พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีทรัพย์สิน การแบ่งทรัพย์มรดก และผลของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทของคู่ความแต่การกำหนดให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่โจทก์จำเลยนำสืบประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์กล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของจ. สามีโจทก์ที่1ซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทส่วนละเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตามข้อตกลงของทายาทจำเลยครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทมีการแบ่งปันตกมาเป็นของจำเลยแม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นใหม่อีกด้วย หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ออกให้เพื่อแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท และสิทธิการครอบครองที่ดินหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีจึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยต่อสู้เท่านั้น
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการกำหนดเขตป่าสงวน, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, และการไม่วินิจฉัยประเด็นอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติรายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณาคำให้การของจำเลยจึงมีประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าวโจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226 โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้นเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค3จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ส่วนโจทก์ฎีกาว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค3แต่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใดฎีกาของโจทก์ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีราคาทรัพย์สินต่ำ
จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ เนื่องจากที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ รายละเอียดจำเลยจะนำสืบและอ้างเอกสารส่งในชั้นพิจารณา คำให้การจำเลยจึงมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากที่ดินพิพาทเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ โดยให้จำเลยสืบก่อนแล้วโจทก์สืบแก้ หากโจทก์เห็นว่าจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งในประเด็นดังกล่าว โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นไว้ เนื่องจากเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบยังฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งคดีมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฎีกาว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ฎีกาโจทก์ข้อนี้โจทก์ได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้วินิจฉัยและฎีกาของโจทก์ข้อนี้ไม่ได้คัดค้านว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยไม่ชอบแต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในรายงานประจำวันและการละเมิด: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า ตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัย แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามรายงานประจำวัน จำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีก แต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าว โดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
ตามรายงานประจำวันระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลง และจะกระทำการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดิน ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีก ถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
ตามรายงานประจำวัน จำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 เมษายน 2534 และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีก แต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2531 แล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าว โดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีก โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้
ตามรายงานประจำวันระบุว่า จำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลง และจะกระทำการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดิน ฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีก ถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, การฟ้องคดีก่อนกำหนด, การละเมิด, การป้องกันความเสียหาย, การชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าตามรายงานประจำวันกำหนดให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงภายในวันที่30เมษายน2534โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้องดังนั้นข้อที่จำเลยฎีกาว่ารายงานประจำวันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้มูลหนี้ละเมิดระงับเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงไม่เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยโดยมิชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามรายงานประจำวันจำเลยรับว่าจะดำเนินการป้องกันความเสียหายแก่ที่ดินของโจทก์โดยจะทำให้แล้วเสร็จภายในวันที่30เมษายน2534และรับว่าจะไม่ขุดดินในแนวสโลปอีกแต่หลังจากทำบันทึกตามรายงานประจำวันดังกล่าวเมื่อวันที่24มิถุนายน2531แล้วจำเลยไม่ปฎิบัติตามข้อตกลงในรายงานประจำวันดังกล่าวโดยยังกลับขุดดินทำให้ที่ดินของโจทก์เสียหายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขึ้นอีกโจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ตามรายงานประจำวันระบุว่าจำเลยยอมรับผิดชอบในความเสียหายในเนื้อที่ดินของฝ่ายโจทก์และผู้เสียหายรายอื่นทุกแปลงและจะกระทำการต่างๆเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของดินฉะนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยดำเนินการนำดินมาถมและทำคันดินก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อที่ดินของฝ่ายโจทก์อีกถือได้ว่าตรงตามความประสงค์ของคู่กรณีในรายงานประจำวันดังกล่าวจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นหมดสิ้นไปและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, สิทธิเบิกจ่ายเงิน, การขาดนัดยื่นคำให้การ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัด ส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้ แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, คุณสมบัติเจ้าอาวาส, หนังสือมอบอำนาจ, การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจเบิกจ่าย, และการส่งมอบสมุดบัญชี
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบเมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัดส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัดส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ล. และว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคารมิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกันดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรข้อ7(ข)กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้30บาท ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้นดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้วกรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9340/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไล่เบี้ยค่าเสียหายจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อในฐานะผู้แทนของหน่วยงาน
จำเลยให้การว่าจำเลยขอปฏิเสธฟ้องของโจทก์ว่าการฟ้องคดีของพันตำรวจเอกร.เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจทก์โดยตรงจำเลยจึงไม่ต้องผูกพันกับคำพิพากษาท้ายฟ้องโจทก์เมื่อการฟ้องของโจทก์ไม่สุจริตโจทก์จึงหามีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยไม่ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวไม่มีข้อความตอนหนึ่งตอนใดได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยได้กล่าวอ้างมาเลยว่าที่พันตำรวจเอกร.ฟ้องโจทก์และจำเลยกับพวกนั้นพันตำรวจเอกร. ได้ร่วมกับโจทก์กระทำการอย่างใดอันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันนำคดีดังกล่าวมาฟ้องเพื่อให้โจทก์มาฟ้องจำเลยให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตจำเลยเป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อสนับสนุนคำให้การของจำเลยเมื่อคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้งจึงไม่เป็นประเด็นที่จะต้องนำสืบศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย การที่โจทก์และจำเลยถูกพันตำรวจเอกร.เป็นโจทก์ฟ้องให้ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องจากการที่จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้พันตำรวจเอกร.เสียหายและคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยถึงที่สุดฟังว่าเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยซึ่งได้กระทำไปในฐานะผู้แทนโจทก์และพิพากษาให้โจทก์และจำเลยร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่พันตำรวจเอกร. คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคหนึ่งคดีนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อพันตำรวจเอกร.ในขณะจำเลยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาคดีก่อนแก่พันตำรวจเอกร.แล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76.