พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อขายสินค้า: องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ.2517มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหาใช่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาแล้วนำออกขายเป็นปกติธุระไม่จึงมิใช่เป็นพ่อค้าจะนำอายุความ2ปีมาใช้บังคับกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าอาหารสุกรไม่ได้ต้องใช้อายุความ10ปี จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยซื้อเชื่ออาหารสุกรจากโจทก์แต่เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่ามีการซื้อขายอาหารสุกรด้วยจริงหรือไม่เพื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จำเลยได้แถลงรับว่าจำเลยได้ซื้อและรับมอบสินค้าจากโจทก์ไปจริงเท่ากับได้ สละประเด็นข้อต่อสู้เรื่องนี้แล้วการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยคดีโดยมิได้ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์จำเลยเรื่องนี้ก่อนแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการส่งมอบโฉนดที่ดินมรดก ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
แม้ทนายจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนสืบพยานก็ตามแต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยสั่งในวันที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องนั้นเองซึ่งในตอนท้ายคำร้องมีข้อความระบุว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนี้จึงถือว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลโดยชอบแล้วการที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวจึงเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยทั้งสองเอง การที่จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในวันที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลและหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้นจำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบแล้วดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาแล้วทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันนั้นจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกันจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกแก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพื่อโจทก์จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทแต่ไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงเท่ากับรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการเพื่อจะจัดการแบ่งปันมรดกแก่ทายาทตามหน้าที่ของโจทก์ต่อไปเพราะในชั้นนี้มิได้พิพาทกันว่าทรัพย์มรดกสิ่งใดเป็นของทายาทคนใดหรือผู้ใดเป็นทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับอำนาจผู้จัดการมรดก ศาลพิพากษาถูกต้องตามกระบวนการ
แม้ทนายจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนสืบพยานก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยสั่งในวันที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องนั้นเอง ซึ่งในตอนท้ายคำร้องมีข้อความระบุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ดังนี้ จึงถือว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวจึงเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยทั้งสองเอง
การที่จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์ คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในวันที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาล และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีก เพราะหมดเวลาที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาแล้วทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันนั้นจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกันจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกแก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพื่อโจทก์จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาท แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่า โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเท่ากับรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจริง ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจะจัดการแบ่งปันมรดกแก่ทายาทตามหน้าที่ของโจทก์ต่อไป เพราะในชั้นนี้มิได้พิพาทกันว่าทรัพย์มรดกสิ่งใดเป็นของทายาทคนใดหรือผู้ใดเป็นทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
การที่จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์ คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในวันที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาล และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีก เพราะหมดเวลาที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาแล้วทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันนั้นจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกันจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกแก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพื่อโจทก์จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาท แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่า โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเท่ากับรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจริง ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจะจัดการแบ่งปันมรดกแก่ทายาทตามหน้าที่ของโจทก์ต่อไป เพราะในชั้นนี้มิได้พิพาทกันว่าทรัพย์มรดกสิ่งใดเป็นของทายาทคนใดหรือผู้ใดเป็นทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์โดยประมาทเลินเล่อทำให้เจ้าของสิทธิได้รับความเสียหาย เจ้าหนี้ต้องรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)จำเลยโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงนำยึดที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตนเองอ้างว่าเป็นที่ดินของ พ. ลูกหนี้จำเลยโดยไม่ได้ตรวจสอบว่าที่ดินดังกล่าวมีหนังสือสำคัญแล้วหรือไม่และเป็นที่ดินของลูกหนี้ของตนหรือไม่เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยให้การเพียงว่าขณะที่จำเลยนำยึดที่ดินพิพาทมีเพียงใบภ.บ.ท.5ไม่มีหลักฐานเอกสารสิทธิอย่างอื่นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์เป็นเอกสารปลอมจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่ดินพิพาทโดยประมาทเลินเล่ออันเป็นการยึดและขายทรัพย์สินโดยมิชอบหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยยึดที่พิพาทโดยสุจริตหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา183วรรคสองอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามมาตรา142(5)ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาไปตามประเด็นที่ถูกต้องได้ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนด้วยการซื้อจาก พ. ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการยึดและขายทรัพย์สินของจำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ พ. โดยมิชอบจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยความเพียงพอของข้อเท็จจริงและกำหนดประเด็นตามฟ้อง
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วยดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท อย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3464/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีด้วยเหตุเอกสารปลอมต้องระบุเหตุแห่งการปลอม การไม่อ้างเหตุทำให้สิทธิการนำสืบพยานไม่มีผล
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่โจทก์กับพวกร่วมกันปลอมขึ้นดังนี้คำให้การของจำเลยทั้งสามเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาปลอมเป็นสำคัญข้อที่ว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ไม่ทำให้เปลี่ยนประเด็นเป็นอย่างอื่น เมื่อจำเลยทั้งสามไม่อ้างเหตุว่าปลอมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่มิได้ให้เหตุผลแห่งการปฎิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสอง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการกระทำแทนของกรรมการบริษัท: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่คู่ความนำสืบเท่านั้น
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ จะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ทำการปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัยนายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด โดยประเด็นหลักคือเนื้อที่ดินที่รุกล้ำและค่าเสียหาย
จำเลยยอมรับว่าได้ปลูกสร้างโกดังรุกล้ำที่ดินโจทก์จริง แต่การปลูกสร้างรุกล้ำมีเนื้อที่ดินที่รุกล้ำน้อยกว่าที่โจทก์ฟ้อง การยกข้อต่อสู้ดังกล่าวก็เพื่อโต้แย้งเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโกดังที่รุกล้ำที่ดินโจทก์เพียงใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยก่อสร้างรุกล้ำโดยสุจริต จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น