เมื่อได้กำหนดประเด็นไว้ดังกล่าวแล้วศาลจึงต้องพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ในกระบวนพิจารณาชั้นชี้สองสถาน และต้องไม่พิจารณาชี้ขาดตัดสินนอกฟ้องนอกประเด็นเมื่อศาลชั้นต้นฟังว่าไม่น่าเชื่อว่าจะมีการซื้อขายและเช่าซื้อรถคันพิพาทและชำระราคากันจริงแล้ว ผลก็เท่ากับว่าไม่เชื่อพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมา ต้องพิพากษายกฟ้องทั้งจำเลยก็มิได้ต่อสู้เลยว่าการซื้อขายและเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน ศาลจะหยิบยกขึ้นพิจารณาว่าเป็นนิติกรรมอำพรางไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นที่กำหนดไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุนเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เองเมื่อ พ.ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
of 9