คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1586

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์ถูกละเมิดถึงแก่ความตาย
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้อง ผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 713/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รับบุตรบุญธรรม: ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจฟ้องแทนผู้เยาว์ที่ถูกละเมิด แม้ไม่ได้เรียกร้องมรดก
ขณะที่ผู้ตายถูกทำละเมิดถึงตาย ผู้ตายเป็นบุตรบุญธรรมของโจทก์ที่ 2 และผู้ตายยังเป็นผู้เยาว์อยู่ โจทก์ที่ 2 ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้ปกครอง: บุคคลที่ไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิขอเป็นผู้ปกครอง
น้องผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ใช่ญาติของบุตรบุญธรรม ดังนั้น น้องผู้รับบุตรบุญธรรม จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิของโจทก์ที่มีต่อบุตรบุญธรรม
เมื่อลูกจ้างของจำเลยยอมให้ผู้ตายโดยสารไปในรถ จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ลูกจ้างจำเลยกระทำไปตามทางการที่จ้าง จำเลยจะอ้างว่าผู้ตายไม่ได้เสียค่าโดยสาร ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะขนส่ง หาได้ไม่
บุตรบุญธรรมยังคงมีสิทธิหน้าที่ต่อบิดามารดา รวมทั้งหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1535 ฉะนั้น แม้โจทก์จะยกผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ จ. ผู้ตายยังคงมีความผูกพันต่อโจทก์ เมื่อลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตายในทางการที่จ้าง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยา แม้การสมรสจะโมฆะ และมีอำนาจฟ้องได้หากมีการโต้แย้งสิทธิ
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น. ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย. แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด.
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้ว.แม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส.
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม. คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้. แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้อยู่กินร่วมกัน และการฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้ความสัมพันธ์เดิมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายและการเป็นผู้สืบสันดานต้องพิสูจน์การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือน ไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายแต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมเมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานจึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้วบุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีการจดทะเบียน หากยังโต้เถียงเรื่องการจดทะเบียน สิทธิในฐานะบุตรบุญธรรมยังไม่สมบูรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้อง คำร้องของผู้ร้องว่าผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่คำของผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านไม่รับรองว่าได้จดทะเบียนผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการจดทะเบียนยังโต้เถียงกันเช่นนี้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ที่ว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน จึงยังคลาดเคลื่อนอยู่
เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586 วรรคต้น และย่อมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรม มีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้ตามมาตรา 34 ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 956/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรบุญธรรมกับการยอมความในคดีอาญา: บุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดาน
คำว่าสืบสันดานตามพจนานุกรมหมายความว่าสืบเชื้อสายมาโดยตรง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1587, 1627 แสดงว่า บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะแตกต่างกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้รับบุตรบุญธรรมก็มีฐานะต่างกับบุพการีโดยตรงของบุตรบุญธรรมอยู่หลายประการ มาตรา 1586, 1627 เป็นบทบัญญัติพิเศษให้สิทธิบางประการแก่บุตรบุญธรรมในทางแพ่งเกี่ยวกับสัมพันธ์ทางครอบครัวและมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ต้องใช้โดยเคร่งครัด เฉพาะการตีความถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญาก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด จึงหาชอบที่จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้ตีความคำว่า ผู้สืบสันดาน ตามมาตรา 71 วรรค 2 ไม่ บุตรบุญธรรมจึงไม่ใช่ผู้สืบสันดานกระทำต่อบุพการีตามมาตรา 71 จึงยอมความไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2509)
of 4