พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2100/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญารับประกันการซ่อมบำรุงรถยนต์ ผู้ผลิต/จำหน่ายต้องรับผิดชอบความชำรุดบกพร่อง
อ. ผู้เอาประกันภัยซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อรถยนต์ซึ่งระบุเงื่อนไขการรับประกันในข้อ 5.1 ว่า รถยนต์ดังกล่าวปราศจากความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากวัสดุและฝีมือแรงงานที่ใช้ประกอบรถยนต์ สำหรับระยะเวลา 24 เดือน นับแต่วันส่งมอบ โดยระบุในข้อ 5.7 ด้วยว่า การรับประกันนี้จะไม่ครอบคลุมไปถึงกรณีตามข้อ (ก) การใช้รถอย่างไม่ถูกวิธี ความประมาทเลินเล่อ อุบัติเหตุ หรือนำรถไปใช้ในการแข่งขัน (ข) รถยนต์ดังกล่าวได้รับการซ่อมแซมโดยบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้จำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ค) การเสื่อมสภาพหรือชำรุดที่เกิดจากการใช้งานตามปกติหรือที่เกิดจากการดูแลรักษาที่ไม่เหมาะสม ความประมาทเลินเล่อ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม หรืออุบัติเหตุ แสดงให้เห็นว่า หากเกิดความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากวัสดุหรือฝีมือแรงงานที่ใช้ประกอบรถยนต์ ภายในเวลา 24 เดือน นับแต่วันส่งมอบ จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิด หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 5.7 ดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สืบพิสูจน์ให้เห็นว่าได้เกิดความเสียหายชำรุดบกพร่องและไม่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 5.7 โจทก์ได้นำสืบแล้วว่า มีการใช้รถยนต์ตามปกติ ทั้งนำรถยนต์เข้าตรวจเช็คสภาพยังศูนย์บริการของจำเลยทั้งสองไม่เกินระยะมาตรฐาน ไม่มีการดัดแปลงสภาพรถยนต์ เหตุเพลิงไหม้มิได้เกิดจากอุบัติเหตุ เหตุเพลิงไหม้รถยนต์เกิดเมื่อรับมอบรถยนต์มาเพียง 1 ปี 1 เดือน ยังไม่ครบกำหนดตามเงื่อนไขการรับประกัน จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายรถยนต์โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ย่อมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตและประกอบรถยนต์ของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว หาได้พิสูจน์ให้เห็นว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากปัจจัยภายนอกซึ่งมิได้เป็นความผิดของจำเลยทั้งสอง พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าเหตุเพลิงไหม้เกิดจากความชำรุดบกพร่องที่เกิดจากวัสดุและฝีมือแรงงานที่จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชอบตามเงื่อนไขการรับประกันที่ให้ไว้ เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อรถแล้ว โจทก์มีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละโจทก์ไม่เกิน 200,000 บาท และเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์พิพาทโดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ในวงเงินร้อยละ 60และ 40 ของค่าเสียหายทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาและโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามวินาศภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนที่รับประกันภัยไว้แล้ว จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองดังนี้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิใช่นายจ้างหรือตัวการของคนขับรถบรรทุกผู้ทำละเมิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่มีพยานยืนยันว่าคนขับรถบรรทุกดังกล่าวเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยก็ตาม แต่คำพยานจำเลยก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังนั้นเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟัง พยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9245/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์พิพาทในคดีประกันภัย และข้อจำกัดการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันรับประกันภัยทรัพย์พิพาทในวงเงินไม่เกิน 360,000 บาท ทั้งนี้โดยโจทก์ที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชดใช้ในวงเงินร้อยละ 60 และ 40 ของค่าเสียหายทั้งหมดตามลำดับ เมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญาและโจทก์ทั้งสองได้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายตามวินาศภัยจริงให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามส่วนที่รับประกันภัยไว้แล้ว จึงรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งเป็นนายจ้างหรือตัวการของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสอง ดังนี้ การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกต่างหากจากกัน คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิใช่นายจ้างหรือตัวการของคนขับรถบรรทุกผู้ทำละเมิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่มีพยานยืนยันว่าคนขับรถบรรทุกดังกล่าวเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยก็ตามแต่คำพยานจำเลยก็ไม่มีน้ำหนักรับฟังนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่า คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสองแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5419/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับช่วงสิทธิในคดีทำละเมิด: ผู้รับประกันต้องชำระค่าซ่อมก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง
โจทก์ผู้รับประกันไม่ได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันเกิดเหตุแก่ผู้เอาประกันภัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคแรก